พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. อัมพปาลิสูตร ว่าด้วยวิหารธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 ต.ค. 2564
หมายเลข  38025
อ่าน  367

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 200

๙. อัมพปาลิสูตร

ว่าด้วยวิหารธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 200

๙. อัมพปาลิสูตร

ว่าด้วยวิหารธรรม

[๑๒๘๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะและท่านพระสารีบุตร อยู่ใน อัมพปาลีวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะ อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวหน้าของท่านบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ในเวลานี้ ท่านอนุรุทธะอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อไหนมาก.

[๑๒๘๒] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เวลานี้ผมมีจิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ มาก สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ผมย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เวลานี้ผมมีจิตตั้งมั่นอยู่ในวิหารธรรมเหล่านี้เป็นอันมากอยู่ ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นมีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อยู่มาก.

ส. เป็นลาภของเราแล้ว เราได้ดีแล้ว ที่ได้ฟังอาสภิวาจาในที่เฉพาะหน้าท่านพระอนุรุทธะผู้กล่าว.

จบอัมพปาลิสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 201

อรรถกถาอัมพปาลิสูตร

อัมพปาลิสูตรที่ ๙.

คำว่า อาสภิวาจา หมายถึง วาจาสูงสุดที่ส่องถึงความเป็นพระอรหันต์ของตน.

คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีใจความตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอัมพปาลิสูตรที่ ๙

จบรโหคตวรรควรรณนาที่ ๑