พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ปฐมสรกานิสูตร ผู้ถึงสรณคมน์ไม่ไปสู่วินิบาต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 ต.ค. 2564
หมายเลข  38092
อ่าน  343

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 334

๔. ปฐมสรกานิสูตร

ผู้ถึงสรณคมน์ไม่ไปสู่วินิบาต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 334

๔. ปฐมสรกานิสูตร

ผู้ถึงสรณคมน์ไม่ไปสู่วินิบาต

[๑๕๒๗] กบิลพัสดุ์นิทาน. ก็สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่าสรกานิสิ้นพระชนม์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมากด้วยกันมาร่วมประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า น่าอัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ในที่นี้ ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่านว่าเป็นพระโสดาบัน... เจ้าสรกานิศากยะถึงความเป็นผู้ทุรพลด้วยสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์.

[๑๕๒๘] ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่านว่าเป็นพระโสดาบัน... ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมากด้วยกันมาประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า น่าอัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ในที่นี้ ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่านว่าเป็นพระโสดาบัน... เจ้าสรกานิศากยะถึงความเป็นผู้ทุรพลด้วยสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 335

[๑๕๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน อย่างไรจะพึงไปสู่วินิบาต ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวอุบาสกนั้นว่า อุบาสกผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวเจ้าสรกานิศากยะว่า เจ้าสรกานิศากยะเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดกาลนาน อย่างไรจะพึงไปสู่วินิบาต.

[๑๕๓๐] ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... มีปัญญา ร่าเริง เฉียบแหลม และประกอบด้วยวิมุตติ เขาย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๓๑] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... มีปัญญา ร่าเริง เฉียบแหลม แต่ไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เขาเกิดเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๓๒] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป (และ) เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง เขาได้เป็นพระ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 336

สกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น จะกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก... อบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๓๓] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เขาได้เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก... อบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๓๔] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุตติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมทนซึ่งการเพ่งด้วยปัญญาของเขา (ยิ่ง) กว่าประมาณ บุคคลแม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๓๕] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุตติ แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธา มีความรักในพระตถาคตพอประมาณ บุคคลแม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก... อบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๓๖] ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าแม้ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้พึงรู้ทั่วถึงสุภาษิต ทุพภาษิตไซร้ อาตมภาพก็พึงพยากรณ์ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ว่า เป็น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 337

พระโสดาบัน... จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า จะป่วยกล่าวไปไยถึงเจ้าสรกานิศากยะ เจ้าสรกานิศากยะสมาทานสิกขาในเวลาสิ้นพระชนม์ ขอถวายพระพร.

จบปฐมสรกานิสูตร ๔

อรรถกถาปฐมสรกานิสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมสรกานิสูตรที่ ๔.

คำว่า อิธ มหานาม เอกจฺโจ ปุคฺคโล ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเพื่อจะทรงแสดงว่า เจ้าศากยะชื่อว่า สรกานิ นั่นแหละ พ้นจากอบายอย่างเดียวหามิได้ แม้คนเหล่านี้ก็พ้นแล้ว.

บทว่า ย่อมทนซึ่งการเพ่งด้วยปัญญา (ยิ่ง) กว่าประมาณ ความว่า ย่อมทนซึ่งการตรวจดูโดยประมาณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบุคคลผู้ดำรงอยู่ในมรรค ชื่อว่า ธัมมานุสารี ด้วยบทนี้.

บทว่า ไม่ไปสู่นรก ความว่า ก็การกล่าวว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ในมรรคเป็นผู้พ้นแล้ว หรือว่าจักพ้นจากอบาย ดังนี้ ก็ควร.

ก็บุคคลย่อมพ้นโดยรอบ เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น ขึ้นชื่อว่าบุคคลไปแล้ว ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ไปแล้ว อธิบาย ย่อมไม่ไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบุคคลผู้ดำรงอยู่ในมรรค ชื่อว่า สัทธานุสารี ผู้มีศรัทธาพอประมาณ มีความรักพอประมาณ ด้วยบทนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงต้นไม้มีแก่นใหญ่ ๔ ต้น ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน จึงตรัสในบทว่า มหาสาลา ดังนี้.

ในคำว่า เจ้าสรกานิ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 338

ศากยะสมาทานสิกขาในเวลาจะสิ้นพระชนม์ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ได้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาสามในเวลาจะสิ้นพระชนม์.

จบอรรถกถาปฐมสรกานิสูตรที่ ๔