พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สัทธาสูตร ว่าด้วยศรัทธาของพระอริยสาวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37960
อ่าน  356

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 81

๑๐. สัทธาสูตร

ว่าด้วยศรัทธาของพระอริยสาวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 81

๑๐. สัทธาสูตร

ว่าด้วยศรัทธาของพระอริยสาวก

[๑๐๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคะชื่อ อาปณะ ในแคว้นอังคะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร อริยสาวกผู้ใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสยิ่งในพระตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัยในตถาคตหรือในศาสนาของตถาคต.

[๑๐๑๑] พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสยิ่งในพระตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 82

หรือสงสัยในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.

[๑๐๑๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็วิริยะของอริยสาวกนั้นเป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้.

[๑๐๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สติของอริยสาวกนั้นเป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต.

[๑๐๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิของอริยสาวกนั้นเป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าผู้มีอวิชชาเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืดคืออวิชชา นั้นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน.

[๑๐๑๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้นเป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นแลพยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 83

ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้วนั่นเอง เหตุนั้น บัดนี้ เราถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.

[๑๐๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ศรัทธาของสาวกเป็นสัทธินทรีย์ดังนี้แล.

[๑๐๑๗] พ. ดีละๆ สารีบุตร อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัยในพระตถาคตหรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.

[๑๐๑๘] ดูก่อนสารีบุตร ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้.

[๑๐๑๙] ดูก่อนสารีบุตร ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ซึ่งทำความสละอารมณ์แล้ว จักได้สมาธิ จักได้เอกัคคตาจิต.

[๑๐๒๐] ดูก่อนสารีบุตร ก็สมาธิของอริยสาวกนั้นเป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ ที่จิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้น ที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับด้วยการ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 84

สำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืดคืออวิชชา นั่นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน.

[๑๐๒๑] ดูก่อนสารีบุตร ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นแลพยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ ว่าธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้วนั่นเอง เหตุนั้น บัดนี้ เราถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.

[๑๐๒๒] ดูก่อนสารีบุตร สิ่งใดเป็นศรัทธาของอริยสาวกนั้น สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ของอริยสาวกนั้น ดังนี้แล.

จบสัทธาสูตรที่ ๑๐

จบชราวรรคที่ ๕

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 85

อรรถกถาสัทธาสูตร

สัทธาสูตรที่ ๑๐.

คำว่า อิเม โข เต ธมฺมา ได้แก่ มรรค ๓ เบื้องบนที่พร้อมกับวิปัสสนา.

คำว่า ธรรมเหล่าใดที่ข้าพเจ้าฟังมาก่อนแล้วเทียว ได้แก่ ธรรมเหล่าใด ของพวกท่านที่กำลังกล่าวอยู่ว่า อินทรีย์แห่งอรหัตตผล มีอยู่ทีเดียว เป็นธรรมที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาก่อนแล้ว.

คำว่า และถูกต้องด้วยกาย คือ และถูกต้อง คือได้เฉพาะด้วยนามกาย.

คำว่า และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา คือ และเห็นแจ้งแทงตลอดอย่างยิ่งด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา.

คำว่า พระเจ้าข้า ก็ศรัทธาอันใดของเขา คือ ศรัทธาอันไหนนี้ คือ ศรัทธาที่ประกอบด้วยอินทรีย์ทั้ง ๔ อย่างที่ตรัสไว้ในหนหลังแล้ว.

ก็แหละ ศรัทธา เป็นศรัทธาสำหรับพิจารณา จริงอยู่ สัมปยุตตศรัทธา เป็นศรัทธาที่เจือกัน. ปัจจเวกขณศรัทธาเป็นโลกิยะอย่างเดียว.

คำที่เหลือทุกบท ตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสัทธาสูตรที่ ๑๐

จบชราวรรควรรณนาที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ชราสูตร

๒. อุณณาภพราหมณสูตร

๓. สาเกตสูตร

๔. ปุพพโกฏฐกสูตร

๕. ปฐมปุพพารามสูตร

๖. ทุติยปุพพารามสูตร

๗. ตติยปุพพารามสูตร

๘. จตุตถปุพพารามสูตร

๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร

๑๐. สัทธาสูตร และอรรถกถา