พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อปารสูตร ว่าด้วยอิทธิบาท ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ต.ค. 2564
หมายเลข  37983
อ่าน  389

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 116

อิทธิบาทสังยุต

ปาวาลวรรคที่ ๑

๑. อปารสูตร

ว่าด้วยอิทธิบาท ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 116

อิทธิปาทสังยุต

ปาวาลวรรคที่ ๑

๑. อปารสูตร

ว่าด้วยอิทธิบาท ๔

[๑๑๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง. อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง.

จบอปารสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 117

อรรถกถาอิทธิปาทสังยุต

ปาวาลวรรควรรณนาที่ ๑ (๑)

อรรถกถาอปารสูตร

อิทธิปาทสังยุต อปารสูตรที่ ๑.

สมาธิที่อาศัยฉันทะเป็นไป ชื่อว่า ฉันทสมาธิ พวกสังขารที่เป็นประธาน ชื่อว่า ปธานสังขาร.

คำว่า สมนฺนาคตํ คือ เข้าถึงด้วยธรรมเหล่านั้น.

ชื่อว่า อิทธิบาท เพราะเป็นบาทของฤทธิ์ หรือบาทที่เป็นฤทธิ์.

แม้ในพวกคำที่เหลือก็ทำนองนี้แหละ. นี้เป็นความสังเขปในอิทธิปาทสังยุตนี้.

ส่วนความพิสดารมาเสร็จแล้วในอิทธิปาทวิภังค์ ส่วนใจความของอิทธิปาทสังยุตนั้น ท่านก็ได้แสดงไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

ในมรรคสังยุต โพชฌงคสังยุต สติปัฏฐานสังยุต และอิทธิปาทสังยุตนี้ ก็อย่างนั้น คือเป็นปริจเฉทอย่างเดียวกันโดยแท้.

จบอรรถกถาอปารสูตรที่ ๑


(๑) พม่า จาปาลวรรค