พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ปฐมวิภังคสูตร ว่าด้วยการจําแนกอินทรีย์ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37946
อ่าน  405

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 48

๖. ปฐมวิภังคสูตร

ว่าด้วยการจําแนกอินทรีย์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 48

๖. ปฐมวิภังคสูตร

ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ ๕

[๙๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สุขินทรีย์... อุเบกขินทรีย์.

[๙๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย เวทนาอันเป็นสุขสำราญเกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า สุขินทรีย์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 49

[๙๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.

[๙๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ เวทนาอันเป็นสุขสำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์.

[๙๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.

[๙๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขินทรีย์เป็นไฉน เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า อุเบกขินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบปฐมวิภังคสูตรที่ ๖

อรรถกถาปฐมวิภังคสูตร

ปฐมวิภังคสูตรที่ ๖.

คำว่า กายิกํ ทางกาย ได้แก่ สุขที่มีกายประสาทเป็นที่ตั้ง นี้เป็นคำแสดงสรุปของสุขนั้น ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า สาตะ (ความสำราญ) ก็เป็นคำใช้แทนคำว่าสุขนั้นเอง. มีอธิบายว่าอร่อย.

คำว่า กายสมฺผสฺสชํ เกิดแต่กายสัมผัส ก็มีทำนองที่กล่าวแล้วว่า ความสุข ความสำราญที่เกิดจากกายสัมผัส.

คำว่า เวทยิตํ นี้เป็นคำแสดงสภาวะที่วิเศษของธรรมข้ออื่นจากเวทนาที่ทั่วไปทั้งหมดของสุขนั้น.

แม้ในข้อที่เหลือทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 50

ก็พึงทราบใจความตามนี้.

ส่วนในคำว่า ทางกาย หรือทางใจ นี้ ท่านกล่าวว่าทางกายด้วยอำนาจการเกิดขึ้น เพราะทำกายประสาททั้ง ๔ มีตาเป็นต้นให้เป็นที่ตั้ง.

ส่วนที่ชื่อว่าอทุกขมสุขที่มีกายประสาทเป็นที่ตั้ง ไม่มี.

จบอรรถกถาปฐมวิภังคสูตรที่ ๖