พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ปฐมสังขิตตสูตร ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37922
อ่าน  391

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 17

๒. ปฐมสังขิตตสูตร

ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 17

๒. ปฐมสังขิตตสูตร

ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ

[๘๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรี ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.

จบปฐมสังขิตตสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 18

อรรถกถาปฐมสังขิตตสูตร

ปฐมสังขิตตสูตรที่ ๒.

คำว่า ตโต คือ พึงทราบความคละปนกันด้วยอำนาจวิปัสสนา มรรค และผล.

จริงอยู่ ปัญญินทรีย์ ที่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นวิปัสสนินทรีย์ของอรหัตตมรรค.

คำว่า ตโต มุทุตเรหิ คือ ที่อ่อนกว่าวิปัสสนินทรีย์ของอรหัตตมรรคเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นวิปัสสนินทรีย์ของอนาคามิมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของสกทาคามิมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นวิปัสสนินทรีย์ของโสดาปัตติมรรค. อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของธัมมานุสาริมรรค ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นวิปัสสนินทรีย์ของสัทธานุสาริมรรค.

ปัญญินทรีย์ที่สมบูรณ์เต็มที่อย่างนั้น ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ของอรหัตตมรรคและอรหัตตผล. ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ของอนาคามิมรรค สกทาคามิมรรคและโสดาปัตติมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของธัมมานุสาริมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ของสัทธานุสาริมรรค.

อินทรีย์ทั้งห้า ที่สมบูรณ์เต็มที่ ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ของอรหัตตผล. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของอนาคามิผล. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของสกทาคามิผล. ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ของโสดาปัตติผล.

ส่วนธัมมานุสารีและสัทธานุสารี แม้ทั้งสอง ก็คือบุคคลผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค ด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้ดำรงอยู่ในมรรคแล้ว จะทราบความแตกต่างของบุคคลทั้งสองนั้นไม่ได้ เพราะด้วยการบรรลุบ้าง ด้วยมรรคบ้าง สัทธานุสารีบุคคล ที่กำลังให้เรียนอุเทศ สอบถามอยู่ ย่อมจะบรรลุมรรคโดยลำดับ.

ธัมมานุสารีบุคคล ย่อมบรรลุมรรคด้วยการฟังเพียงครั้งเดียว หรือสองครั้งเท่านั้น พึงเข้าใจความแตกต่างในการบรรลุของธัมมานุสารีบุคคลและสัทธานุ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 19

สารีบุคคลเหล่านั้น อย่างนี้ก่อน.

สำหรับของธัมมานุสารีบุคคล มรรคเป็นของกล้าแข็ง ย่อมนำไปสู่ญาณที่แกล้วกล้า ย่อมตัดกิเลส ด้วยไม่ต้องมีใครมากระตุ้น ไม่ต้องใช้ความเพียร เหมือนใช้คมดาบที่คมกริบ ตัดต้นกล้วยฉะนั้น.

ส่วนมรรคของสัทธานุสารีบุคคลไม่กล้าแข็งเหมือนธัมมานุสารีบุคคล ไม่นำไปสู่ญาณที่แกล้วกล้า ย่อมตัดกิเลสโดยต้องมีคนมากระตุ้น ไม่ต้องใช้ความเพียร เหมือนใช้ดาบที่ทื่อตัดต้นกล้วยฉะนั้น.

แต่ในเรื่องการสิ้นกิเลสแล้ว ท่านเหล่านั้นไม่มีความแตกต่างกันเลย. และเหล่ากิเลสที่เหลือ ก็ย่อมจะสิ้นไป (เหมือนกัน).

จบอรรถกถาปฐมสังขิตตสูตร