๕. ปฐมปุพพารามสูตร ว่าด้วยปัญญินทรีย์เป็นใหญ่
[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 75
๕. ปฐมปุพพารามสูตร
ว่าด้วยปัญญินทรีย์เป็นใหญ่
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 75
๕. ปฐมปุพพารามสูตร
ว่าด้วยปัญญินทรีย์เป็นใหญ่
[๙๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ในปุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 76
ที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแบบอย่าง ฯลฯ
[๙๘๘] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ประการหนึ่ง อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี อินทรีย์อย่างหนึ่งเป็นไฉน คือปัญญินทรีย์.
[๙๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ อันไปตามปัญญาของพระอริยสาวกผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น.
[๙๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ประการหนึ่งนี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบปฐมปุพพารามสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 77
อรรถกถาปฐมปุพพารามสูตร
ปฐมปุพพารามสูตรที่ ๕.
คำว่า ตทนฺวยา คือ ไปตามปัญญานั้น หมายความว่า หมุนไปตาม (ปัญญานั้น).
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำส่วนเบื้องต้นให้เป็นต้นแล้ว ตรัสแต่อินทรีย์ในผลเท่านั้น ใน ๖ สูตรตามลำดับ.
จบอรรถกถาปฐมปุพพารามสูตรที่ ๕