พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สุทธิกสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ (เริ่มเล่ม 31)

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37911
อ่าน  403

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 1

อินทริยสังยุต

สุทธิกวรรคที่ ๑

๑. สุทธิกสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

เล่มที่ ๕ ภาคที่ ๒

อินทริยสังยุต

สุทธิกวรรคที่ ๑

๑. สุทธิกสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

[๘๔๓] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบสุทธิกสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 2

อินทริยสังยุตตวรรณนา

สุทธิกวรรคที่ ๑

อรรถกถาสุทธิกสูตร

อินทริยสังยุต สุทธิกสูตรที่ ๑.

อินทรีย์ ๓ อย่างนี้ คือ สัทธินทรีย์ สตินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมได้ ทั้งในกุศลและวิบากที่เป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งในกิริยา.

วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ย่อมได้ในจิตทุกดวงคือ ในกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๔ ในอกุศลวิบาก ในกิริยา.

พึงทราบว่า พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสด้วยอำนาจการกำหนดธรรม ที่รวมเข้าไว้ทั้งสี่ภูมิ.

จบอรรถกถาสุทธิกสูตรที่ ๑