๑๐. ลิจฉวีสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน
[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 355
๑๐. ลิจฉวีสูตร
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 355
๑๐. ลิจฉวีสูตร
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน
[๑๕๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวี ชื่อ นันทกะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะมหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวีชื่อ นันทกะ ว่า
[๑๕๘๑] ดูก่อนนันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่ตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนนันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
[๑๕๘๒] ดูก่อนนันทกะ ก็แลอริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยอายุทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 356
เป็นผู้ประกอบด้วยวรรณะทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยสุขทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยยศทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นใหญ่ทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ดูก่อนนันทกะ ก็เราได้ฟังแต่สมณะหรือพราหมณ์อื่น จึงกล่าวเรื่องนั้น หามิได้ ความจริง เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง จึงกล่าวเรื่องนั้น.
[๑๕๘๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว บุรุษคนหนึ่งได้กล่าวกะมหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวีชื่อ นันทกะ ว่า ถึงเวลาอาบน้ำแล้ว ท่านผู้เจริญ นันทกะมหาอำมาตย์กล่าวว่า ดูก่อนพนาย บัดนี้ยังไม่ต้องการอาบน้ำภายนอก ต้องการจักอาบน้ำภายใน คือ ความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า.
จบลิจฉวีสูตรที่ ๑๐
จบสรกานิวรรคที่ ๓
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมมหานามสูตร
๒. ทุติยมหานามสูตร
๓. โคธาสูตร
๔. ปฐมสรกานิสูตร
๕. ทุติยสรกานิสูตร
๖. ปฐมทุสีลยสูตร
๗. ทุติยทุสีลยสูตร
๘. ปฐมเวรภยสูตร
๙. ทุติยเวรภยสูตร
๑๐. ลิจฉวีสูตร และอรรถกถา.