พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สัมมัปปธานสังยุต ว่าด้วยสัมมัปปธาน ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37981
อ่าน  402

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 109

สัมมัปปธานสังยุต

ว่าด้วยสัมมัปปธาน ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 109

สัมมัปปธานสังยุต

ว่าด้วยสัมมัปปธาน ๔

[๑๐๙๐] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้. สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้แล.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 110

[๑๐๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

ปาจีนนินนสูตร ๖ สูตร สมุททนินนสูตร ๖ สูตร ๒ อย่างเหล่านั้น อย่างละ ๖ สูตร รวมเป็น ๑๒ สูตร เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าวรรค (พึงขยายความคังคาเปยยาลแห่งสัมมัปปธานสังยุต ด้วยสามารถสัมมัปปธาน).

จบวรรคที่ ๑

๑. ตถาคตสูตร

๒. ปทสูตร

๓. กูฏสูตร

๔. มูลสูตร

๕. สารสูตร

๖. วัสสิกสูตร

๗. ราชสูตร

๘. จันทิมสูตร

๙. สุริยสูตร

๑๐. วัตถสูตร

(พึงขยายความอัปปมาทวรรคทั้ง ๑๐ สูตรด้วยสามารถสัมมัปปธาน)

จบวรรคที่ ๒

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 111

[๑๐๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้อย่างนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล (พึงขยายความพลกรณียวรรคด้วยสามารถสัมมัปปธานอย่างนี้)

จบวรรคที่ ๓

[๑๐๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๑๐๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความละซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 112

ให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๑๐๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้ สังโยชน์เป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล.

[๑๐๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อสิ้นความไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

(พึงขยายความออกไป เหมือนเอสนาวรรค)

จบสัมมัปปธานสังยุต

แม้ในสัมมัปปธานสังยุตทั้งสิ้น พระองค์ก็ตรัสแต่วิปัสสนาที่เป็นส่วนเบื้องต้นทั้งนั้นแล.