พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ควัมปติสูตร ผู้เห็นทุกข์ ชื่อว่า เห็นในสมุทัย นิโรธมรรค

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 ต.ค. 2564
หมายเลข  38175
อ่าน  359

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 446

๑๐. ควัมปติสูตร

ผู้เห็นทุกข์ ชื่อว่า เห็นในสมุทัย นิโรธมรรค


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 446

๑๐. ควัมปติสูตร

ผู้เห็นทุกข์ ชื่อว่า เห็นในสมุทัย นิโรธมรรค

[๑๗๑๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากรูปอยู่ ณ เมืองสหชนิยะ แคว้นเจดีย์ ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระมากรูปกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต นั่งประชุมกันในโรงกลม เกิดสนทนากันขึ้นในระหว่างประชุมว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดหนอแลย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 447

[๑๗๑๑] เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระควัมปติเถระ ได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ฟังมา ได้รับมาในที่เฉพาะพระพักตร์ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้ใดย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้ใดย่อมเห็นทุกขสมุทัย ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้ใดย่อมเห็นทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้ใดย่อมเห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ.

จบควัมปติสูตรที่ ๑๐

จบโกฏิคามวรรคที่ ๓

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 448

อรรถกถาควัมปติสูตร

พึงทราบอธิบายในควัมปติสูตรที่ ๑๐.

คำว่า สหชนิยะ ได้แก่ ในพระนครที่มีชื่อว่า สหชนิยะ.

คำเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยอำนาจการแทงตลอดอย่างเดียว.

ก็ในพระสูตรนี้ ได้ตรัสการแทงตลอดอย่างเดียวเท่านั้นแล.

จบอรรถกถาควัมปติสูตรที่ ๑๐

จบโกฏิคามวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมวัชชีสูตร

๒. ทุติยวัชชีสูตร

๓. สัมมาสัมพุทธสูตร

๔. อรหันตสูตร

๕. อาสวักขยสูตร

๖. มิตตสูตร

๗. ตถสูตร

๘. โลกสูตร

๙. ปริญเญยยสูตร

๑๐. ควัมปติสูตร และอรรถกถา