พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. อรหัตตปัญหาสูตร ว่าด้วยปัญหาเรื่องพระอรหัตตผล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ก.ย. 2564
หมายเลข  37474
อ่าน  391

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 90

๒. อรหัตตปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องพระอรหัตตผล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 90

๒. อรหัตตปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องพระอรหัตตผล

[๔๙๘] ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อรหัตๆ ดังนี้ อรหัต เป็นไฉน.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ ธรรมเป็นที่สิ้นโทสะ ธรรมเป็นที่สิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอรหัต.

ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำอรหัตนั้นให้แจ้ง.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำอรหัตนั้นให้แจ้ง.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำอรหัตนั้นให้แจ้ง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 91

ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำอรหัตนั้นให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร

จบ อรหัตตปัญหาสูตรที่ ๒

อรรถกถาอรหัตตปัญหาสูตรที่ ๒

ในการพยากรณ์ปัญหาในอรหัต เพราะอรหัตย่อมเกิดขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นราคะโทสะและโมหะ ฉะนั้น พระสารีบุตร จึงกล่าวว่า ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะดังนี้.

จบ อรรถกถาอรหัตตปัญหาสูตรที่ ๒