พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ปฐมทุสีลยสูตร จําแนกโสดาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 ต.ค. 2564
หมายเลข  38094
อ่าน  364

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 342

๖. ปฐมทุสีลยสูตร

จําแนกโสดาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 342

๖. ปฐมทุสีลยสูตร

จำแนกโสดาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐

[๑๕๔๘] สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ครั้นแล้วจงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่าง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 343

นี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และท่านสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.

[๑๕๔๙] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏแลหรือ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอดทนไม่ได้ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ.

[๑๕๕๐] สา. ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 344

[๑๕๕๑] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๕๒] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๕๓] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีลเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเป็นผู้ทุศีลเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อท่านเห็นศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๕๔] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาทิฏฐิเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาทิฏฐิ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาทิฏฐินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 345

[๑๕๕๕] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสังกัปปะ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสังกัปปะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสังกัปปะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสังกัปปะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๕๖] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวาจาเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวาจาเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวาจา ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวาจานั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๕๗] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉากัมมันตะเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉากัมมันตะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมากัมมันตะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมากัมมันตะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๕๘] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาอาชีวะเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาอาชีวะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาอาชีวะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาอาชีวะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๕๙] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวายามะเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวายามะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวายามะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวายามะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๖๐] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสติเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 346

มิจฉาสติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสติ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๖๑] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสมาธิ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสมาธิเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสมาธิ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสมาธินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๖๒] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาญาณะ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาญาณะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาญาณะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาญาณะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๖๓] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวิมุตติ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวิมุตติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวิมุตติ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวิมุตตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๖๔] ครั้งนั้น เวทนาของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีสงบระงับแล้วโดยพลัน ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีอังคาสท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ด้วยอาหารที่เขาจัดมาเฉพาะตน ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเสร็จนำมือออกจากบาตรแล้ว จึงถือเอาอาสนะต่ำอันหนึ่ง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ท่านพระสารีบุตรอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้

[๑๕๖๕] ผู้ใดมีศรัทธา ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในพระตถาคต มีศีลอันงามที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใส

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 347

ในพระสงฆ์ และมีความเห็นอันตรง บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของผู้นั้น ไม่เปล่าประโยชน์. เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบตามซึ่งศรัทธา ศีล ความเลื่อมใสและความเห็นธรรม.

[๑๕๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรครั้นอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป.

[๑๕๖๗] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอมาจากไหนแต่ยังวัน ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนอนาถบิณฑิกคฤหบดีด้วยโอวาทข้อนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ สารีบุตรเป็นบัณฑิต สารีบุตรมีปัญญามาก ได้จำแนกโสดาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง.

จบปฐมทุสีลยสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 348

อรรถกถาปฐมทุสีลยสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมทุสีลยสูตรที่ ๖.

คำว่า เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน ได้แก่ เวทนาพึงระงับในขณะ.

คำว่า ด้วยมิจฉาญาณะ ได้แก่ ด้วยการพิจารณาที่ผิด.

คำว่า ด้วยมิจฉาวิมุตติ ได้แก่ ด้วยการหลุดพ้นที่ไม่นำออกจากทุกข์.

คำว่า ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ท่านได้กล่าวไว้ในคาถาแล้วทีเดียว.

คำว่า ยตฺร หิ นาม เท่ากับ โย นาม.

จบอรรถกถาปฐมทุสีลยสูตรที่ ๖