พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ปฐมกามภูสูตร ว่าด้วยรถคือร่างกาย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ก.ย. 2564
หมายเลข  37528
อ่าน  377

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 145

๕. ปฐมกามภูสูตร

ว่าด้วยรถคือร่างกาย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 145

๕. ปฐมกามภูสูตร

ว่าด้วยรถคือร่างกาย

[๕๕๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระกามภูได้กล่าวกะจิตตคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประพันธ์คาถาไว้ดังนี้ว่า

เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน.

[๕๕๙] ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงเห็นเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อโดยพิสดารอย่างไรหนอ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 146

จิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คาถาประพันธ์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหรือ

กา. อย่างนั้น คฤหบดี.

จิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านโปรดรอคอยอยู่ครู่หนึ่ง จนกว่ากระผมจักเพ่งเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นั้นได้.

ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง จึงได้ตอบท่านกามภูว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ. คำว่า ไม่มีโทษนั้น เป็นชื่อของศีล คำว่า มีหลังคาขาวนั้น เป็นชื่อของวิมุตติ คำว่า มีเพลาเดียวนั้น เป็นชื่อของสติ คำว่า ย่อมแล่นไปนั้น เป็นชื่อของการก้าวไปและการถอยกลับ คำว่า รถนั้น เป็นชื่อของร่างกายนี้ ซึ่งประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องลูบไล้ นวดเฟ้น มีการแตกทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าทุกข์ ทุกข์เหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ไม่มีทุกข์. คำว่า แล่นไปถึงที่หมาย นั้นเป็นชื่อของพระอรหันต์. คำว่า กระแสนั้น เป็นชื่อของตัณหา ตัณหานั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา. เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตัณหากระแสตัณหาขาด ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากิเลส เครื่องผูกพัน กิเลสเครื่องผูกพันเหล่านั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 147

ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา. เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คาถาประพันธ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน ดังนี้.

กระผมย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นี้ ที่พระผู้มีพระพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อได้โดยพิสดารอย่างนี้.

กา. ดูก่อนคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งนี้ ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว.

จบ ปฐมกามภูสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมกามภูสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมกามภูสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า เนลงฺโค คือไม่มีโทษ. บทว่า เสตปจฺฉาโท คือมี หลังคาขาว. บทว่า อนีฆํ คือไม่มีทุกข์. บทว่า มุหุตฺตํ ตุณฺหี หุตฺวา ความว่า จิตตคฤหบดี เมื่อยังพระไตรปิฎกให้หวั่นไหวเพื่อเพ่งเนื้อความแห่งบทว่า เนลงฺโค นั้น เหมือนให้เขย่าต่างหูที่หู จึงนิ่งอยู่ครู่หนึ่งเพื่อพิจารณาว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งบทนี้. บทว่า วิมุตฺติยา คือ อรหัตตผลวิมุตติ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 148

ก็อุบาสก เมื่อกล่าวปัญหานี้ ได้ทำสิ่งที่ทำได้ยาก. ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสด้วยสิ่งที่พระองค์ทรงเห็นแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่เห็นภิกษุนั่น ขาว บอบบาง จมูกโด่ง มาหรือ แต่จิตตคฤหบดีนี้ กล่าวแล้วว่า นั้นเป็นชื่อของพระอรหันต์ โดยให้ถือเอานัย.

จบ อรรถกถาปฐมกามภูสูตรที่ ๕