พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ตติยวิภังคสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ ย่นเข้าเป็น ๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37948
อ่าน  349

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 51

๘. ตติยวิภังคสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ ย่นเข้าเป็น ๓


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 51

๘. ตติยวิภังคสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ ย่นเข้าเป็น ๓

[๙๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สุขินทรีย์... อุเบกขินทรีย์.

[๙๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน ความสุขทางกาย... นี้เรียกว่า สุขินทรีย์.

[๙๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์ทางกาย... นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.

[๙๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความสุขทางใจ... นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์.

[๙๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์ทางใจ... นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 52

[๙๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขินทรีย์เป็นไฉน เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า อุเบกขินทรีย์.

[๙๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา.

[๙๔๗] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา.

[๙๔๘] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเบกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นอทุกขมสุขเวทนา อินทรีย์มี ๕ ประการนี้ เป็น ๕ แล้วย่นเข้าเป็น ๓ เป็น ๓ แล้วขยายออกเป็น ๕ ก็ได้ โดยปริยายด้วยประการดังนี้แล.

จบตติยวิภังคสูตรที่ ๘