พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วรรคที่ ๒ ว่าด้วยอสังขตะและทางให้ถึงอสังขตะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ต.ค. 2564
หมายเลข  37554
อ่าน  584
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 263

อสังขตสังยุต

วรรคที่ ๒

ว่าด้วยอสังขตะและทางให้ถึงอสังขตะ

[๖๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตะ และทางที่จะให้ถึงอสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. คือสมถะ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาพึงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลผู้อนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย.

[๖๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกอสังขตะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 264

อสังขตะเป็นไฉน. คือ วิปัสสนานี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ฯลฯ นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย

[๖๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. คือ สมาธิมีทั้งวิตกวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๖๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. คือ สมาธิไม่มีวิตก มีแต่วิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๖๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. คือ สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๖๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. คือ สุญญตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๖๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. คือ อนิมิตตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๖๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. คือ อัปปณิหิตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๖๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 265

[๖๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.

[๖๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๖๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๖๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อยังธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๖๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อละธรรมอันเป็นบาป อกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 266

[๖๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อยังธรรมอันเป็นกุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความเพิ่มพูน ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์แห่งธรรมอันเป็นกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 267

[๗๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสตินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสมาธินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 268

[๗๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางทั้งจะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญวิริยพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสมาธิพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 269

[๗๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ ... วิริยะสัมโพชฌงค์ ... ปีติสัมโพชฌงค์ ... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... สมาธิสัมโพชฌงค์ ... อุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ... สัมมาวาจา ... สัมมากัมมันตะ ... สัมมาอาชีวะ ... สัมมาวายามะ ... สัมมาสติอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ...

[๗๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 270

จะให้ถึงอสังขตะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลผู้อนุเคราะห์ พึงกระทำแล้วแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแล้วแต่เธอทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย.

[๗๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่สุดและทางที่จะให้ถึงที่สุดแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ที่สุดเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาอาสวะมิได้ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาอาสวะมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาอาสวะมิได้เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่จริงแท้ และทางที่จะถึงธรรมที่จริงแท้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่จริงแท้เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นฝั่ง และทางที่จะให้ถึงธรรมอันเป็นฝั่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นฝั่งเป็นไฉน ฯลฯ.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 271

[๗๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันละเอียด และทางที่จะให้ถึงธรรมอันละเอียดแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันละเอียดเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเห็นได้แสนยาก และทางที่จะให้ถึงธรรมอันเห็นได้แสนยากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเห็นได้แสนยากเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่คร่ำคร่า และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่คร่ำคร่าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่คร่ำคร่าเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันยั่งยืน และทางที่จะให้ถึงธรรมอันยั่งยืนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันยั่งยืนเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่ทรุดโทรม และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่ทรุดโทรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่ทรุดโทรมเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันใครๆ ไม่พึงเห็นด้วยจักษุวิญญาณ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันใครๆ ไม่พึงเห็นด้วยจักษุวิญญาณแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันใครๆ ไม่พึงเห็นด้วยจักษุวิญญาณเป็นไฉน ฯลฯ.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 272

[๗๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้า และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้าเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันสงบ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันสงบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันสงบเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่ตาย และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่ตายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่ตายเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันประณีต และทางที่จะให้ถึงธรรมอันประณีตแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันประณีตเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเยือกเย็น และทางที่จะให้ถึงธรรมอันเยือกเย็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเยือกเย็นเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันปลอดภัย และทางที่จะให้ถึงธรรมอันปลอดภัยแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันปลอดภัยเป็นไฉน ฯลฯ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 273

[๗๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา และทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันอัศจรรย์ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันอัศจรรย์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันอัศจรรย์เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็น และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็นเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความไม่มีทุกข์ และทางที่จะให้ถึงความไม่มีทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่มีทุกข์เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาทุกข์มิได้ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาทุกข์มิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาทุกข์มิได้เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพาน และทางที่จะให้ถึงนิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นิพพานเป็นไฉน ฯลฯ.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 274

[๗๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาความเบียดเบียนมิได้ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาความเบียดเบียนมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาความเบียดเบียนมิได้เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันปราศจากความกำหนัด และทางที่จะให้ถึงธรรมอันปราศจากความกำหนัดแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันปราศจากความกำหนัดเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความบริสุทธิ์ และทางที่จะให้ถึงความบริสุทธิ์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความบริสุทธิ์เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความพ้น และทางที่จะให้ถึงความพ้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความพ้นเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาความอาลัยมิได้ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาความอาลัยมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาความอาลัยมิได้เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงที่พึ่ง และทางที่จะให้ถึงที่พึ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ที่พึ่งเป็นไฉน ฯลฯ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 275

[๗๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่เร้น และทางที่จะให้ถึงที่เร้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ที่เร้นเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่ต้านทาน และทางที่จะให้ถึงที่ต้านทานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ที่ต้านทานเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสรณะ และทางที่จะให้ถึงสรณะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สรณะเป็นไฉน ฯลฯ.

[๘๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า และทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเป็นไฉน. ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเป็นไฉน. ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คือ กายคตาสติ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า และทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล. ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลผู้อนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ ทำแล้วแก่เธอ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 276

ทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย (พึงขยายความ ให้พิสดารเหมือนอย่างอสังขตะ)

จบ วรรคที่ ๒

อรรถกถาอสังขตสังยุต

อรรถกถาวรรคที่ ๑ และที่ ๒

บทว่า อสํขตํ ได้แก่อันปัจจัยไม่กระทำแล้ว. บทว่า หิเตสินา แปลว่า ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า อนุกมฺปเกน แปลว่า อนุเคราะห์อยู่. บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย ความว่า กำหนดด้วยจิต คิดช่วยเหลือ ท่านอธิบายว่า อาศัย ดังนี้ก็มี. บทว่า กตํ โว ตํ มยา ความว่า ศาสดาเมื่อแสดงอสังขตะและทางแห่งอสังขตะนี้ ชื่อว่า ทำกิจแก่เธอทั้งหลายแล้ว กิจคือการแสดงธรรมไม่วิปริตของศาสดาผู้อนุเคราะห์ ก็เพียงนี้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัติต่อจากนี้ เป็นกิจของสาวกทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอตานิ ภิกฺขเว รุกฺขมูลานิ ฯเปฯ อมฺหากํ อนุสาสนี ดังนี้ ด้วยบทนี้ ทรงแสดงเสนาสนะคือ โคนไม้. ด้วยบทว่า สุญฺาคารานิ นี้ ทรงแสดงสถานที่ที่สงัดจากชน และด้วยบททั้งสองทรงบอกเสนาสนะที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรทางกายและใจ ชื่อว่าทรงมอบมรดกให้. บทว่า ฌายถ ความว่า จงเข้าไปเพ่ง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 277

อารมณ์ ๓๘ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน และเพ่งขันธ์และอายตนะเป็นต้น ด้วยลักขณูปนิชฌาน โดยเป็นอนิจจลักษณะเป็นต้น ท่านอธิบายว่า จงเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนา. บทว่า มา ปมาทตฺถ แปลว่า อย่าประมาท. บทว่า มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ ความว่า ชนเหล่าใด เมื่อก่อนเวลาเป็นหนุ่มไม่มีโรค สมบูรณ์ด้วยความสบาย ๗ อย่างเป็นต้น ทั้งศาสดาก็อยู่พร้อมหน้า ละเว้นโยนิโสมนสิการเสีย เสวยสุขในการหลับนอน ทำตัวเป็นอาหารของเรือดทั้งคืนทั้งวัน ประมาทอยู่ ชนเหล่านั้น ภายหลัง เวลาชรา มีโรค ตาย วิบัติ ทั้งศาสดาก็ปรินิพพานแล้ว นึกถึงการอยู่อย่างประมาทก่อนๆ นั้น และพิจารณาเห็นความตายที่มีปฏิสนธิว่าเป็นเรื่องหนัก ย่อมเดือดร้อน แต่เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงดังนี้ จึงตรัสว่า มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺก ดังนี้. บทว่า อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี มีอธิบายว่า นี้เป็นอนุศาสนีคือโอวาทแต่สำนักของเราเพื่อเธอทั้งหลายว่า ฌายถ มา ปมาทตฺถ จงเพ่ง อย่าประมาท ดังนี้.

บทที่ควรจะกล่าว ในบทว่า กาเย กายานุปสฺสี ดังนี้ เป็นต้นนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวข้างหน้า. ในบทว่า อนฺตํ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า อันตะ เพราะไม่มีความยินดีด้วยอำนาจตัณหา ชื่อว่า อนาสวะ เพราะไม่มีอาสวะ ๔ ชื่อว่า สัจจะ เพราะเป็นปรมัตถสัจจะ ชื่อว่า ปาระ เพราะอรรถว่าเป็นส่วนนอกจากวัฏฏะ คือฝั่งโน้นหมายถึงวิวัฏฏะ ชื่อว่า นิปุณะ เพราะอรรถว่าละเอียด ชื่อว่า สุทุททสะ เพราะเป็นธรรมที่เห็นได้แสนยาก ชื่อว่า อชัชชระ เพราะไม่คร่ำคร่าด้วยชรา ชื่อว่า ธุวะ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 278

เพราะอรรถว่ามั่นคง. ชื่อว่า อปโลกินะ เพราะเป็นธรรมไม่บุบสลาย ชื่อว่า อทัสสนะ เพราะใครๆ ไม่พึงเห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ ชื่อว่า นิปปปัญจะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหามานะและทิฏฐิ ชื่อว่า สันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสภาวะ ชื่อว่า อมตะ เพราะไม่มีความตาย ชื่อว่า ประณีต เพราะอรรถว่าสูงสุด ชื่อว่า สิวะ เพราะอรรถว่ามีความเยือกเย็น ชื่อว่า เขมะ เพราะปราศจากอันตราย ชื่อว่า ตัณหักขยะ เพราะเป็นปัจจัยให้สิ้นตัณหา ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรปรบมือให้ เพราะอรรถว่าตั้งมั่นมาแต่สมาธิ เรื่องที่ไม่เคยมีเคยเป็นนั่นแหละ ชื่อว่า อัพภูตะ ควรจะกล่าวว่า ไม่เกิดแล้วมีอยู่ ชื่อว่า อนีติกะ เพราะปราศจากทุกข์ ชื่อว่า อนีติกธรรมะ เพราะเป็นธรรมปราศจากทุกข์เป็นสภาวะ ชื่อว่า นิพพาน เพราะไม่มีตัณหาเครื่องร้อยรัด ชื่อว่า อัพยาปัชฌะ เพราะไม่มีความเบียดเบียน ชื่อว่า วิราคะ โดยเป็นปัจจัยแก่การบรรลุธรรมเครื่องคลายกำหนัด ชื่อว่า สุทธิ เพราะเป็นธรรมบริสุทธิ์โดยปรมัตถ์ ชื่อว่า มุตติ เพราะเป็นธรรมพ้นจากภพ ๓ ชื่อว่า อนาลยะ เพราะไม่มีอาลัย ชื่อว่า ทีปะ เพราะอรรถว่าเป็นที่พึ่ง ชื่อว่า เลณะ เพราะอรรถว่าควรที่จะพัก ชื่อว่า ตาณะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ต้านทาน ชื่อว่า สรณะ เพราะอรรถว่ากำจัดภัย อธิบายว่า ทำภัยให้พินาศ. ชื่อว่า ปรายนะ เพราะเป็นดำเนินไป เป็นที่ไป เป็นที่พึ่ง อาศัยเบื้องหน้า. บทที่เหลือในที่นี้ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาอสังขตสังยุต

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 279

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสังขตสูตร ๒. อันตสูตร ๓. อนาสวสูตร ๔. สัจจสูตร ๕. ปารสูตร ๖. นิปุนสูตร ๗. สุทุทฺทสสูตร ๘. อชัชชรสูตร ๙. ธุวสูตร ๑๐. อปโลกินสูตร ๑๑. อนิทัสสนสูตร ๑๒. นิปปปัญจสูตร ๑๓. สันตสูตร ๑๔. อมตสูตร ๑๕. ปณีตสูตร ๑๖. สิวสูตร ๑๗. เขมสูตร ๑๘. ตัณหักขยสูตร ๑๙. อัจฉริยสูตร ๒๐. อัพภุตสูตร ๒๑. อนีติกสูตร ๒๒. อนีติกธรรมสูตร ๒๓. นิพพานสูตร ๒๔. อัพยาปัชฌสูตร ๒๕. วิราคสูตร ๒๖. สุทธิสูตร ๒๗. มุตติสูตร ๒๘. อนาลยสูตร ๒๙. ทีปสูตร ๓๐. เลณสูตร ๓๑. ตาณสูตร ๓๒. สรณสูตร ๓๓. ปรายนสูตร.

จบ อสังขตสังยุต