พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. อรหันตสูตร อินทรีย์ ๕ อาศัยผัสสะเกิดเวทนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37949
อ่าน  374

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 52

๙. อรหันตสูตร

อินทรีย์ ๕ อาศัยผัสสะเกิดเวทนา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 52

๙. อรหันตสูตร

อินทรีย์ ๕ อาศัยผัสสะเกิดเวทนา

[๙๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการนี้เป็นไฉน คือ สุขินทรีย์... อุเบกขินทรีย์.

[๙๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายกาย ก็รู้ชัดว่าสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ สุขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 53

[๙๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นไม่สบายกาย ก็รู้ชัดว่าเราไม่สบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ทุกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

[๙๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายใจ ก็รู้ชัดว่าเราสบายใจ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ โสมนัสสินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

[๙๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุไม่สบายใจ ก็รู้ชัดว่า เราไม่สบายใจ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ โทมนัสสินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

[๙๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้สืกเฉยๆ ก็รู้ชัดว่า เรารู้สึกเฉยๆ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ อุเบกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

[๙๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้ ๒ อันเสียดสีกันจึงเกิดความร้อน เกิดไฟขึ้น เพราะแยกไม้ ๒ อันนั่นเองให้ออกจากกันเสีย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 54

ความร้อนที่เกิดเพราะความเสียดสี ย่อมดับสงบไป ฉันใด สุขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายกาย ก็รู้ชัดว่า เราสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะ คือ สุขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ อุเบกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้สึกเฉยๆ ก็รู้ชัดว่า เรารู้สึกเฉยๆ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ อุเบกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบอรหันตสูตรที่ ๙

อรรถกถาอรหันตสูตร

อรหันตสูตรที่ ๙.

คำว่า ทฺวินฺนํ กฏฺานํ ได้แก่ แห่งไม้สีไฟ ๒ อัน.

คำว่า สํฆฏนสโมธานา ได้แก่ ด้วยการเสียดสีและด้วยการประชุมเข้าด้วยกัน.

คำว่า อุสมฺา คือ บ่อเกิดความอุ่น.

คำว่า เตโช คือควันไฟ.

และในคำว่า เตโช นี้ พึงเห็นว่า อารมณ์ที่เป็นไปเหมือนไม้สีไฟอันล่าง ผัสสะเหมือนไม้สีไฟอันบน การเสียดสีของผัสสะเหมือนความ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 55

ร้อนระอุ เวทนาเหมือนไฟ.

หรือพึงเห็นว่า อารมณ์ที่เป็นไป เหมือนไม้สีไฟอันบน ผัสสะเหมือนไม้สีไฟอันล่าง.

จบอรรถกถาอรหันตสูตรที่ ๙