พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. กาฬิโคธาสูตร องค์คุณของพระโสดาบัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 ต.ค. 2564
หมายเลข  38107
อ่าน  381

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 367

๙. กาฬิโคธาสูตร

องค์คุณของพระโสดาบัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 367

๙. กาฬิโคธาสูตร (๑)

องค์คุณของพระโสดาบัน

[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า

[๑๕๙๗] ดูก่อนพระนางโคธา อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน ดูก่อนพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด ที่พระองค์ทรงแสดงไว้ ธรรมเหล่านั้น


(๑) สูตรที่ ๙ ไม่มีอรรถกถาแก้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 368

มีอยู่ในหม่อมฉัน และหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.

พ. ดูก่อนพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผล ท่านพยากรณ์แล้ว.

จบกาฬิโคธาสูตรที่ ๙