พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. โลกสูตร พระตถาคตเป็นอริยะในโลกทั้งปวง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 ต.ค. 2564
หมายเลข  38173
อ่าน  322

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 445

๘. โลกสูตร

พระตถาคตเป็นอริยะในโลกทั้งปวง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 445

๘. โลกสูตร

พระตถาคตเป็นอริยะในโลกทั้งปวง

[๑๗๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตถาคตเป็นอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบโลกสูตรที่ ๘

อรรถกถาโลกสูตร

พึงทราบอธิบายในโลกสูตรที่ ๘.

คำว่า ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานิ ความว่า อริยสัจทั้งหลายนั้น ชื่อว่า เป็นของพระอริยะ.

เพราะพระตถาคตผู้พระอริยะ ทรงแทงตลอดและแสดงแล้ว เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อริยสัจ เพราะเป็นความจริงของพระอริยะ.

จบอรรถกถาโลกสูตรที่ ๘