พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. มณิจูฬกสูตร ว่าด้วยทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 ต.ค. 2564
หมายเลข  37544
อ่าน  440

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 212

๑๐. มณิจูฬกสูตร

ว่าด้วยทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 212

๑๐. มณิจูฬกสูตร

ว่าด้วยทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร

[๖๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้นแล เมื่อราชบริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวังสนทนากันว่า ทองและเงินย่อมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน ย่อมรับทองและเงิน.

[๖๒๔] ก็สมัยนั้นแล นายบ้านนามว่ามณิจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัทนั้น นายบ้านนามว่ามณิจูฬกะได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน นายบ้านมณิจูฬกะไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้.

[๖๒๕] ครั้งนั้น นายบ้านมณิจูฬกะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อราชบริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวังสนทนากันว่า ทองและเงินย่อมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน เมื่อราชบริษัทกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินย่อมไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 213

ห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้ เมื่อข้าพระองค์พยากรณ์อย่างนี้ เป็นอันกล่าวตามคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกไรๆ คล้อยตามวาทะ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้แลหรือ พระเจ้าข้า.

[๖๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ นายคามณี เมื่อท่านพยากรณ์อย่างนี้ เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกไรๆ คล้อยตามวาทะ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้. เพราะว่าทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน. ดูก่อนนายคามณี ทองและเงินควรแก่ผู้ใด เบญจกามคุณก็ควรแก่ผู้นั้น เบญจกามคุณควรแก่ผู้ใด ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น ดูก่อนนายคามณี ท่านพึงทรงจำความที่ควรแก่เบญจกามคุณนั้นโดยส่วนเดียวว่า ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร อนึ่งเล่า เรากล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษพึงแสวงหาบุรุษ เรามิได้กล่าวว่า สมณศากยบุตรพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายอะไรเลย.

จบ มณิจูฬกสูตรที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 214

อรรถกถามณิจูฬกสูตรที่ ๑๐

ในมณิจูฬกสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.

บทว่า ตํ ปริสํ เอตทโวจ ความว่า ได้ยินว่า นายบ้านนามว่า มณิจูฬกะนั้นได้มีความคิดว่า กุลบุตรทั้งหลายเมื่อบวช ย่อมละบุตรและภรรยา ทองและเงินก่อนแล้วจึงบวช แลเขาเหล่านั้นครั้นละแล้วบวช จึงไม่อาจรับทองและเงินนั้นได้. นายบ้านนั้นมีความยึดถือเป็นพิเศษ จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า มา อยฺยา ดังนี้. บทว่า. เอกํเสเนตํ ความว่า ท่านพึงทรงจำความที่ควรแก่กามคุณห้านั้น โดยส่วนเดียวว่า ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร. บทว่า ติณํ ได้แก่หญ้ามุงเสนาสนะ. บทว่า ปริเยสิตพฺพํ ความว่า เมื่อเรือนที่มุงด้วยหญ้า หรือมุงด้วยอิฐพัง พึงไปยังสำนักของผู้ที่ทำเรือนนั้น บอกว่า เสนาสนะที่ท่านทำ ฝนรั่ว. เราไม่อาจอยู่ในเสนาสนะนั้นได้. มนุษย์ทั้งหลายเมื่อทำได้ก็จักทำให้ เมื่อทำไม่ได้ก็จักบอกว่า พวกท่านจงหานายช่างให้ทำ พวกเราจักให้สัญญากะนายช่างเหล่านั้น ครั้นให้นายช่างที่บอกไว้อย่างนั้นทำเสร็จแล้ว พึงบอกแก่มนุษย์เหล่านั้น พวกมนุษย์จักให้ค่าจ้างแก่พวกนายช่าง. ถ้าไม่มีเจ้าของที่อยู่อาศัย ภิกษุผู้ประพฤติภิกขาจารวัตร ควรบอกแม้แก่คนอื่นๆ ให้ทำ. บทว่า ปริเยสิตพฺพํ ตรัสหมายข้อความดังนี้. บทว่า ทารุํ ความว่า เมื่อไม้กลอนหลังคาเป็นต้นในเสนาสนะพัง พึงแสวงหาไม้เพื่อซ่อมแซมสิ่งนั้น. บทว่า สกฏํ ได้แก่เกวียนชั่วคราวเท่านั้น ทำให้แปลกจากของคฤหัสถ์ มิใช่แต่เกวียนอย่างเดียวเท่านั้น แม้อุปกรณ์อื่นๆ มีมีด

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 215

ขวานและจอบเป็นต้น ก็ควรแสวงหาอย่างนี้. บทว่า ปุริโส ความว่า ควรแสวงหาคนมาช่วยงาน คือ พูดกะคนใดคนหนึ่งว่า ท่านจักช่วยงานได้ไหม เมื่อเขาบอกว่า กระผมจักช่วยขอรับ ควรให้เขาทำสิ่งที่ต้องการว่า ท่านจงทำสิ่งนี้ๆ. บทว่า น เตฺววาหํ คามณิ เกนจิ ปริยาเยน ความว่า แต่เรามิได้กล่าวถึงทองและเงิน ว่าสมณศากยบุตรพึงแสวงหา ด้วยเหตุอะไรๆ เลย.

จบ อรรถกถามณิจูฬกสูตรที่ ๑๐