พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37959
อ่าน  376

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 80

๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๓


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 80

๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๓

[๑๐๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี ก็สมัยนั้น ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ได้พยากรณ์อรหัตตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๑๐๐๔] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะพยากรณ์อรหัตตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๑๐๐๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเห็นอำนาจประโยชน์อะไรหนอ จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๑๐๐๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๓ ประการ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะ จึงพยากรณ์อรหัตตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๑๐๐๗] อินทรีย์ ๓ ประการเป็นไฉน คือ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 81

[๑๐๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะจึงพยากรณ์อรหัตตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๑๐๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๓ ประการนี้ มีอะไรเป็นที่สุด มีความสิ้นเป็นที่สุด มีความสิ้นแห่งอะไรเป็นที่สุด มีความสิ้นแห่งชาติ ชราและมรณะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะเห็นว่า ความสิ้นแห่งชาติ ชราและมรณะดังนี้แล จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบปิณโฑลภารทวาชสูตรที่ ๙