พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทุติยวัชชีสูตร ว่าด้วยการรู้ชัดและไม่รู้ชัดอริยสัจ ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 ต.ค. 2564
หมายเลข  38167
อ่าน  349

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 439

๒. ทุติยวัชชีสูตร

ว่าด้วยการรู้ชัดและไม่รู้ชัดอริยสัจ ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 439

๒. ทุติยวัชชีสูตร

ว่าด้วยการรู้ชัดและไม่รู้ชัดอริยสัจ ๔

[๑๗๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นไม่นับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ และท่านเหล่านั้นยังไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 440

[๑๗๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น นับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ และนับว่าเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ และท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้งแล้วซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๑๗๐๒] ชนเหล่าใดย่อมไม่รู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ โดยประการทั้งปวงไม่มีเหลือ และไม่รู้ชัดซึ่งทางให้ถึงความสงบทุกข์ ชนเหล่านั้นเสื่อมแล้วจากเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ไม่ควรเพื่อกระทำที่สุดทุกข์ เข้าถึงชาติและชราโดยแท้.

ส่วนชนเหล่าใด ย่อมรู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ โดยประการทั้งปวงไม่มีเหลือ และรู้ชัดซึ่งทางให้ถึงความสงบทุกข์ ชนเหล่านั้นถึงพร้อมแล้วด้วยเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ควรเพื่อกระทำที่สุดทุกข์ ไม่เข้าถึงชาติและชรา.

จบทุติยวัชชีสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 441

อรรถกถาทุติยวัชชีสูตรที่ ๒

พึงทราบอธิบายใน ทุติยวัชชีสูตรที่ ๒.

คำว่า เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ เป็นชื่อแห่งผลสมาบัติและผลปัญญา.

จบอรรถกถาทุติยวัชชีสูตรที่ ๒