พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อินทริยสังยุต อานิสงส์แห่งการเจริญอินทรีย์ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 ต.ค. 2564
หมายเลข  37852
อ่าน  430

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้า 106

อินทริยสังยุต คังคาทิเปยยาลที่ ๘

อานิสงส์แห่งการเจริญอินทรีย์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 106

อินทริยสังยุต คังคาทิเปยยาลที่ ๘ (๑)

อานิสงส์แห่งการเจริญอินทรีย์ ๕

[๑๐๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.


(๑) คังคาทิเปยยาลที่ ๘ ไม่มีอรรถกถาแก้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 107

[๑๐๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์... สตินทรีย์... สมาธินทรีย์... ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

[๑๐๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล.

[๑๐๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล (อินทรีย์ที่อาศัยวิเวกเป็นต้น พึงขยายความออกไปเหมือนมรรคสังยุต).

[๑๐๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งลงสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 108

ให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

[๑๐๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

[๑๐๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อัน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 109

ภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล (อินทริยสังยุตมีส่วนเหมือนในมรรคสังยุต).

จบคังคาทิเปยยาลที่ ๘

จบอินทริยสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัญโญชนสูตร

๒. อนุสยสูตร

๓. ปริญญาสูตร

๔. อาสวักขยสูตร

๕. ปฐมผลสูตร

๖. ทุติยผลสูตร

๗. ปฐมรุกขสูตร

๘. ทุติยรุกขสูตร

๙. ตติยรุกขสูตร

๑๐. จตุตถรุกขสูตรและอรรถกถา