๖. ถปติสูตร ว่าด้วยช่างไม้นามว่าอิสิทัตตะ
[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 281
๖. ถปติสูตร
ว่าด้วยช่างไม้นามว่าอิสิทัตตะ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 281
๖. ถปติสูตร
ว่าด้วยช่างไม้นามว่าอิสิทัตตะ
[๑๔๓๔] สาวัตถีนิทาน ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกไปโดยล่วงสามเดือน
[๑๔๓๕] ก็สมัยนั้น พวกช่างไม้ผู้เป็นพระสกทาคามีมาก่อนนามว่า อิสิทัตตะ อยู่อาศัยในหมู่บ้านส่วยด้วยกรณียกิจบางอย่าง พวกเขาได้ฟังข่าวว่า ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีจีวรสำเร็จแล้ว จะเสด็จจาริกไปโดยล่วงสามเดือน จึงวางบุรุษไว้ในหนทางโดยสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาในเวลาใด พึงบอกพวกเราในเวลานั้น บุรุษนั้นอยู่มาได้ ๒ - ๓ วัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาพวกช่างไม้แล้วได้บอกว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังเสด็จมา ขอท่านทั้งหลายจงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด.
[๑๔๓๖] ครั้งนั้น พวกช่างไม้ผู้เป็นพระสกทาคามีมาก่อนนามว่า อิสิทัตตะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปข้างพระปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแวะจากหนทางเสด็จเข้าไปยังโคนไม้แห่งหนึ่ง แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย พวกช่างไม้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 282
[๑๔๓๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากกรุงสาวัตถีไปในโกศลชนบท เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจัก เสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จจาริกจากกรุงสาวัตถีไปในโกศลชนบทแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จห่างจากเราไปแล้ว.
[๑๔๓๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากโกศลชนบทไปยังแคว้นมัลละ เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จจาริกจากโกศลชนบทไปแคว้นมัลละแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จห่างเราทั้งหลายไปแล้ว.
[๑๔๓๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นมัลละไปยังแคว้นวัชชี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จจาริกจากแคว้นมัลละไปยังแคว้นวัชชีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จห่างเราทั้งหลายไปแล้ว.
[๑๔๔๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีไปยังแคว้นกาสี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 283
จาริกจากแคว้นวัชชีไปยังแคว้นกาสีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จห่างเราทั้งหลายไปแล้ว.
[๑๔๔๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นกาสีไปในแคว้นมคธ เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จจาริกจากแคว้นกาสีไปในแคว้นมคธแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจเป็นอันมากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จห่างเราทั้งหลายไปแล้ว.
[๑๔๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นมคธมายังแคว้นกาสี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จจาริกจากแคว้นมคธมายังแคว้นกาสีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าใกล้เราทั้งหลายเข้ามาแล้ว.
[๑๔๔๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจากแคว้นกาสีมายังแคว้นวัชชี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จจาริกจากแคว้นกาสีมายังแคว้นวัชชีแล้ว เวลานั้นข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าใกล้เราทั้งหลายเข้ามาแล้ว.
[๑๔๔๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีมายังแคว้นมัลละ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 284
เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีมายังแคว้นมัลละแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าใกล้เราทั้งหลายเข้ามาแล้ว.
[๑๔๔๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นมัลละมายังแคว้นโกศล เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จจาริกจากแคว้นมัลละมายังแคว้นโกศลแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าใกล้เราทั้งหลายเข้ามาแล้ว.
[๑๔๔๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นโกศลมายังกรุงสาวัตถี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจเป็นอันมากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าใกล้เราทั้งหลายแล้ว.
[๑๔๔๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนช่างไม้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง ท่านทั้งหลายควรไม่ประมาท.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 285
[๑๔๔๘] ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความคับแคบอย่างอื่นที่เป็นความคับแคบกว่า และที่นับว่าเป็นความคับแคบยิ่งกว่าความคับแคบนี้มีอยู่หรือหนอ.
พ. ดูก่อนช่างไม้ทั้งหลาย ก็ความคับแคบอย่างอื่นที่เป็นความคับแคบกว่าและที่นับว่าเป็นความคับแคบยิ่งกว่าความคับแคบนี้เป็นไฉน.
[๑๔๔๙] ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อใด พระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระราชประสงค์จะเสด็จออกไปยังพระราชอุทยาน เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายต้องกำหนดช้างที่ขึ้นทรงของพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้วให้พระชายาซึ่งเป็นที่โปรดปราน เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระเจ้าปเสนทิโกศลประทับข้างหน้าพระองค์หนึ่ง ข้างหลังพระองค์หนึ่ง กลิ่นของพระชายาเหล่านั้นเป็นอย่างนี้ คือ เหมือนกลิ่นของนางราชกัญญาผู้ประพรมด้วยของหอมดังขวดน้ำหอมที่เขาเปิดในขณะนั้น กายสัมผัสของพระชายาเหล่านั้นเป็นอย่างนี้ คือ เหมือนกายสัมผัสของนางราชกัญญาผู้ดำรงอยู่ด้วยความสุข ดังปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย ก็ในสมัยนั้น แม้ช้างข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง แม้พระชายาทั้งหลายข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง แม้พระเจ้าปเสนทิโกศลเล่า ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง.
[๑๔๕๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่รู้สึกว่า จิตอันลามกบังเกิดขึ้นในพระชายาเหล่านั้นเลย ข้อนี้แล คือความคับแคบอย่างอื่นที่เป็นความคับแคบกว่า และที่นับว่าเป็นความคับแคบยิ่งกว่าความคับแคบนี้.
[๑๔๕๑] พ. ดูก่อนช่างไม้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ ฆราวาสจึงคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง ก็ท่านทั้งหลายควรไม่ประมาท.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 286
[๑๔๕๒] ดูก่อนช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน ดูก่อนช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
[๑๔๕๓] ดูก่อนช่างไม้ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ก็ไทยธรรมสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีอยู่ในตระกูล ท่านทั้งหลายเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมด กับผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เหมือนว่าพวกมนุษย์ในแคว้นโกศลมีเท่าไร ท่านทั้งหลายก็เฉลี่ยแบ่งปันให้เท่าๆ กัน.
ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบพฤติการณ์อย่างนี้ของข้าพระองค์ทั้งหลาย.
จบถปติสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 287
อรรถกถาถปติสูตร
พึงทราบอธิบายในถปติสูตรที่ ๖.
บทว่า อยู่อาศัยในหมู่บ้านส่วย ความว่า อยู่ในบ้านส่วยของตน.
บรรดาช่างไม้เหล่านั้น ช่างไม้ชื่อว่า อิสิทัตตะ เป็นพระโสดาบันพระสกทาคามีมาก่อน เป็นผู้สันโดษในกาลทุกเมื่อ.
บทว่า วางบุรุษไว้ในหนทาง ความว่า ทราบว่า ทางเป็นที่เสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยประตูบ้านของพวกช่างไม้เหล่านั้น เพราะฉะนั้น พวกช่างไม้นั้น จึงวางบุรุษไว้กลางหนทาง ด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพวกเราหลับแล้ว หรือประมาทแล้วในเวลา พึงเสด็จไป ครั้งนั้นพวกเราพึงได้เฝ้า.
บทว่า เดินตามแล้ว ความว่า ติดตามไปข้างพระปฤษฎางค์ๆ แต่ไม่ไกล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จโดยทางพระบาทในท่ามกลางทางเกวียน. พวกช่างไม้นอกนี้ ได้ติดตามไปทั้งสองข้าง.
บทว่า ทรงแวะจากหนทาง ความว่า การทำปฏิสันถารแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เสด็จไปกับใครๆ ก็ควร การทำปฏิสันถารของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ประทับยืนกับใครๆ ผู้ประทับนั่งตลอดวันกับใครๆ ก็ควร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริแล้วว่า การทำปฏิสันถารของพระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปกับคนพวกนี้ไม่ควรแล้ว การทำปฏิสันถารของพระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปกับคนผู้ยืนอยู่ไม่ควรแล้ว เพราะว่าชนเหล่านี้ เป็นเจ้าของศาสนาของเรามีผลอันถึงแล้ว (เป็นพระสกทาคามี) เราจักนั่งทำปฏิสันถารตลอดทั้งวันกับคนพวกนี้ ดังนี้แล้ว จึงทรงแวะลงจากหนทาง เสด็จเข้าไปหาทางทิศที่มีโคนไม้อยู่.
บทว่า ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย ความว่า ถามว่าพวกช่างไม้ได้ให้ถือเอาร่ม รองเท้า ไม้เท้า น้ำมันทาเท้า
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 288
น้ำปานะ ๘ อย่าง และบัลลังก์มีขาเหมือนเท้าสัตว์ไปแล้วหรือหนอ. ตอบว่า ให้ปูบัลลังก์ที่เขานำมาถวายแล้ว. พระศาสดาประทับนั่งบนบัลลังก์นั้น.
บทว่า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ความว่า พวกช่างไม้กล่าวแล้วว่า พวกท่านจงถวายของที่เหลือมีร่มและรองเท้าเป็นต้น แก่ภิกษุสงฆ์. แม้ตนเองก็ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
คำทั้งหมดเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จจาริกจากกรุงสาวัตถีไปในโกศลชนบท พวกช่างไม้มีอิสิทัตตะเป็นต้นกราบทูลแล้ว ด้วยอำนาจมัชฌิมประเทศนั่นเอง.
เพราะเหตุไร จึงกำหนด เพราะว่า การเที่ยวจาริกไปก็ดี การยังอรุณให้ตั้งขึ้นก็ดี ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พวกช่างไม้กล่าวแล้วด้วยอำนาจมัชฌิมประเทศ เพราะคำนั้นกำหนดแน่นอน ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมเสด็จจาริกไปในมัชฌิมประเทศนั่นเทียว พระองค์ย่อมให้อรุณตั้งขึ้นในมัชฌิมประเทศ.
ในบทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักใกล้เราทั้งหลาย ความว่า พวกช่างไม้นั้นมีความยินดี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ใกล้นั่นเทียว อย่างเดียวหามิได้ ที่แท้แล พวกเขามีความดีใจว่า บัดนี้เราจักได้ถวายทาน ทำการบูชาด้วยของหอมและระเบียบเป็นต้น (และ) ถามปัญหา.
บทว่า คฤหบดีทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ฆราวาสคับแคบ ความว่า คฤหบดีทั้งหลาย เมื่อเราอยู่ไกล พวกท่านย่อมมีความเสียใจไม่น้อย เมื่อเราอยู่ใกล้ ก็ย่อมมีความดีใจไม่น้อย เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น พึงทราบคำนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ.
ก็เพราะโทษของฆราวาส พวกท่านจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ก็ถ้าเราละฆราวาสแล้วบวช.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงเนื้อความนี้ แก่ช่างไม้ชื่อว่าอิสิทัตตะนั้น จึงตรัสอย่างนี้ว่า เมื่อพวกท่านไปและมากับเราอย่างนี้ เหตุนั้นจึงไม่มี.
พึงทราบความที่การอยู่ครองเรือนนั้นคับแคบ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 289
เพราะอรรถว่า มีกิเลสเครื่องกังวล และมีความห่วงใยในคำนั้น.
ก็ฆราวาสของผู้ที่อยู่ในที่อยู่อาศัยใหญ่ ชื่อว่าคับแคบ เพราะอรรถว่า มีกิเลสชาติเครื่องให้กังวล และมีความห่วงใย.
บทว่า เป็นทางมาแห่งธุลี ความว่า เป็นทางมาแห่งธุลี คือ ราคะ โทสะ และโมหะ อธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่การมา.
บทว่า บรรพชาปลอดโปร่ง ความว่า บรรพชา ชื่อว่า ปลอดโปร่ง เพราะอรรถว่า ไม่มีกิเลสชาติเครื่องกังวล และไม่มีความห่วงใย.
ก็บรรพชาของภิกษุสองรูปผู้นั่งคู้บัลลังก์ในห้องแม้ ๔ ศอก ชื่อว่า ปลอดโปร่ง เพราะอรรถว่า ไม่มีกิเลสชาติเครื่องกังวล และไม่มีความห่วงใย.
บทว่า คฤหบดีทั้งหลาย ก็ท่านทั้งหลายควรไม่ประมาท ความว่า การที่พวกท่านอยู่เป็นฆราวาสที่คับแคบแล้วอย่างนี้ ควรทำความไม่ประมาทเทียว.
บทว่า พวกข้าพระองค์ จะให้พระชายาซึ่งเป็นที่โปรดปราน นั่งข้างหน้าพระองค์หนึ่ง ข้างหลังพระองค์หนึ่ง ความว่า ได้ยินว่า ชนแม้ทั้งสองเหล่านั้น ให้หญิงเหล่านั้นที่ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ประทับนั่งบนช้างสองเชือกเหล่านั้นอย่างนี้ ยืนช้างของพระราชาไว้ตรงกลาง แล้วไปในข้างทั้งสอง เพราะฉะนั้น พวกช่างไม้นั้นจึงกล่าวแล้วอย่างนี้.
บทว่า แม้ช้าง ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง ความว่า ช้างย่อมไม่ทำอะไรๆ ให้เป็นอันเสพผิดแล้วฉันใด เป็นอันพึงรักษาไว้ฉันนั้น.
บทว่า พระชายา แม้เหล่านั้น ความว่า พระชายาเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงความประมาทโดยประการใด ย่อมเป็นอันพึงรักษาโดยประการนั้น.
บทว่า แม้ตน ความว่า แม้ตนอันบุคคลผู้ไม่ทำกิริยามีการแย้ม การร่าเริง การกล่าว และการชำเลืองเป็นต้น ชื่อว่า เป็นอัน
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 290
พึงรักษาตน แม้บุคคลกระทำอยู่อย่างนั้น เป็นอันพึงข่มว่า นาย เจ้านี่ประทุษร้าย.
คฤหบดีทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระราชาย่อมมอบให้พวกท่านรับของหลวงเป็นนิจ เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น ฆราวาสคับแคบ ชื่อว่า เป็นทางมาแห่งธุลี.
ก็ภิกษุถือผ้าบังสุกุล เมื่อให้รับอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น บรรพชา ชื่อว่า ปลอดโปร่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า แม้บรรพชาก็เป็นอย่างนี้ คฤหบดีทั้งหลาย ก็ท่านทั้งหลายควรไม่ประมาท คือทำความไม่ประมาทนั่นแล.
บทว่า มีจาคะอันปล่อยแล้ว ความว่า มีจาคะอันสละแล้ว.
บทว่า มีฝ่ามืออันชุ่ม ความว่า มีมืออันล้างแล้ว เพื่อประโยชน์แก่การให้แก่ผู้ที่มาแล้วทั้งหลาย.
บทว่า ยินดีในการสละ ความว่า ผู้ยินดีแล้วในการสละ กล่าวคือการสละลง.
บทว่า ควรแก่การขอ คือ ผู้ควรที่บุคคลพึงขอ.
บทว่า ยินดีในการจำแนกทาน ความว่า ผู้ยินดีแล้วในการจำแนกวัตถุไรๆ แม้มีประมาณน้อย ในทานนั่นเทียวที่ได้แล้วนั้น.
บทว่า เฉลี่ยแบ่งปันให้เท่าๆ กัน ความว่า ของทั้งปวงที่ไม่ทำการแบ่งอย่างนี้ว่า นี้จักเป็นของพวกเรา นี้จักเป็นของพวกภิกษุ เป็นของอันพวกเธอพึงให้ตั้งอยู่แล้ว.
จบอรรถกถาถปติสูตรที่ ๖