ที่มาของ บทสวด สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุฯ ?
เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพ
บท สามัญญานุโมทนาคาถา (สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุฯ) มีที่มาในพระไตรปิฎก เรื่องใดครับ เพระจากข้อความข้างล่างนี้ดูแปลกๆ ครับ
พระวินัยปิฎก เล่ม ๕ มหาวรรคภาค ๒ - หน้าที่ 149
ภ. พระตถาคตทั้งหลายเลิกให้พรเสียแล้ว ชีวก
ชี. ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพรที่สมควรและไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า
ภ. จงว่ามาเถิด ชีวก
ชี. พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคและพระสงฆ์ทรงถือผ้าบังสุกุลเป็นปกติอยู่ ผ้า
สิไวยกะของข้าพระพุทธเจ้าคู่นี้ พระเจ้าปัชโชตทรงส่งมาพระราชทาน เป็นผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐ ....
ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ
เวลาพระท่าน รับทานจากทายกแล้ว ท่านกล่าวอนุโมทนา ไม่ใช่ให้พร คาถาอนุ-โมทนา ที่พระท่านนิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน บางส่วนมีที่มาจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถา บางส่วนอาจารย์รุ่นหลังแต่งขึ้น ในภายหลัง สัพพีติโย เป็นต้น ไม่มีที่มา มีแต่ ยถา วาริวหา เป็นต้น เท่านั้น
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...
น้ำตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...
จากข้อความในพระวินัยปิฎก ที่ยกมาบางส่วน เป็นบทสนทนาระหว่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าและหมอชีวกโกมารภัท หมอชีวกฯ เป็นบุคคลแรก ที่ได้ขอพรจากพระผู้มีพระภาคฯ ให้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุ สามารถรับถวายจีวร จากคฤหัสถ์ ซึ่งแต่เดิม ท่านสามารถใช้สอยได้แต่เพียงผ้าบังสุกุลเท่านั้น นับแต่นั้นเป็นต้นมา พระภิกษุจึงมีทั้งบังสุกุลจีวรและคฤหัสถ์จีวร
ทุกครั้งที่ท่านได้มีโอกาสถวายจีวร แก่พระภิกษุสงฆ์ ควรน้อมระลึกถึง หมอชีวกฯผู้ซึ่งได้ขอพรอันประเสริฐ และท่านก็เป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบันด้วย
คำแปลของ สัพพิติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วิันัสสตุ ฯลฯ
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป โรคทั้งปวงของท่านจงหาย อันตรายทั้งปวง จงอย่ามีแก่ท่าน ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน ธรรม 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะพละ ย่อมเจริญแก่บุคคล ผู้มีปกติ ไหว้กราบ มีปกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์
สัพพิติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วิันัสสตุ ฯลฯ
ผมอยากได้บทสวดสัพพีแบบเต็มๆ มีเปล่าครับ ช่วยลงให้ผมหน่อยนะครับ
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
มีบทสวดดังนี้ .-สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภวะ อภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ฯแปลได้ดังน้ .-
ความจัญไร ทั้งปวง จงบำราศไป โรคทั้งปวงของท่านจงหายอันตรายทั้งปวง จงอย่ามีแก่ท่าน ขอท่านจงเป็นผู้มีความสุขและมีอายุยืนธรรมะ ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติไหว้กราบมีปกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์