พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สมาธิสูตร ผู้มีใจตั้งมั่นย่อมรู้ตามความเป็นจริง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  13 ต.ค. 2564
หมายเลข  38143
อ่าน  369

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 404

สัจจสังยุต

สมาธิวรรคที่ ๑

๑. สมาธิสูตร

ผู้มีใจตั้งมั่นย่อมรู้ตามความเป็นจริง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 404

สัจจสังยุต

สมาธิวรรคที่ ๑

๑. สมาธิสูตร

ผู้มีใจตั้งมั่นย่อมรู้ตามความเป็นจริง

[๑๖๕๔] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความเป็นจริง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบสมาธิสูตรที่ ๑

สัจจสังยุตตวรรณนา

สมาธิสูตร

พึงทราบอธิบายในสมาธิสูตรที่ ๑ แห่งอรรถกถาสัจจสังยุต.

คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... สมาธิ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นย่อมเสื่อมจากเอกัคคตาจิต (สมาธิ) ลำดับนั้น พระศาสดาทรง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 405

ปรารภเทศนานี้ แก่ภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้ความที่จิตมีอารมณ์เลิศเป็นหนึ่งอย่างนี้ เจริญกรรมฐานแล้ว ก็จักบรรลุคุณวิเศษได้.

พึงทราบการตัดเหตุ ด้วยอำนาจเหตุตามที่เป็นจริง เป็นต้น ในบทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงทำความเพียรว่า นี้ทุกข์.

ก็มีคำอธิบายที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ทั่วสัจจะ ๔ ตามความเป็นจริง เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายมีจิตตั้งมั่น พึงทำความเพียรว่า นี้ทุกข์ ดังนี้ เพื่อต้องการรู้สัจจะ ๔ ตามความเป็นจริง.

สัจจะ ๔ ย่อมเป็นธรรมชาติปรากฏแจ่มแจ้งแก่พระตถาคตเจ้านั่นเทียว พระตถาคตเจ้าทรงจำแนกไว้ดีแล้ว ในสัจจะ ๔ เหล่านั้น การกล่าวสรรเสริญไม่มีประมาณ บทและพยัญชนะไม่มีประมาณ และวัฏฏะย่อมเจริญ เพราะสัจจะ ๔ เหล่านั้น อันเธอทั้งหลายมิได้แทงตลอด จำเดิมแต่กาลแทงตลอดสัจจะ ๔ เหล่านั้น วัฏฏะก็ไม่เจริญ เหตุใด เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรว่า นี้ทุกข์ ดังนี้ ด้วยความหวังว่า วัฏฏะจักไม่เจริญอย่างนี้.

จบอรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๑