พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. นิพพานปัญหาสูตร ว่าด้วยปัญหานิพพาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ก.ย. 2564
หมายเลข  37473
อ่าน  508

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 88

๔. ชัมพุขาทกสังยุต

๑. นิพพานปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหานิพพาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 88

๔. ชัมพุขาทกสังยุต

๑. นิพพานปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหานิพพาน

[๔๙๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้านนาลคาม แคว้นมคธ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าชัมพุขาทก เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า นิพพานๆ ดังนี้ นิพพานเป็นไฉนหนอ. ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่านิพพาน.

ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ตั้งสติชอบ ตั้งมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อกระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง.

ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำนิพพานให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร.

จบ นิพพานปัญหาสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 89

อรรถกถานิพพานปัญหาสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในชัมพุขาทกสังยุต ดังต่อไปนี้

บทว่า ชมฺพุขาทโก ปริพฺพาชโก ความว่า ปริพาชกผู้นุ่งผ้า เป็นหลานของพระสารีบุตรเถระ ซึ่งมีชื่ออย่างนี้. บทว่า โย โข อาวุโส ราคกฺขโย ความว่า ราคะย่อมสิ้นไปเพราะอาศัยนิพพาน เพราะฉะนั้นพระสารีบุตรจึงเรียกนิพพานว่า ความสิ้นราคะดังนี้. แม้ในความสิ้น โทสะและโมหะก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ส่วนผู้ใด พึงกล่าวเพียงความสิ้นกิเลสว่านิพพานด้วยสูตรนี้ ผู้นั้นพึงถูกถามว่า กิเลสของใครนั่น ของตนหรือ หรือของคนเหล่าอื่น. เขาจักตอบว่าของตนแน่. เขาต้องถูกถามต่อไปว่า อะไร เป็นอารมณ์ของโคตรภูญาณ เมื่อรู้จักตอบว่านิพพาน. ถามว่า ก็กิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว กำลังสิ้น จักสิ้นในขณะแห่งโคตรภูญาณหรือ ตอบว่า เขาไม่พึงตอบว่า สิ้นแล้ว หรือกำลังสิ้น. แต่พึงตอบว่า จักสิ้นดังนี้. ก็เมื่อกิเลสทั้งหลายเหล่านั้นยังไม่สิ้นแล้ว. โคตรภูญาณจะทำความสิ้นแห่งกิเลสให้เป็นอารมณ์ได้หรือ เมื่อท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว เขาจักไม่มีคำตอบ.

แต่ในข้อนี้ พึงประกอบความสิ้นกิเลสแม้ด้วยมรรคญาณ. ด้วยว่า กิเลสทั้งหลาย แม้ในขณะแห่งมรรค ไม่ควรกล่าวว่า สิ้นแล้วหรือจักสิ้น แต่ควรกล่าวว่า กำลังสิ้น อนึ่ง เมื่อกิเลสทั้งหลายยังไม่สิ้นไป ความสิ้นกิเลสย่อมเป็นอารมณ์หาได้ไม่. เพราะฉะนั้น ข้อนั้นควรรับได้. ธรรมมี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 90

ราคะเป็นต้น ย่อมสิ้นไป เพราะอาศัยธรรมชาติใด เพราะเหตุนั้นธรรมชาตินั้น ชื่อว่านิพพาน. ส่วนนิพพานนี้นั้น ไม่เพียงเป็นความสิ้นกิเลสเท่านั้น เพราะท่านรวบรวมไว้ว่าสงเคราะห์ว่าเป็นอรูปธรรม. ธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่ารูป ในทุกะมาติกามีอาทิว่า รูปิโน ธมฺมา อรูปโน ธมฺมา ธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่ารูป ธรรมทั้งหลายที่ไม่ชื่อว่ารูปดังนี้.

จบ อรรถกถานิพพานปัญหาสูตรที่ ๑