พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. โกสลสูตร ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37961
อ่าน  350

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 86

สูกรขาตวรรคที่ ๖

๑. โกสลสูตร

ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 86

สูกรขาตวรรคที่ ๖

๑. โกสลสูตร

ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม

[๑๐๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โกสลพราหมณคาม ในแคว้นโกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า

[๑๐๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่าเป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรมทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ วิริยินทรีย์... สตินทรีย์... สมาธินทรีย์... ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.

[๑๐๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่าเป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรมทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบโกสลสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 87

สูกรขาตวรรควรรณนาที่ ๖

อรรถกถาโกสลสูตร

สูกรขาตวรรคที่ ๖ โกสลสูตรที่ ๑.

คำว่า ด้วยความกล้า คือ ด้วยความเป็นผู้กล้าหาญ.

คำว่า เพื่อความรู้ คือ ประโยชน์แก่ความรู้.

จบอรรถกถาโกสลสูตรที่ ๑