พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร ว่าด้วยธรรมปริยาย ชื่อ ธรรมาทาส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 ต.ค. 2564
หมายเลข  38078
อ่าน  419

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 302

๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร

ว่าด้วยธรรมปริยาย ชื่อ ธรรมาทาส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 302

๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร

ว่าด้วยธรรมปริยาย ชื่อ ธรรมาทาส

[๑๔๗๖] (ข้อความเบื้องต้นเหมือนคิญชกาวสถสูตรที่ ๑) ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อกกุฏะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง กระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร... อุบาสกชื่อกฬิภะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง... อุบาสกชื่อทนิกัทธะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง... อุบาสกชื่อกฏิสสหะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง... อุบาสกชื่อตุฏฐะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง... อุบสกชื่อสันตุฏฐะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 303

ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง... อุบาสกชื่อภัททะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง... อุบาสกชื่อสุภัททะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง กระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร.

[๑๔๗๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ อุบาสกชื่อกกุฏะ กระทำกาละแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้นมีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป อุบาสกชื่อกฬิภะ... ชื่อทนิกัทธะ... ชื่อกฏิสสหะ... ชื่อตุฏฐะ... ชื่อสันตุฏฐะ... ชื่อภัททะ... ชื่อสุภัททะ กระทำกาละแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป.

[๑๔๗๘] ดูก่อนอานนท์ อุบาสกทั้งหลายในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เกินกว่า ๕๐ คน กระทำกาละแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป อุบาสกทั้งหลายในหมู่บ้านแห่งหนึ่งเกินกว่า ๙๐ คน กระทำกาละแล้ว เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียว แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ อุบาสกทั้งหลายในหมู่บ้านแห่งหนึ่งจำนวน ๕๐๖ คน กระทำกาละแล้ว เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๔๗๙] ดูก่อนอานนท์ ข้อที่บุคคลเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว พึงกระทำกาละ มิใช่เป็นของน่าอัศจรรย์ ถ้าเมื่อผู้นั้นๆ กระทำกาละแล้ว เธอ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 304

ทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วสอบถามเนื้อความนั้น ข้อนี้เป็นความลำบากของตถาคต เพราะฉะนั้นแหละ เราจักแสดงธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๔๘๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ธรรมปริยาย ชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว... เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้แล คือ ธรรมปริยาย ชื่อ ธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จบตติยคิญชกาวสถสูตรที่ ๑๐

จบเวฬุทวารวรรคที่ ๑

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 305

อรรถกถาตติยคิญชกาวสถสูตร

พึงทราบอธิบายในตติยคิญชกาวสถสูตรที่ ๑๐

บทว่า เกินกว่า ๕๐ ได้แก่ มากกว่า ๕๐ คน.

บทว่า เกินกว่า ๙๐ คน ได้แก่ มากกว่า ๙๐ คน.

บทว่า ฉาติเรกานิ ได้แก่ จำนวน ๖ คน.

ทราบมาว่า หมู่บ้านนั้น ไม่ได้ใหญ่ยิ่งก็จริง ถึงกระนั้น ในหมู่บ้านนั้นก็ยังมีอริยสาวกมาก ในหมู่บ้านนั้น สัตว์ ๒,๔๐๐,๐๐๐ ตายคราวเดียวกัน ด้วยอหิวาตกโรค. ในคนเหล่านั้น อริยสาวกได้มีประมาณเท่านี้.

คำที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นนั่นเทียวแล.

จบอรรถกถาตติยคิญชกาวสถสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาเวฬุทวารวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในรรรคนี้ คือ

๑. ราชสูตร

๒. โอคธสูตร

๓. ทีฆาวุสูตร

๔. ปฐมสาริปุตตสูตร

๕. ทุติยสาริปุตตสูตร

๖. ถปติสูตร

๗. เวฬุทวารสูตร

๘. ปฐมคิญชกาวสถสูตร

๙. ทุติยคิญชกาวสถสูตร

๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร และอรรถกถา.