อยากทราบคาถาบูชาพระ ...

 
เกลียวคลื่น
วันที่  21 พ.ค. 2550
หมายเลข  3769
อ่าน  2,889

เนื่องด้วยที่บ้าน มีองค์พระพุทธชินราช (จำลอง) บูชาอยู่ ยังหาคาถาบูชาพระองค์ท่านไม่ได้เลย (องค์อื่นๆ เช่น หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อทอง ฯลฯ หาตามหนังสือสวดมนต์ได้ไม่ยากและมีแล้ว) วานผู้รู้ ช่วยกรุณาบอกที ได้รับเหรียญองค์จตุคามฯ มาจากแม่ (แม่ได้รับมาจากเจ้าอาวาสวัดที่สุพรรณ) หากจะนำมาห้อยคอ วานช่วยบอกคาถาบูชาพระองค์ท่านด้วยค่ะ วันนี้พบว่าให้นำรถไปจอดนอกมูลนิธิฯ หมายความว่า? หลายเดือนก่อน เคยเปิดดู ดูเหมือนจะมีที่จอดรถให้ด้วย ใช่รึเปล่าคะหรือเปลี่ยนใหม่ ตอนนี้กดดูเนื้อหาไม่ค่อยออกเลย วันหลังจะมาเยี่ยมใหม่ มีโอกาสแล้ว วันเสาร์จะมาขอฟังธรรมะด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 22 พ.ค. 2550

การบูชาพระรัตนตรัยควรบูชาด้วยวัตถุที่สมควร เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน ของหอมประทีปโคมไฟ เป็นต้น ถ้าไม่มีวัตถุสิ่งของ ควรกราบนอบน้อมด้วยความเคารพ ส่วนการจะสวดเป็นคาถา ด้วยภาษาบาลีหรือภาษาไทย ไม่มีข้อจำกัดเลย ถ้าเรามีศรัทธากล่าวนอบน้อมเพียงสั้นๆ ว่า นโมตัสสะ ภควตาอรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ก็ใช้ได้ หรือท่านใดมีฉันทะ จะกล่าวนอบน้อมยาวกว่านั้นก็ได้ ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องบูชาด้วยคาถาใด และควรทราบว่าพระพุทธรูปทั้งหมดที่ทำเป็นรูปเหมือนพระพุทธองค์ เป็นเพียงเครื่องเตือนให้ระลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัย เท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
อิสระ
วันที่ 22 พ.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
อารายเนี่ย
วันที่ 22 พ.ค. 2550

จำเป็นต้องสวดไหม หรือว่าความเลื่อมใส ศรัทธา เกิดจากการฟังพระธรรมจนเข้าใจ และจุดประสงค์ของการสวดคืออะไร พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนเพื่อละคลาย แม้อานิสงส์จากการสวดครับ เรื่อง พระอานนท์กล่าวคำเลื่อมใสพระพุทธเจ้าต้องสวดหรือไม่ และอานิสงส์ของการกล่าวคำสรรเสริญของพระอานนท์โดยที่ไม่ได้สวด แต่ได้ฟังพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง จึงกล่าวสรรเสริญ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 432 ข้อความบางตอนจาก จูฬนีสูตร

อานนท์ ตถาคตเมื่อมีความจำนง จะพูดให้ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุได้ยินเสียงได้ หรือจำนงเท่าใดก็ได้.

อา. ด้วยวิธีอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ตถาคตอยู่ในที่นี้ จะพึงแผ่รัศมีไปทั่วติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุพอสัตว์ทั้งหลาย (ในโลกธาตุ) เหล่านั้นรู้จักแสงสว่างนั้น ตถาคตก็บันลือเสียงให้สัตว์เหล่านั้นได้ยิน ด้วยวิธีอย่างนี้แล

อานนท์. พอจบพระกระแสพุทธดำรัส ท่านพระอานนท์อุทานออกมาว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีหนอ ซึ่งเราได้พระศาสดามีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพใหญ่อย่างนี้.

พระอุทายี กล่าวขัดขึ้นว่า ท่านได้ประโยชน์อะไรในเรื่องนี้ อาวุโสอานนท์ หากว่าพระศาสดาของท่านมีฤทธิ์มากมีอานุภาพใหญ่อย่างนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะพระอุทายีว่า อย่าพูดเช่นนั้น อุทายี ถ้าอานนท์จะพึงเป็นผู้ยังไม่สิ้นราคะอย่างนี้มรณภาพไป ด้วยความที่จิตเลื่อมใสนั้น เธอจะพึงได้เป็นเทวราชาในเทวโลก ๗ ชาติ เป็นมหาราชาในชมพูทวีปนี้ ๗ ชาติ แต่แท้นั้น อานนท์จักปรินิพพานในชาติปัจจุบันนี้.

เรื่อง ผู้ใดเห็นธรรม (เข้าใจธรรม) ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 581

๓. สังฆาฏิสูตร ว่าด้วยผู้ประพฤติธรรมอยู่ไกลเหมือนอยู่ใกล้พระองค์

[๒๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิแล้วพึงเป็นผู้ติดตามไปข้างหลังๆ เดินไปตามรอยเท้าของเราอยู่ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีอภิชฌาเป็นปกติ มีความกำหนัดแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว และเราก็อยู่ห่างไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรมเมื่อไม่เห็นธรรมย่อมเชื่อว่าไม่เห็นเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุนั้นพึงอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีความกำหนัดอันแรงกล้าในกามทั้งหลาย ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติมั่น รู้สึกตัว มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ใกล้ชิดเราทีเดียว และเราก็อยู่ใกล้ชิดภิกษุนั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้น ย่อมเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา.

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 23 พ.ค. 2550

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอมีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอมีพระธรรมเป็นที่พึ่ง

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอมีพระสงฆ์เป็นที่พี่ง
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ แม้ครั้งที่สอง ฯลฯ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ แม้ตรั้งที่สาม ฯลฯ

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณิง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ถ้าเราสวดด้วยศรัทธา และรู้ความหมายจะซาบซึ้งในพระรัตนตรัย สาเหตุที่เราต้องกล่าวแม้ครั้งที่ ๑ แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ ก็เพื่อตอกย้ำความมั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไม่ว่าจะเกิดชาติไหนๆ ก็ขอมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง แต่ไม่ใช่แค่สวดมนต์เท่านั้นต้องศึกษาธรรมด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 26 มี.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ