๙. อเจลสูตร ว่าด้วยอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัสสนะ
[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 168
๙. อเจลสูตร
ว่าด้วยอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัสสนะ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 168
๙. อเจลสูตร
ว่าด้วยอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัสสนะ
[๕๘๐] ก็สมัยนั้นแล อเจลกัสสปได้เคยเป็นสหายของจิตตคฤหบดี เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ได้ไปถึงราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ จิตตคฤหบดีได้สดับข่าวว่า อเจลกัสสปผู้เคยเป็นสหายของเราเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ได้มาถึงราวป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาอเจลกัสสปแล้ว ได้ปราศรัยกับอเจลกัสสป ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 169
กันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามอเจลกัสสปว่า ท่านกัสสปผู้เจริญ ท่านบวชมานานเท่าไร อเจลกัสสปตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี เราบวชมาได้ประมาณ ๓๐ ปี.
จิตต. ท่านผู้เจริญ ก็ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ อันท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก มีอยู่หรือ.
อ. ดูก่อนคฤหบดี ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ อันเราบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก ไม่มี นอกจากการประพฤติเปลือย การเป็นคนโล้น และการปัดฝุ่น.
[๕๘๑] เมื่ออเจลกัสสปกล่าวอย่างนี้ จิตตคฤหบดีได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ความเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้วหนอ เพราะในอเจลบรรพชาตลอดเวลา ๓๐ ปี อุตตริมนุสสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ เป็นธรรมอันท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก ไม่มี นอกจากการประพฤติเปลือย การเป็นคนโล้น และการปัดฝุ่น.
อ. ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านได้เข้าถึงความเป็นอุบาสกมาแล้วนานเท่าไร.
จิตต. ท่านผู้เจริญ สำหรับข้าพเจ้าได้เข้าถึงความเป็นอุบาสกมาแล้ว ๓๐ ปี.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 170
อ. ดูก่อนคฤหบดี ก็ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ อันท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก มีอยู่หรือ.
จิตต. ท่านผู้เจริญ แม้คฤหัสถ์ก็พึงมีธรรมเช่นนั้นได้ เพราะข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม. เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าทุติยฌาน ... ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌาน ... ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าจตุตถฌาน ... ก็แหละข้าพเจ้าพึงพยากรณ์ก่อนพระผู้มีพระภาคเจ้าไซร้ ก็จะไม่เป็นการน่าอัศจรรย์ สำหรับข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงพยากรณ์ ข้าพเจ้าว่า ไม่มีสังโยชน์ที่จิตตคฤหบดีประกอบแล้ว (มีแล้ว) จะพึงเป็นเหตุให้กลับมาสู่โลกนี้อีก.
[๕๘๒] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ อเจลกัสสปได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ความเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้วหนอ เพราะในพระธรรมวินัยมีคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มขาว จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ เป็นเครื่องอยู่ผาสุกเช่นนั้น ดูก่อนคฤหบดี ข้าพเจ้าพึงได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 171
ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้พาเอาอเจลกัสสปเข้าไปหาภิกษุผู้เถระถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อเจลกัสสปผู้นี้เคยเป็นสหายของข้าพเจ้าเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ขอพระเถระทั้งหลายจงให้อเจลกัสสปผู้นี้บรรพชาอุปสมบทเถิด ข้าพเจ้าจักบำรุงเธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร. อเจลกัสสปได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยแล้ว. ท่านพระอเจลกัสสปอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระอเจลกัสสปได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ อเจลสูตรที่ ๙
อรรถกถาอเจลสูตรที่ ๙
พึงทราบวินิจฉัยในอเจลสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.
บทว่า กีวจิรํ ปพฺพชิโต ความว่า เวลานานเท่าไร. บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺโม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า มนุสสธรรม. ยิ่งกว่ามนุสสธรรมนั้นชื่อว่าอุตตริมนุสสธรรม. บทว่า อลมริยญาณทสฺสนวิเสโส ความว่า ญาณทัสสนวิเศษกล่าวคือ อลมริยธรรมเพราะสามารถ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 172
เพื่อทำความเป็นอริยะ. บทว่า นคฺเคยฺย คือจากความเป็นคนเปลือย บทว่า มุญฺเฑยฺย คือจากความเป็นคนโล้น. บทว่า วาฬนิปฺโปตนาย คือจากการปัดฝุ่น อธิบายว่า เมื่อเขานั่งที่พื้นดิน ก็แต่เพียงถือแซ่หางนกยูงเพื่อปัดฝุ่นธุลีและทรายที่ติดอยู่ใกล้ที่นั่ง.
จบ อรรถกถาอเจลสูตรที่ ๙