พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. คิลานสูตร จิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ทุกขเวทนาไม่ครอบงํา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 ต.ค. 2564
หมายเลข  38026
อ่าน  424

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 201

๑๐. คิลานสูตร

จิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ทุกขเวทนาไม่ครอบงํา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 201

๑๐. คิลานสูตร (๑)

จิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ทุกขเวทนาไม่ครอบงำ

[๑๒๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในป่าอันธวัน ใกล้พระนครสาวัตถี อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อไหน ทุกขเวทนาในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต.

[๑๒๘๔] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เรามีจิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ทุกขเวทนาในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส


(๑) คิลานสูตรที่ ๑๐ ไม่มีอรรถกถาแก้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 202

ในโลกเสียได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรามีจิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ทุกขเวทนาในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต.

จบคิลานสูตรที่ ๑๐

จบรโหคตวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมรโหคตสูตร

๒. ทุติยรโหคตสูตร

๓. สุตนุสูตร

๔. ปฐมกัณฏกีสูตร

๕. ทุติยกัณฏกีสูตร

๖. ตติยกัณฏกีสูตร

๗. ตัณหักขยสูตร

๘. สลฬาคารสูตร

๙. อัมพปาลิสูตร

๑๐. คิลานสูตร และอรรถกถา