พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ตัณหักขยสูตร เจริญสติปัฏฐานเพื่อความสิ้นตัณหา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 ต.ค. 2564
หมายเลข  38023
อ่าน  336

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 197

๗. ตัณหักขยสูตร

เจริญสติปัฏฐานเพื่อความสิ้นตัณหา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 197

๗. ตัณหักขยสูตร

เจริญสติปัฏฐานเพื่อความสิ้นตัณหา

[๑๒๗๘] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา.

จบตัณหักขยสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฐมกัณฏกีสูตรที่ ๔ เป็นต้น

ปฐมกัณฏกีสูตรที่ ๔.

คำว่า ณ กัณฏกีวัน คือ ในป่าขนุนใหญ่.

ตติยกัณฏกีสูตรที่ ๖.

ท่านแสดงธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ของพระเถระด้วยคำว่า โลกพันหนึ่ง นี้.

จริงอยู่ พระเถระล้างหน้าแต่เช้าตรู่แล้ว ก็มาระลึกถึงพันกัปในอดีตและอนาคต. แต่ในปัจจุบัน มาสู่คลองแห่งการคำนึงหนึ่งมีจำนวนหนึ่งหมื่นจักรวาล.

ตัณหักขยสูตรที่ ๗ เนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปฐมกัณฏกีสูตรที่ ๔ เป็นต้น