พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ปริฬาหสูตร ว่าด้วยความเร่าร้อน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ต.ค. 2564
หมายเลข  38190
อ่าน  322

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 467

๓. ปริฬาหสูตร

ว่าด้วยความเร่าร้อน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 467

๓. ปริฬาหสูตร

ว่าด้วยความเร่าร้อน

[๑๗๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นรกชื่อว่ามีความเร่าร้อนมาก มีอยู่ในนรกนั้น บุคคลยังเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยนัยน์ตาได้ (แต่) เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนา เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่ เห็นรูปที่ไม่น่าชอบใจอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าชอบใจ ได้ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยหูได้... ได้สูดกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจมูกได้... ได้ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยลิ้นได้... ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายได้... ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยใจได้ (แต่) รู้แจ้งรูปที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่รู้แจ้งรูปที่น่าปรารถนา รู้แจ้งรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่รู้แจ้งรูปที่น่าใคร่ รู้แจ้งรูปที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่รู้แจ้งรูปที่น่าพอใจ.

[๑๗๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเร่าร้อนมาก ความเร่าร้อนมากแท้ๆ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้มีอยู่หรือ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้มีอยู่.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้ เป็นไฉน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 468

[๑๗๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ยินดีแล้ว ย่อมปรุงแต่ง ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมเร่าร้อน ด้วยความเร่าร้อนเพราะความเกิดบ้าง ความแก่บ้าง ความตายบ้าง ความเศร้าโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจบ้าง เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่พ้นไปจากความเกิด... ความคับแค้นใจ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์.

[๑๗๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่ง ครั้นไม่ปรุงแต่งแล้ว ย่อมไม่เร่าร้อน ด้วยความเร่าร้อนเพราะความเกิด... และความคับแค้นใจ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมพ้นจากความเกิด... ความคับแค้นใจ ย่อมพ้นจากทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบปริฬาหสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 469

อรรถกถาปริฬาหสูตร

พึงทราบอธิบายในปริฬาหสูตรที่ ๓.

คำว่า รูปที่ไม่น่าปรารถนา ได้แก่ สภาวะที่ไม่น่าปรารถนา.

จบอรรถกถาปริฬาหสูตรที่ ๓