จิตมีอารมณ์เดียว

 
kchat
วันที่  20 พ.ค. 2550
หมายเลข  3757
อ่าน  1,713

ผู้ฟัง ในพระสูตรนี้กล่าวว่า “จิตมีอารมณ์เดียว” คือ จริงๆ แล้วจิตนี้เกิดขึ้นหนึ่งขณะก็จะต้องมีอารมณ์ที่จิตรู้ ก็คือสิ่งเดียวอยู่แล้ว

อ. เพราะฉะนั้นหน้าที่ของจิต เป็นสภาพที่รู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ จิตทำหน้าที่ของปัญญาไม่ได้ จิตเกิดเมื่อไหร่ที่ไหน ก็เป็นสภาพที่กำลังรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ เช่น ในขณะนี้ มีสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของจิต กำลังทำกิจนี้ ไม่ใช่เราคือ ให้เข้าใจความจริงของสภาพธรรม

ผู้ฟัง แต่ในพระสูตรกล่าวว่า มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตอารมณ์เดียว

อ. ถ้าไม่มีปัญญาจะผ่องใสได้ไหม จะรู้ว่าจิตขณะนั้นมีอารมณ์เดียวไหม เช่น ขณะนี้จิตเห็น ไม่ใช่จิตได้ยิน ไม่ใช่จิตคิดนึก เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีปัญญา จะรู้ได้ไหมว่าจิตมีอารมณ์เดียว

ผู้ฟัง แต่ไม่ได้หมายความว่า จิตมีหลายๆ อารมณ์ใช่ไหมคะ

อ. จิตเกิดขึ้นหนึ่งขณะจะต้องรู้แจ้งลักษณะที่ปรากฏ แต่ปัญญาเป็นสภาพที่เห็นถูก เข้าใจถูกในความจริงของสภาพธรรมนั้นที่กำลังปรากฏ

ผู้ฟัง แต่ในปัจจุบันนี้ที่ยังมีตัวตน ลักษณะของจิตที่กำลังปรากฏว่า อารมณ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน มันจะเหมือนปนๆ กันไปหมด

อ. จริงๆ แล้วนะคะ คงจะไม่ลืมว่าสภาพธรรมเกิดดับเร็วแค่ไหน สุดที่จะประมาณได้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏเหมือนไม่ดับ แสดงว่าการเกิดสืบต่อนี้ปกปิด การ

เกิดและดับไปของขณะก่อนๆ จนทำให้หลงจริงๆ ไม่รู้เลย อยู่ในโลกของชื่อ อยู่ในโลกของความคิด อยู่ในโลกของลาภ ยศ สรรเสริญ สุข แต่ตามความเป็นจริงแล้วนะคะอะไรแน่ ที่มีจริงๆ เพียงสิ่งที่ถ้าจะเข้าใจถูกต้องคือเมื่อฟังแล้ว สติสัมปชัญญะกำลังรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏเท่านั้นคะ อย่างอื่นไม่มีความหมายเลย หมดแล้วไม่เหลือเลย แต่ก็มีลักษณะที่ปัญญาสามารถที่จะอบรมจนกระทั่งเข้าใจถูก เห็นถูกว่าแม้กระนั้นก็เป็นธรรมะซึ่งเกิดและดับไป เพราะฉะนั้นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าลึกซึ้งในสิ่งที่มีและไม่รู้ จนกว่าจะเข้าถึงความหมายของอนัตตาไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่ใคร เป็นสภาพธรรมจริงๆ มีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วดับไป

จาก การสนทนา ... โกสลสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๐

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

การเจริญสติปัฏฐาน ๔ [โกสลสูตร]


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 23 พ.ค. 2550

ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นหัวหน้า สำเร็จแล้วด้วยใจ หากบุคคลมีใจอัน

โทษประทุษร้ายแล้ว คิดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดีบาปกรรมย่อมติดตามเขาไป เหมือนล้อ

เกวียนที่ตามรอยเท้าโคไปฉะนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 1 เม.ย. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ