พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สุทธกสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37941
อ่าน  363

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 44

สุขินทริยวรรคที่ ๔

๑. สุทธกสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 44

สุขินทริยวรรคที่ ๔

๑. สุทธกสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

[๙๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สุขินทรีย์ ๑ ทุกขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ อุเบกขินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบสุทธกสูตรที่ ๑

สุขินทริยวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาสุทธกสูตร

สุขินทริยวรรคที่ ๔ สุทธกสูตรที่ ๑.

ความเป็นสุขและเป็นอินทรีย์เพราะอรรถว่าใหญ่ กล่าวคือ เป็นอธิบดีแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สุขินทรีย์.

แม้ในทุกขินทรีย์เป็นต้นก็นัยนี้แหละ.

และในอินทรีย์เหล่านั้น สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ และโทมนัสสินทรีย์เป็นกามาวจรอย่างเดียว อรูปาวจร (๑) รูปาวจร เว้นโสมนัสสินทรีย์ที่เหลือ เป็นไปในสามภูมิ.

อุเปกขินทรีย์เป็นไปในสี่ภูมิ.

จบอรรถกถาสุทธกสูตรที่ ๑


(๑) อรูปาวจรฌานและรูปาวจรฌาน (เฉพาะจตุตถฌาน) ไม่ประกอบด้วย โสมนัสสินทรีย์. รูปาวจรฌานที่เหลือ ประกอบด้วยโสมนัสสินทรีย์.