พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร ว่าด้วยอิสิทัตตภิกษุพยากรณ์ปัญหา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ก.ย. 2564
หมายเลข  37526
อ่าน  346

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 136

๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

ว่าด้วยอิสิทัตตภิกษุพยากรณ์ปัญหา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 136

๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

ว่าด้วยอิสิทัตตภิกษุพยากรณ์ปัญหา

[๕๔๖] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้อาราธนาว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ ขอพระเถระทั้งหลายโปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้ง นั้นแล จิตตคฤหบดีทราบการรับอาราธนาของภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้วลุกจากอาสนะ ไหว้กระทำประทักษิณแล้วจากไป.

[๕๔๗] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไปเป็นเวลาเช้า ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรพากันเข้าไปยังนิเวศน์ของจิตตคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้ถวาย ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ไหว้แล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่างย่อมเกิด ขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง (ก็ทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้ ได้กล่าวไว้ในพรหมชาลสูตร) ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้ จึงไม่มี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 137

[๕๔๘] เมื่อจิตตคฤหบดีได้ถามอย่างนี้แล้ว พระเถระผู้เป็นประธานได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคฤหบดีได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง แม้ครั้งที่ ๓ พระเถระผู้เป็นประธานก็ได้นิ่งอยู่.

[๕๔๙] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าทุกรูปในภิกษุสงฆ์หมู่นั้น. ครั้งนั้นแลท่านพระอิสิทัตตะได้ขอโอกาสกะพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ กระผมขอพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นของจิตตคฤหบดี พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนท่านอิสิทัตตะ ท่านจงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นของจิตตคฤหบดีเถิด ท่านอิสิทัตตะได้ถามว่า ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ฯลฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี ดังนี้หรือ. จิตตคฤหบดีกล่าวว่า อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 138

อิ. ดูก่อนคฤหบดี ทิฏฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง ... สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ยอมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง (ทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้ ได้กล่าวไว้แล้วในพรหมชาลสูตร) ดูก่อนคฤหบดี เมื่อสักกายทิฏฐิมี ทิฎฐิเหล่านี้ก็มี เมื่อสักกายทิฏฐิไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้ก็ไม่มี.

[๕๕๐] จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สักกายทิฏฐิย่อมเกิดมีได้อย่างไร.

อิ. ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีรูป ๑ เห็นรูปในตน ๑ เห็นตนในรูป ๑ เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีเวทนา ๑ เห็นเวทนาในตน ๑ เห็นตนในเวทนา ๑ เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีสัญญา ๑ เห็นสัญญาในตน ๑ เห็นตนในสัญญา ๑ เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีสังขาร ๑ เห็นสังขารในตน ๑ เห็นตนในสังขาร ๑ เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีวิญญาณ ๑ เห็นวิญญาณในตน ๑ เห็นตนในวิญญาณ ๑ ดูก่อนคฤหบดี สักกายทิฏฐิย่อมเกิดมีได้อย่างนี้แล.

[๕๕๑] จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สักกายทิฏฐิย่อมไม่เกิดมีได้ อย่างไร.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 139

อิ. ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีรูป ๑ ไม่เห็นรูปในตน ๑ ไม่เห็นตนในรูป ๑ ไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีเวทนา ๑ ไม่เห็นเวทนาในตน ๑ ไม่เห็นตนในเวทนา ๑ ไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีสัญญา ๑ ไม่เห็นสัญญาในตน ๑ ไม่เห็นตนในสัญญา ๑ ไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีสังขาร ๑ ไม่เห็นสังขารในตน ๑ ไม่เห็นตนในสังขาร ๑ ไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ไม่เห็นวิญญาณในตน ๑ ไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑ ดูก่อนคฤหบดี สักกายทิฏฐิย่อมไม่เกิดมีได้อย่างนี้แล.

จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอิสิทัตตะมาจากไหน.

อิ. ดูก่อนคฤหบดี อาตมภาพมาจากอวันตีชนบท.

จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กุลบุตรมีนามว่าอิสิทัตตะในอวันตีชนบท เป็นสหายที่ไม่เคยเห็นกันของข้าพเจ้า ได้ออกบรรพชามีอยู่ พระคุณเจ้าได้เห็นท่านหรือไม่.

อิ. ได้เห็น คฤหบดี.

จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ท่านผู้มีอายุรูปนั้นอยู่ที่ไหนหนอ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 140

[๕๕๒] เมื่อจิตตคฤหบดีได้ถามอย่างนี้ ท่านอิสิทัตตะได้นิ่งอยู่.

จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอิสิทัตตะของข้าพเจ้า คือพระคุณเจ้าหรือ.

อิ. ใช่ละ คฤหบดี.

จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้พระคุณเจ้าอิสิทัตตะจงชอบใจ อัมพาฏกวันอันเป็นที่รื่นรมย์ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์เถิด ข้าพเจ้าจักบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชบริขาร.

อิ. ดูก่อนคฤหบดี ท่านกล่าวดีแล้ว.

[๕๕๓] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระอิสิทัตตะแล้ว ได้อังคาสภิกษุผู้เถระทั้งหลายให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยขาทนียโภชนียะอันประณีต ด้วยมือของตน ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ลดมือจากบาตร ลุกขึ้นจากอาสนะกลับไป ลำดับนั้นแล พระเถระผู้เป็นประธานได้ให้โอกาสท่านพระอิสิทัตตะว่า ดีแล้ว ท่านอิสิทัตตะ ปัญหาข้อนั้นแจ่มแจ้งกะท่าน มิได้แจ้งแจ้งกะผม ต่อไป ถ้าปัญหาเช่นนี้พึงมีมาแม้โดยประการอื่นในกาลใด ท่านนั้นแหละพึงกล่าวตอบปัญหาเช่นนั้นในกาลนั้น ครั้งนั้นแล ท่านอิสิทัตตะได้เก็บเสนาสนะ ถือเอาบาตรและจีวร เดินทางออกจากราวป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ไม่ได้กลับมาอีก เหมือนกับภิกษุรูปอื่นที่ได้ออกเดินทางจากไป.

จบ ทุติยอิสิทัตตสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 141

อรรถกถาทุติยอิสิทัตตสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอิสิทัตตสูตรที่ ๓ ตังต่อไปนี้

บทว่า อวนฺติยา คือในอวันตีชนบท. บทว่า กลฺยาณํ วุจฺจติ ความว่า ท่านอิสิทัตตะย่อมกล่าวด้วยประสงค์ว่า ข้าแต่อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย คำอันหมดโทษ ไม่มีโทษ อันท่านกล่าวว่าข้าพเจ้าจักบำรุงด้วยปัจจัยทั้งหลาย ๔.

จบ อรรถกถาทุติอิสิทัตตะสูตรที่ ๓