๑๒. ราสิยสูตร ว่าด้วยบรรพชิตไม่ควรเสพส่วนสุด ๒ อย่าง
[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 220
๑๒. ราสิยสูตร
ว่าด้วยบรรพชิตไม่ควรเสพส่วนสุด ๒ อย่าง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 220
๑๒. ราสิยสูตร
ว่าด้วยบรรพชิตไม่ควรเสพส่วนสุด ๒ อย่าง
[๖๒๙] ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าราสิยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่า เข้าไปด่าบุคคลทั้งปวงผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง โดยส่วนเดียว ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดได้กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่า เข้าไปด่าบุคคลทั้งปวงผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง โดยส่วนเดียว ดังนี้ ชนเหล่านั้นเป็นอันกล่าวตามคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้แลหรือ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนายคามณี ชนเหล่าใดได้กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่า เข้าไปด่าบุคคลทั้งปวงผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองโดยส่วนเดียว ดังนี้ ชนเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นอันกล่าวตามความที่เรากล่าวแล้ว และกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ไม่เป็นจริง.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 221
[๖๓๐] ดูก่อนนายคามณี บรรพชิตไม่ควรเสพส่วนสุด ๒ อย่างนี้ คือ ๑. การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย อันเป็นธรรมเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่เป็นของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๒. การประกอบตนให้เหน็ดเหนื่อย ลำบากเปล่า ซึ่งเป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ดูก่อนนายคามณี ข้อปฏิบัติสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างนั้น อันพระตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว กระทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน ดูก่อนนายคามณี ก็ข้อปฏิบัติสายกลาง อันพระตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว กระทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน คืออริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูก่อนนายคามณี ข้อปฏิบัติสายกลางนี้แล อันตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว การทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
ว่าด้วยบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก
[๖๓๑] ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ๑ ก็บุคคลผู้บริโภคกาม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 222
บางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ๑ บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ ๑.
[๖๓๒] ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม และไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลันบ้าง โดยความไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้สุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์ โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลันบ้าง โดยความไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ บุคคลผู้บริโภคกามบางคนโนโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลันบ้าง โดยความไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ.
[๖๓๓] ดูก่อนนายคามณี อนึ่ง บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ก็บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ก็บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ แต่ยัง
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 223
เป็นคนละโมภ หลงพัวพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคทรัพย์นั้นอยู่ ดูก่อนนายคามณี อนึ่ง บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ และไม่ละโมภ ไม่หลง ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคทรัพย์นั้นอยู่.
ว่าด้วยผู้บริโภคกามพึงถูกติเตียนและสรรเสริญ
[๖๓๔] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ นี้ พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน. พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเหล่านี้.
[๖๓๕] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 224
ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวเป็นไฉน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้.
[๖๓๖] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ นี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานอย่างเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเหล่านี้.
[๖๓๗] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยผลุนผลันบ้าง โดยไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ นี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูก
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 225
ติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูก่อนนายคามณี บุคคลบริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน เหล่านี้.
[๖๓๘] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยผลุนผลันบ้าง โดยไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ นี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียน ๒ สถานเหล่านี้.
[๖๓๙] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยผลุนผลันบ้าง โดยไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ นี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควร
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 226
สรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว เป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภค กามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวนี้.
[๖๔๐] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้สุขสบาย ไม่จำแนกทานไม่ทำบุญ นี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว เป็นไฉน คือควรสรรเสริญโดยสถานเดียวดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเหล่านี้.
[๖๔๑] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ นี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 227
๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวนี้.
[๖๔๒] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ แต่ยังเป็นคนละโมภ หลง พัวพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์นี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวดังนี้ว่า เป็นคนละโมภ หลง พัวพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์ ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวนี้.
[๖๔๓] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ และไม่ละโมภ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 228
ไม่หลง ไม่พัวพัน มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์นี้ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถาน ควรสรรเสริญโดย ๔ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ สถานที่ ๔ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เป็นคนไม่ละโมภ ไม่หลง ไม่พัวพัน มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์ ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถานเหล่านี้.
ว่าด้วยผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวก
[๖๔๔] ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุกุศลธรรม พึงทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ ดังนี้เขาย่อมทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย แต่ก็ไม่บรรลุกุศลธรรม ทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ๑ ดูก่อนนายคามณี ก็บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุกุศลธรรม พึงทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 229
ชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ ดังนี้ เขาย่อมทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวายบรรลุกุศลธรรมอย่างเดียว แต่กระทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ๑ ดูก่อนนายคามณี ก็บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุกุศลธรรม พึงทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ ดังนี้เขาย่อมทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ได้บรรลุกุศลธรรม และทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ ๑.
[๖๔๕] ดูก่อนนายคามณี ในบรรดาบุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวกนั้น ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ไม่ได้บรรลุกุศลธรรม ทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้นี้ พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่ได้บรรลุกุศลธรรม สถานที่ ๓ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอย่างเศร้าหมองนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเหล่านี้.
[๖๔๖] ดูก่อนนายคามณี ในบรรดาบุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวกนั้น ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ได้บรรลุกุศลธรรมเหล่านั้น แต่ทำให้แจ้ง
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 230
ซึ่งอุตตริมนุสสธรรมชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้นี้ พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวดังนี้ว่า ได้บรรลุกุศลธรรม ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้.
[๖๔๗] ดูก่อนนายคามณี ในบรรดาบุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวกนั้น ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ได้บรรลุกุศลธรรม และทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์นี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวดังนี้ว่า ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า ได้บรรลุกุศลธรรม สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า ทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ได้ ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 231
ว่าด้วยธรรม ๓ อย่างอันบุคคลพึงเห็นเอง
[๖๔๘] ดูก่อนนายคามณี ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ การที่บุคคลเป็นผู้กำหนัดตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง เพราะราคะเป็นเหตุ เมื่อละราคะได้แล้ว ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง นี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑
การที่บุคคลผู้ถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง เพราะโทสะเป็นเหตุ เมื่อละโทสะได้แล้ว ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง นี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 232
การที่บุคคลผู้หลงแล้ว ตั้งใจจะเบียดเบียนตนเองบ้าง ตั้งใจจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ตั้งใจจะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง เพราะโมหะเป็นเหตุ เมื่อละโมหะได้แล้ว ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง นี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑
ดูก่อนนายคามณี ธรรม ๓ อย่างนี้แล เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว นายบ้านนามว่าราสิยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต.
จบ ราสิยสูตรที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 233
อรรถกถาราสิยสูตรที่ ๑๒
ในราสิยสูตรที่ ๑๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ราสิโย ความว่า พระธรรมสังคาหกเถระได้กำหนดชื่อนายบ้านว่า ราสิยะ อย่างนี้ เพราะเขาถามปัญหาเป็นกลุ่มก้อน บทว่า ตปสฺสึ ได้แก่อาศัยตบะ. บทว่า ลูขชีวึ แปลว่า มีความเป็นอยู่ปอนๆ.
บทว่า อนฺตา ได้แก่ส่วน. บทว่า คาโม ได้แก่เป็นของชาวบ้าน ปาฐะว่า คมฺโม ดังนี้ก็มี. ความว่า เป็นเรื่องของชาวบ้าน บทว่า. อตฺตกิลมถานุโยโค แปลว่า การประกอบตนให้ลำบากเปล่า อธิบายว่า ทำความเดือดร้อนแก่ร่างกาย. ถามว่า ก็ในที่นี้ เหตุไรจึงทรงถือเอากามสุขัลลิกานุโยค เหตุไรจึงทรงถือเอาอัตตกิลมถานุโยค เหตุไรจึงทรงถือเอามัชฌิมาปฏิปทา. แก้ว่า ทรงถือเอากามสุขัลลิกานุโยค เพื่อแสดงแก่เหล่าชนผู้บริโภคกามก่อน ทรงถือเอาอัตตกิลมถานุโยค เพื่อแสดงแก่เหล่าชนผู้อาศัยตบะ ทรงถือเอามัชฌิมาปฏิปทา เพื่อแสดงเรื่องที่หาชราความทรุดโทรมมิได้ ๓ ประการ. ถามว่า ในการแสดงข้อปฏิบัติเหล่านั้น ได้ประโยชน์อะไร. แก้ว่า บรรดาข้อปฏิบัติเหล่านี้ พระตถาคตทรงละส่วนสุด ๒ อย่าง แล้วทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วยมัชฌิมาปฏิปทา ผู้บริโภคกามทั้งหลาย พระองค์ก็มิได้ทรงตำหนิ มิได้ทรงสรรเสริญไปทั้งหมด แม้ผู้อาศัยตบะทั้งหลาย พระองค์ก็มิได้ทรงตำหนิ มิได้ทรงสรรเสริญไปทุกคน ทรงตำหนิเฉพาะผู้ที่ควรตำหนิ ทรงสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ พึงทราบว่า ประโยชน์ในการแสดงข้อปฏิบัติเหล่านี้ ก็เพื่อประกาศเนื้อความนี้ ด้วยประการฉะนี้. บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ตโย โขเม คามณิ กามโภคิโน ดังนี้เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 234
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหเสน แปลว่า ด้วยการกระทำอย่างผลุนผลัน. บทว่า น สํวิภชติ ความว่า ไม่แจกจ่ายแก่มิตรสหายที่เคยเห็นเคยคบกัน. บทว่า น ปุญฺานิ กโรติ ความว่า ไม่ทำบุญซึ่งเป็นปัจจัยแก่ภพภายหน้า. บทว่า ธมฺมาธมฺเมน แปลว่า โดยชอบธรรม และโดยไม่ชอบธรรม. บทว่า าเนหิ ได้แก่โดยเหตุทั้งหลาย. บทว่า สจฺฉิกโรติ ความว่า ผู้มีตบะ เมื่อทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย จะทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมได้อย่างไร. ธรรมราศี กองธรรม ๓ อย่าง ชื่อว่าอันบุคคลพึงเห็นเอง ด้วยอำนาจความเพียรที่ประกอบด้วยองค์ ๔ และด้วยอำนาจธุดงค์. ในบทว่า นิชฺชรา นี้ ท่านเรียกมรรคบางอย่างว่า ติสฺโส นิชฺชรา เพราะกิเลสทั้งสามหาชราทรุดโทรมมิได้.
จบ อรรถกถาราสิยสูตรที่ ๑๒