การเกิดแก่เจ็บตาย

 
Guest
วันที่  20 พ.ค. 2550
หมายเลข  3755
อ่าน  23,581

การเกิดแก่เจ็บตายมีผลจากชาติปางก่อนหรือไม่อย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 21 พ.ค. 2550

โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึง เกิด แก่ เจ็บ ตาย หมายถึงความเป็นไปของสัตว์โลก ซึ่ง

เป็นที่ประชุมกันของรูปนามขันธ์ห้า (จิต เจตสิก รูป) ขันธ์ห้าที่เกิดขึ้นในชาติปัจจุบันนี้

เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากชาติปางก่อน เพราะชาติก่อนมีเหตุ คือกรรม จึงเป็นปัจจัยทำ

ให้มีการเกิด (ปฏิสนธิ) เมื่อมีความเกิดจึงมี ความแก่ และความตาย เพราะชาติปัจจุบัน

นี้กระทำเหตุให้เกิดภพใหม่ต่อไปจึงมีการเกิด แก่ และตาย ในภพต่อไปอีกสืบเนื่องกัน

อย่างนี้ เพราะมีขันธ์ห้าสืบเนื่องกันเป็นไปจึงเรียกว่า สังสารวัฏฏ์ ผู้ที่อบรมเจริญ

ปัญญาจนบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ชื่อว่าดับเหตุของการเกิดขึ้นในภพใหม่ เรียกว่า

ผู้สิ้นวัฏฏะทุกข์ สิ้นชาติ สิ้นกรรม สิ้นวิบาก

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
อารายเนี่ย
วันที่ 21 พ.ค. 2550

การเกิดแก่เจ็บตายมีผลจากชาติปางก่อนหรือไม่อย่างไร

ถ้าไม่มีขันธ์ ๕ หรือ นามธรรม รูปธรรม ก็จะไม่มีสัตว์ ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย

เมื่อว่าโดยสัจจะความจริงโดยปรมัตแล้ว สัตว์ก็ถูกบัญญัติขึ้นเพราะการประชุมรวมกัน

ของขันธ์ ๕ หรือนามธรรมและรูปธรรม ดังนั้น ขณะที่สัตว์เกิด ก็คือ ขณะที่จิตเกิดขึ้น

ขณะนั้น ก็ชื่อว่าเป็นปัจจุบัน ขณะที่จิต ที่ดับไปแล้ว ก็ชื่อว่าเป็นอดีต ไม่ใช่

ปัจจุบัน ดังนั้น การเชื่อมโยงระหว่างชาติก่อนและชาตินี้ ก็แค่เพียงจิตดวงหนึ่งดับ

ไป และจิตดวงหนึ่งเกิดสืบต่อ (จุติจิตดับไปปฏิสนธิจิตเกิดต่อ) ดังนั้น การเกิด แก่

เจ็บ ตาย ก็มีได้โดยอาศัยการสืบต่อของขันธ์ ๕ มีจิตเป็นต้น ที่เกิดดับสืบต่อกัน

ครับ ซึ่งการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีผลมาจากจิตดวงก่อนๆ (ชาติปางก่อน) เป็น

ปัจจัยครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่.........

ชีวิตของสัตว์เป็นการสืบต่อของจิต [อรรถกถาอุปเนยยสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 22 พ.ค. 2550

ที่เราต้องเวียนว่ายตายเกิดมาจาก อวิชชา เป็นมูล คือ การหมุนไปแห่งภพชาติ ได้แก่

อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิด..นามรูป ฯลฯ ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปััจจัย ฯลฯ และเราจะดับอวิชชาที่เป็นเหตุให้เราเกิดแก่เจ็บตายวนเวียนอยู่ในภพดับได้ด้วยการอบรมวิชชา คือ ปัญญาเท่านั้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
mbcz0053
วันที่ 16 ก.พ. 2551

ครับผม

สบายดีครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
mbcz0053
วันที่ 16 ก.พ. 2551
มีความสุข ความเจริญใจ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ