พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๑. นิรามิสสูตร ว่าด้วยปีติสุขมีอามิสและไม่มี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  22 ก.ย. 2564
หมายเลข  37418
อ่าน  506

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 61

๑๑. นิรามิสสูตร

ว่าด้วยปีติสุขมีอามิสและไม่มี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 61

๑๑. นิรามิสสูตร

ว่าด้วยปีติสุขมีอามิสและไม่มี

[๔๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปีติมีอามิสมีอยู่ ปีติไม่มีอามิสมีอยู่ ปีติที่ไม่มีอามิสกว่าปีติที่ไม่มีอามิสมีอยู่ สุขมีอามิสมีอยู่ สุขไม่มีอามิสมีอยู่ สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสมีอยู่ อุเบกขามีอามิสมีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 62

[๔๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติมีอามิสเป็นไฉน. กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน. คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ปีติเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เราเรียกว่า ปีติมีอามิส.

[๔๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิส.

[๔๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีเป็นไฉน. ปีติที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตชึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จาก โทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิส.

[๔๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขมีอามิสเป็นไฉน. กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน. คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้ สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ นี้เราเรียกว่า สุขมีอามิส.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 63

[๔๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขไม่มีอามิสเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯลฯ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิส.

[๔๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสเป็นไฉน. สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิส.

[๔๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขามีอามิสเป็นไฉน. กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน. คือรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล อุเบกขาเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เราเรียกว่า อุเบกขามีอามิส.

[๔๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิส.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 64

[๔๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิสเป็นไฉน. อุเบกขาเกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส.

[๔๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์มีอามิสเป็นไฉน. วิโมกข์ที่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์มีอามิส วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส.

[๔๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสเป็นไฉน. วิโมกข์เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส.

จบ นิรามิสสูตรที่ ๑๑

อรรถกถานิรามิสสูตรที่ ๑๑

พึงทราบวินิจฉัยในนิรามิสสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สามิสา ปีติมีอามิสด้วยอามิสคือกิเลส. บทว่า นิรามิสตรา ความว่า ปีติที่ไม่มีอามิสกว่าปีติในฌานแม้ที่ไม่มีอามิส. ถามว่า ก็ในฌาน ๒ ปีติย่อมเป็นมหัคคตะก็มี ย่อมเป็นโลกุตตระก็มี. ปีติในปัจจเวกขณญาณย่อมเป็นโลกิยะอย่างเดียวมิใช่หรือ เพราะเหตุไร ปีตินั้น จึงไม่มีอามิสกว่าเล่า. ตอบว่า เพราะเกิดขึ้นแล้ว ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาซึ่งธรรมอัน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 65

สงบและประณีต. เหมือนคนรับใช้ เป็นคนโปรดของพระราชา เข้าไปสู่ราชตระกูลได้ตามสบายไม่มีใครขัดขวาง แม้จะเอาเท้าถีบเศรษฐี และเสนาบดีเป็นต้นก็ได้ เพราะเหตุอะไร เพราะเป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดของพระราชา. ด้วยเหตุนี้ คนรับใช้นั้น ย่อมเป็นผู้ยิ่งกว่าเศรษฐีเป็นต้นเหล่านั้น ฉันใด. ปีติแม้นี้ พึงทราบว่า ยิ่งกว่าแม้ปีติในโลกุตตระ เพราะเกิดขึ้นแล้วด้วยสามารถแห่งการพิจารณาธรรมอันสงบและประณีตฉันนั้น. แม้ในวาระที่เหลือ ก็มีนัยนี้ทั้งนั้น.

ส่วนในวาระแห่งวิโมกข์ วิโมกข์อันประกอบด้วยรูป ชื่อว่ามีอามิสด้วยสามารถอามิสคือรูป อันเป็นอารมณ์ของตน. ที่ไม่ประกอบด้วยรูป ชื่อว่าไม่มีอามิส โดยไม่มีอามิสคือรูป.

จบ อรรถกถานิรามิสสูตรที่ ๑๑

จบ อรรถกถาอัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑ สิวกสูตร

๒. อัฏฐสตปริยายสูตร

๓. ภิกขุสูตร

๔. ปุพพสูตร

๕. ญาณสูตร

๖. ภิกขุสูตร

๗. ปฐมสมณพราหมณสูตร

๘. ทุติยสมณพราหมณสูตร

๙. ตติยสมณพราหมณสูตร

๑๐. สุทธิกสูตร

๑๑. นิรามิสสูตร.

จบ เวทนาสังยุต