พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อภิภุยยสูตร ว่าด้วยกําลังของมาตุคาม ๕ ประการของบุรุษประการเดียว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ก.ย. 2564
หมายเลข  37465
อ่าน  393

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 81

๓. อภิภุยยสูตร

ว่าด้วยกําลังของมาตุคาม ๕ ประการของบุรุษประการเดียว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 81

๓. อภิภุยยสูตร (๒)

ว่าด้วยกำลังของมาตุคาม ๕ ประการของบุรุษประการเดียว

[๔๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน. กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑ กำลังของมาตุคาม ๕ นี้แล มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลัง ๕ ประการนี้ ย่อมประพฤติข่มขี่สามีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุรุษผู้ประกอบด้วยกำลังอย่างเดียว ย่อมประพฤติข่มขี่มาตุคามได้ กำลังอย่างเดียวเป็นไฉน. ได้แก่กำลังคือความเป็นใหญ่


(๒) สูตรที่ ๓ - ๑๐ ไม่มีอรรถกถาแก้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 82

กำลังคือรูป ย่อมป้องกันมาตุคามผู้ถูกบุรุษข่มขี่แล้วได้ กำลังคือโภคะ. กำลังคือญาติ กำลังคือบุตร กำลังคือศีล ป้องกันไม่ได้.

จบ อภิภุยยสูตรที่ ๓

อรรถกถาอภิภุยยสูตรที่ ๓

บทว่า อภิภุยฺย วตฺตติ ได้แก่ ย่อมครอบงำ คือ ข่มขี่. บทว่า เนว รูปพลํ ตายติ ความว่า กำลังคือรูป ย่อมไม่สามารถจะป้องกัน คือรักษาได้เลย.

จบ อรรถกถาอภิภุยยสูตรที่ ๓