พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๓. นิพเพธิกปัญญสูตร เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญาชําแรกกิเลส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 ต.ค. 2564
หมายเลข  38142
อ่าน  392

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 402

๑๓. นิพเพธิกปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญาชําแรกกิเลส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 402

๑๓. นิพเพธิกปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญาชำแรกกิเลส

[๑๖๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ การคบสัตบุรุษ ๑ การฟังสัทธรรม ๑ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องชำแรกกิเลส.

จบนิพเพธิกปัญญสูตรที่ ๑๓

จบมหาปัญญวรรคที่ ๗

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 403

มหาปัญญวรรควรรณนาที่ ๗

พึงทราบอธิบายในมหาปัญญวรรคที่ ๗.

พึงทราบเนื้อความในทุกบท ตามนัยที่กล่าวในปฏิสัมภิทาโดยนัยเป็นต้นว่า ชื่อว่าผู้มีปัญญามาก เพราะอรรถว่า กำหนดเอาในเนื้อความมาก ในบทเป็นต้นว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ดังนี้นั่นเทียว.

คำที่เหลือในทุกๆ บทตื้นทั้งนั้นแล.

จบมหาปัญญวรรควรรณนาที่ ๗

จบโสตาปัตติสังยุตที่ ๑๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มหาปัญญสูตร

๒. ปุถุปัญญสูตร

๓. วิปุลลปัญญสูตร

๔. คัมภีรปัญญสูตร

๕. อัปปมัตตปัญญสูตร

๖. ภูริปัญญสูตร

๗. พาหุลปัญญสูตร

๘. สีฆปัญญสูตร

๙. ลหุปัญญสูตร

๑๐. หาสปัญญสูตร

๑๑.ชวนปัญญสูตร

๑๒. ติกขปัญญสูตร

๑๓. นิพเพธิกปัญญสูตร.