พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖ ว่าด้วยเหตุให้จิตเศร้าหมองและผุดผ่องเป็นต้น

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 106

อัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖

ว่าด้วยเหตุให้จิตเศร้าหมองและผุดผ่องเป็นต้น

[๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มีได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้น ตามความเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มีได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิต.

[๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า พระอริยสาวก ผู้ได้สดับย่อมมีการอบรมจิต.

[๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุซ่องเสพเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิต นั้นให้มากเล่า.

[๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉัน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 107

บิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิต นั้นให้มากเล่า.

[๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุใส่ใจเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า.

[๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนอกุศล ที่เป็นไปในฝักฝ่ายอกุศลทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมเกิดหลังเทียว.

[๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนบุคคล ที่เป็นไปในฝักฝ่ายกุศลทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมเกิดหลังเทียว.

[๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไปเหมือนความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลประมาทแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไปเหมือนความไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 108

เมื่อบุคคลไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไปเหมือนความเป็นผู้เกียจคร้าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเกียจคร้านแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

จบ อัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 109

อรรถกถาอัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๖ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ตํ อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ความว่า ปุถุชน เว้นแล้วจาก การศึกษาภวังคจิตนั้น. ในบทว่า ตํ อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน นั้น ชื่อว่า ไม่ได้ศึกษาไญยธรรม เพราะไม่มีอาคมนิกาย ที่จะเรียนและอธิคม มรรคผลที่จะบรรลุ. จริงอยู่บุคคลใดสอบสวนพระสูตรนี้ โดยเนื้อความตั้งแต่ต้น ยังไม่รู้ด้วยอำนาจนิกาย คือคัมภีร์ที่มาของสูตรนี้ โดยเนื้อความตั้งแต่ต้น ยังไม่รู้ด้วยอำนาจนิกาย คือคัมภีร์ที่มาของสูตรนี้ และด้วยอำนาจมรรคผล อันผู้ปฏิบัติพึงบรรลุ ชื่อว่า ภวังคจิตนี้ แม้บริสุทธิ์ตามปกติก็เศร้าหมอง เพราะอุปกิเลสมีโลภะ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ในขณะแห่งชวนจิต. อนึ่งผู้ใดไม่มีนิกายเป็นที่มา อันจะขบธรรมให้เข้าใจตามความเป็นจริง เพราะเว้นการเรียนสละการสอบถามในขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจยาการ และสติปัฏฐาน เป็นต้น และไม่มีอธิคม เพราะไม่ได้บรรลุมรรคผล ที่จะพึงบรรลุด้วยการปฏิบัติ ผู้นั้นชื่อว่า ไม่ศึกษาไญยธรรม เพราะไม่มีอาคม และอธิคม.

ปุถูนํ ชนนาทีหิ การเณหิ ปุถุชฺชโน

ปุถุชฺชนนฺโตคธตฺตา ปุถุ วายํ ชโน อิติ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 110

ชนนี้ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลาย มีทำกิเลสเป็นอันมากให้เกิด เป็นต้น หรือชื่อว่า ปุถุชน เพราะหยั่งลงภายในแห่งชนผู้มีกิเลสหนา.

จริงอยู่ ชนนั้นชื่อว่า ปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลายมีการทำให้เกิดกิเลส มีประการต่างๆ เป็นอันมาก เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า ปุถุชน เพราะทำให้เกิดกิเลสเป็นอันมาก. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะมีสักกายทิฏฐิอันยังไม่ละเว้นเป็นอันมาก. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะปรุงแต่งด้วยอภิสังขารต่างๆ มาก. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะถูกโอฆะกิเลสดุจห้วงน้ำต่างๆ เป็นอันมากพัดพาไป. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเดือดร้อนด้วยเครื่องเดือดร้อนเป็นอันมาก. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะยินดี กำหนัด ละโมภ สยบ หมกมุ่น ติดข้อง พัวพัน ในกามคุณทั้ง ๕ มาก. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะถูกนิวรณ์ ๕ ครอบคลุม คล้องปิดกั้น กำบังไว้มาก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน เพราะหยั่งลงภายในแห่งชนผู้มีกิเลสหนา เป็นไปล่วงการนับผู้หันหลังให้อริยธรรม ผู้ประพฤติธรรมที่ต่ำ ดังนี้ก็มี. ก็ปุถุชนนี้ นับว่าเป็นคนละพวกกันทีเดียว. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับพระอริยเจ้า ผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลและสุตะ เป็นต้น. ด้วยสองบทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ดังพรรณนามาอย่างนี้ ท่านกล่าว ปุถุชนเหล่าใดไว้ ๒ จำพวกว่า

ทุเว ปุถุชฺชนา วุตฺตา พุทฺเธนาทิจฺจพนฺธุนา

อนฺโธ ปุถุชฺชนโน เอโก กลิยาณโก ปุถุชฺชโน.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 111

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพระอาทิตย์ ตรัสปุถุชนไว้ ๒ พวก คือ อันธปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑.

บรรดาปุถุชนที่กล่าวไว้แล้วทั้ง ๒ จำพวกนั้น อันธปุถุชน พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวไว้แล้ว. บทว่า ยถาภูตํ นปฺปชานาติ ความว่า ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า ภวังคจิตนี้ ชื่อว่า เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสทั้งหลาย อันจรมาอย่างนี้ ชื่อว่า หลุดพ้น แล้วอย่างนี้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ไม่รู้. บทว่า จิตฺตภาวนา นตฺถิ ได้แก่ ความตั้งมั่นแห่งจิต การกำหนดจิตไม่มี. ด้วยภาวะที่ไม่มีนั่นแล ทรงแสดงว่า เรากล่าวว่าไม่มีดังนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สุตวา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยการศึกษา. ก็ในบทว่า สุตวา นี้ เมื่อว่าโดยพิสดาร พึงทราบความโดยตรงกันข้ามกับ บทว่า อสฺสุตวา.

บทว่า อริยสาวโก ได้แก่ พระอริยะที่ไม่เป็นพระสาวกก็มี เช่น พระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า. พระสาวกที่ไม่เป็นพระอริยะก็มี เช่น คฤหัสถ์ผู้ยังไม่บรรลุผล. ไม่เป็นทั้งพระอริยะ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 112

ไม่เป็นทั้งพระสาวกก็มี เช่นพวกเดียรถีย์เป็นอันมาก. เป็นทั้งพระอริยะ. เป็นทั้งพระสาวกก็มี เช่นพระสมณะศากยบุตร ผู้บรรลุผลรู้แจ้งคำสั่งสอนแล้ว. แต่ในที่นี้จะเป็นคฤหัสถ์ หรือบรรพชิตก็ตามคนใดคนหนึ่ง ผู้สมบูรณ์ด้วยการศึกษา ด้วยอำนาจแห่งเนื้อความที่กล่าวไว้แล้ว พึงทราบว่า ผู้นี้เป็นพระอริยสาวก ในบทว่า สุตวา นี้.

บทว่า ยถาภูตํ ปชานาติ พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ภวังคจิตนี้ หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลาย อันจรมาด้วยอาการอย่างนี้ เศร้าหมองแล้วด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า จิตฺตภาวนา อตฺถิ ความว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต ความกำหนดจิตมีอยู่ ด้วยภาวะที่จิตมีอยู่นั่นเอง ทรงแสดงว่ามีอยู่. ในสูตรนี้ ท่านกล่าวถึงวิปัสสนาที่แก่กล้า. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เป็นวิปัสสนาที่ยังอ่อนกำลัง.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๓

สูตรที่ ๓ กล่าวไว้แล้วในเหตุเกิดเรื่อง. กล่าวไว้ในเหตุเกิด เรื่องไหน? ในเหตุเกิดเรื่อง อัคคิขันโธปมสูตร.

ได้ยินว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า อาศัยประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงอาศัยอยู่ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ก็มิได้ทรงละกิจ ๕ อย่างเลย

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 113

ชื่อว่า พุทธกิจ ๕ อย่าง คือ ปุเรภัตตกิจ ๑ ปัจฉาภัตตกิจ ๑ ปุริมยามกิจ ๑ มัชฌิมยามกิจ ๑ ปัจฉิมยามกิจ ๑

ในพุทธกิจ ๕ นั้น ปุเรภัตตกิจ กิจก่อนเสวยอาหารมีดังต่อไปนี้ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลุกขึ้นแต่เช้า ทรงการทำปริกรรมพระสรีระ มีล้างพระพักตร์ เป็นต้น เพื่ออนุเคราะห์อุปัฏฐาก และเพื่อความผาสุกแห่งพระสรีระ ทรงยับยั้งอยู่เหนืออาสนะอันสงัด จนถึงเวลาภิกขาจาร พอได้เวลาภิกขาจาร ก็ทรงนุ่งอันตรวาสก ทรงคาดประคดเอว ห่มจีวร ถือบาตร บางครั้งก็พระองค์เดียว บางครั้งก็แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน หรือนิคม. บางคราวเสด็จเข้าไปตามปกติ บางคราวเสด็จไปด้วย ปาฏิหาริย์เป็นอันมาก. คือเมื่อพระโลกนาถเสด็จเที่ยวบิณฑบาต ลมอ่อนๆ ก็พัดไปข้างหน้าเป่าแผ่นดินให้สะอาด เมฆหลั่งเมล็ดฝน ดับฝุ่นละอองบนหนทาง กางกั้นเป็นเพดานอยู่เบื้องบน. ลมอีกพวกหนึ่ง ก็นำดอกไม้เข้าไปโปรยลงบนหนทาง ภูมิประเทศที่ดอนก็ยุบลง. ภูมิประเทศที่ลุ่มก็หนุนตัวขึ้น เวลาที่ทรงย่างพระบาท ภูมิภาคย่อมมีพื้นราบเรียบ หรือดอกปทุมมีสัมผัสอันอ่อนละมุน คอยรับพระบาท. เมื่อพอทรงวางพระบาทเบื้องขวา ไว้ในภายในเสาเขื่อน. ฉัพพัณณรังสี พระรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ เปล่งออกจาก พระสรีระพวยพุ่งไปรอบด้าน กระทำปราสาทและเรือนยอด เป็นต้น ให้เป็นดุจสีเหลืองเหมือนทองคำ และให้เป็นดุจแวดวงด้วยผ้าอันวิจิตร. สัตว์ทั้งหลายมีช้าง ม้า และนก เป็นต้น ที่อยู่ในที่ของตนๆ ก็เปล่งเสียงไพเราะ. ดนตรีมีกลอง และบัณเฑาะว์ เป็นต้น กับ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 114

เครื่องอาภรณ์ที่สวมใส่อยู่ในกายของพวกมนุษย์ ก็เหมือนกัน คือ เปล่งเสียงไพเราะ ด้วยสัญญาณนั้น พวกมนุษย์ย่อมรู้ว่าวันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตในที่นี้. มนุษย์เหล่านั้นนุ่งห่มเรียบร้อย ถือเครื่องสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ออกจากเรือนดำเนินไปตามท้องถนน บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น โดยเคารพถวายบังคมแล้ว ทูลขอว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๑๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๒๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๑๐๐ รูป แล้วรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปูอาสนะน้อมถวายบิณฑบาตโดยเคารพ. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงตรวจดูสันดานของมนุษย์เหล่านั้นแล้ว ทรงแสดงธรรม. บางพวกจะตั้งอยู่ในสรณคมน์ บางพวกจะตั้งอยู่ในศีล ๕ บางพวกจะตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล และอนาคามิผล อย่างใดอย่างหนึ่ง บางพวกจะบวช แล้วดำรงอยู่ในพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ ด้วยประการใด ก็ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วยประการนั้น เสด็จลุกจากอาสนะ เสด็จกลับไปพระวิหาร. เสด็จไปที่พระวิหารนั้นแล้ว ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาตกแต่งไว้ ณ ศาลากลมประกอบด้วยของหอม. ในเวลาเสร็จภัตตกิจของภิกษุทั้งหลาย อุปัฏฐากก็จะกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ทรงทราบ. ต่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงจะเสด็จเข้าพระคันธกุฏี ปุเรภัตตกิจ กิจก่อนเสวยอาหาร มีเท่านี้ก่อน.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำกิจก่อนเสวยอาหาร อย่างนี้แล้ว ก็ประทับนั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฏี ทรงล้างพระบาท

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 115

ทรงโอวาทภิกษุสงฆ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงยังกิจให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าหาได้ยาก กาลได้อัตตภาพเป็นมนุษย์หาได้ยาก การถึงพร้อมด้วยศรัทธาหาได้ยาก การบรรพชาหาได้ยาก การฟังธรรมหาได้ยากในโลก บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางรูปทูลถามกัมมัฏฐาน กะพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระองค์ก็ประทานกัมมัฏฐาน อันเหมาะแก่ความประพฤติของภิกษุเหล่านั้น แต่นั้นภิกษุแม้ทั้งหมด ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไปยังที่พักกลางคืน และที่พักกลางวันของตนๆ. บางพวกไปป่า บางพวกอยู่โคนไม้ บางพวกไปภูเขาเป็นต้น แห่งใดแห่งหนึ่ง บางพวกไปภพของท้าวจาตุมหาราช บางพวกไปภพของท้าววสวัตตี. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฏี ถ้าทรงจำนงก็ทรงมีสติสัมปชัญญะ บรรทมตะแคงขวาครู่หนึ่ง ครั้นมีพระวรกายกระปรี้กระเปร่า เสด็จลุกขึ้นตรวจดูสัตว์โลก ในภาคที่ ๒. ในภาคที่ ๓ มหาชนในคามหรือนิคม ที่พระองค์เสด็จเข้าไปอาศัยประทับอยู่ ถวายทานก่อนอาหาร ครั้นเวลาหลังอาหาร นุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว ถือเอาสักการะมีของหอม และดอกไม้เป็นต้น ประชุมกันในพระวิหาร. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป โดยปาฏิหาริย์อันเหมาะสม แก่บริษัทที่ประชุมกัน ประทับนั่งแสดงธรรม บนบวรพุทธอาสน์ ที่ตกแต่งไว้ในโรงธรรม ให้เหมาะแก่กาล เหมาะแก่สมัย. ครั้นถึงเวลาอันควรแล้ว จึงส่งบริษัทกลับไป. พวกมนุษย์ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วก็หลีกไป. ปัจฉาภัตตกิจ กิจภายหลังอาหาร มีดังกล่าวนี้.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 116

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทำปัจฉาภัตตกิจให้เสร็จ อย่างนั้นแล้ว ถ้าทรงประสงค์จะทรงสนานพระกาย ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์ เสด็จเข้าสู่ซุ้มสำหรับสรงสนาน ทรงรดพระกายด้วยน้ำ อันอุปัฏฐากจัดถวาย. แม้พระอุปัฏฐากก็นำเอาพุทธอาสน์มาลาดถวาย ในบริเวณพระคันธกุฏี พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งอันตรวาสก ๒ ชั้น ที่ย้อมดีแล้ว ทรงคาดประคดเอว ทรงครองอุตราสงค์แล้ว เสด็จมาประทับ ณ พุทธอาสน์นั้น ทรงเร้น อยู่ครู่หนึ่งลำพังพระองค์ ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายมาจากที่นั้น ไปยังที่เฝ้าพระศาสดา บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกถามปัญหา บางพวกขอกัมมัฏฐาน บางพวกของธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจัดให้สมประสงค์ของภิกษุเหล่านั้น ทรงยับยั้งแม้ตลอดยามต้น. ปุริมยามกิจ กิจในยามต้นมีดังกล่าวนี้.

เวลาเสร็จกิจในยามต้น เมื่อภิกษุทั้งหลาย ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว หลีกไป เทวดาทั่วหมื่นโลกธาตุ เมื่อได้โอกาสจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถามปัญหา ชั้นที่สุดแม้อักษร ๔ ตัวตามที่แต่งมา พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงวิสัชนาปัญหา แก่เทวดาเหล่านั้น ทรงยับยั้งอยู่ตลอดมัชฌิมยาม มัชฌิมยามกิจ กิจในมัชฌิมยาม มีดังกล่าวนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแบ่งปัจฉิมยามเป็น ๓ ส่วนแล้ว ทรงยับยั้งส่วนหนึ่งด้วยการเดินจงกรม เพื่อทรงปลดเปลื้องความเมื่อยพระวรกาย ที่ประทับนั่งมาก ตั้งแต่เวลาก่อนเสวยอาหาร ใน

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 117

ส่วนที่ ๒ เสด็จเข้าไปพระคันธกุฏี ทรงมีพระสติและสัมปชัญญะ บรรทมตะแคงข้างขวา ในส่วนที่ ๓ เสด็จลุกขึ้นประทับนั่ง ตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ เพื่อทอดพระเนตรบุคคลผู้ได้กระทำบุญญาธิการไว้ ด้วยทาน และศีลเป็นต้น ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในปางก่อน ปัจฉิมยามกิจ กิจในปัจฉิมยามมีดังกล่าวนี้.

วันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำรงอยู่ในกิจนี้นี่แหละ ทรงตรวจดูสัตว์โลก ก็ได้ทรงเห็นเหตุนี้ว่า เมื่อเราจาริกไปในมหาโกสลรัฐ แสดงสูตรหนึ่ง เปรียบเทียบด้วยกองเพลิง ภิกษุ ๖๐ รูป จักบรรลุพระอรหัต ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปจักรากเลือด ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปจักสึกเป็นคฤหัสถ์. บรรดาภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้จักบรรลุพระอรหัต ได้ฟังพระธรรมเทศนา อย่างใดอย่างหนึ่ง จักบรรลุได้ทีเดียว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะเสด็จจาริกไป เพื่อสงเคราะห์ภิกษุนอกจากนี้ จึงตรัสว่า อานนท์ เธอจงบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย.

พระเถระไปตามบริเวณแล้วกล่าวว่า ผู้มีอายุ พระศาสดา มีพระประสงค์จะเสด็จจาริก เพื่อเคราะห์มหาชน ผู้ประสงค์จะไปตามเสด็จ ก็จงพากันมาเถิด. ภิกษุทั้งหลาย มีใจยินดีเหมือนได้ลาภใหญ่ คิดว่าเราจักได้ชมพระสรีระ มีวรรณะเพียงดังทองคำ ได้ฟังธรรมกถาอันไพเราะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แสดงธรรมแก่มหาชน ผู้ที่มีผมขึ้นยาวก็ปลงผม มีบาตรถูกสนิมจับก็ระบมบาตร มีจีวรหมองก็ซักจีวร ต่างเตรียมจะตามเสด็จ. พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ที่กำหนดจำนวนไม่ได้ ออกจาริกไปยัง

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 118

โกศลรัฐ วันหนึ่งๆ เสด็จจาริกไป ๑ คาวุต ๒ คาวุต ๓ คาวุต และโยชน์หนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ตามลำดับแห่งคามและนิคม ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้ มีโพรงต้นใหญ่แห่งหนึ่ง ถูกไฟไหม้ลุกโพลง ทรงดำริว่า เราจะทำต้นไม้ นี้แล ให้เป็นวัตถุเหตุตั้งเรื่อง แสดงธรรมกถาประคับ ด้วยองค์ ๗ จึงงดการเสด็จ เสด็จเข้าไปยังโคนไม้ต้นหนึ่ง ทรงแสดงอาการจะประทับนั่ง. พระอานนทเถระทราบ พระประสงค์ของพระศาสดา คิดว่า ชรอยว่าจักมีเหตุแน่นอน พระตถาคตไม่เสด็จต่อไปแล้ว จะหยุดประทับนั่งเสียโดยเหตุอันไม่สมควรหามิได้ จึงปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น.

พระศาสดา ประทับนั่งแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่าภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูกองไฟใหญ่โน้น แล้วทรงแสดง อัคคิขันโธปมสูตร. ก็เมื่อตรัสไวยากรณ์นี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป รากเลือด. ภิกษุประมาณ ๖๐ ลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์. ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป มีจิตไม่ยึดมั่นก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย. ก็เพราะได้ฟังไวยากรณ์นั้น นามกายของภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ก็กลัดกลุ้ม เมื่อนามกายกลัดกลุ้ม กรัชกายก็รุ่มร้อน เมื่อกรัชกายรุ่มร้อน โลหิตอุ่นที่คั่งก็พุ่งออกจากปาก. ภิกษุ (อีก) ประมาณ ๖๐ รูป คิดว่าการประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต ในพระพุทธศาสนาทำได้ยากหนอ แล้วพากันลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ส่งญาณมุ่งตรงต่อเทศนาของพระศาสดา ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดรากเลือด ภิกษุเหล่านั้น ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 119

เหล่าใดสึกเป็นคฤหัสถ์ ภิกษุเหล่านั้นพากันย่ำยีสิกขาบทเล็กน้อย. ภิกษุเหล่าใดบรรลุพระอรหัต ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล. พระธรรมเทศนาของพระศาสดา เกิดมีผลแม้แก่ภิกษุ ๓ จำพวก ดังกล่าวนี้.

ถามว่า พระธรรมเทศนาเกิดมีผลแก่ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัต ยกไว้ก่อน อย่างไรจึงเกิดผลแก่ภิกษุนอกนี้.? ก็ว่า ก็ภิกษุแม้เหล่านั้น ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้ เป็นผู้ประมาท ไม่พึงอาจละฐานะได้ แต่นั้นบาปของภิกษุเหล่านั้น กำเริบขึ้น จะพึงทำเธอให้จมลงในอบายถ่ายเดียว แต่ฟังเทศนากัณฑ์นี้แล้ว เกิดความสังเวชละฐานะ. ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร บำเพ็ญศีล ๑๐ ประกอบขวนขวายในโยนิโสมนสิการ บางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกเป็นอนาคามี บางพวกบังเกิดในเทวโลก. พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการอย่างนี้. ฝ่ายภิกษุนอกนี้ ถ้าไม่พึงได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้ เมื่อกาลล่วงไปๆ ก็จะพึงต้องอาบัติสังฆาฑิเสสบ้าง ปาราชิกบ้าง ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว คิดว่าพระพุทธศาสนา ช่างขัดเกลาจริงหนอ พวกเราไม่สามารถจะบำเพ็ญ ข้อปฏิบัตินี้ตลอดชีวิตได้ จำเราจักลาสิกขา บำเพ็ญอุบาสกธรรม จักพ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้แล้ว จึงพากันสึกไปเป็นคฤหัสถ์. ชนเหล่านั้น ตั้งอยู่ในสรณะ ๓ รักษาศีล ๕ บำเพ็ญอุบาสกธรรม บางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นสกทาคามี บางพวกเป็นอนาคามี บางพวกบังเกิดในเทวโลกแล. พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 120

เหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้. อนึ่ง หมู่เทพได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว ได้เที่ยวไปบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่ได้ฟังทุกรูปทีเดียว. ภิกษุทั้งหลายฟังแล้วคิดว่า ท่านผู้เจริญ การประพฤติ พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ตลอดชีวิต ในพระพุทธศาสนา ทำได้ยาก. ภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง บอกลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์ไปทันที.

พระศาสดา เสด็จจาริกไปตามพอพระหฤทัย ไม่เสด็จกลับ ไปพระเชตวันอีก จึงทรงเรียกภิกษุมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเมื่อเที่ยวจาริกไปอยู่คลุกคลีมานาน ภิกษุทั้งหลายเราปรารถนา จะเร้นอยู่สักกึ่งเดือน ใครๆ ไม่ต้องเข้าไปหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว ดังนี้ ทรงยับยั้งลำพังพระองค์เดียวกึ่งเดือน เสด็จออกจากที่เร้น พร้อมด้วยพระอานนทเถระ เสด็จจาริกกลับไป พระวิหาร ทรงเห็นภิกษุเบาบาง ในที่ๆ ทรงตรวจดูแล้วตรวจดูอีก ถึงทรงทราบอยู่ ก็ตรัสถามพระอานนท์เถระว่า อานนท์ ในเวลาอื่นๆ เมื่อตถาคตเที่ยวจาริกกลับมายังเชตวัน ทั่ววิหารรุ่งเรืองไปด้วย ผ้ากาสาวพัสตร์ คลาคล่ำไปด้วยผู้แสวงคุณ แต่มาบัดนี้ ปรากฏว่าภิกษุสงฆ์เบาบางลง และโดยมากภิกษุเกิดโรคผอมเหลืองขึ้น นี่เหตุ อะไรกันหนอ. พระเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายเกิดความสังเวชจำเดิม แต่เวลาที่พระองค์แสดงพระธรรมเทศนา อัคคิขันโธปมสูตร คิดว่า พวกเราไม่สามารถจะปรนนิบัติธรรมนั้น โดยอาการทั้งปวงได้ และการที่ภิกษุผู้ประพฤติไม่ชอบ บริโภคไทยธรรม ที่เขาให้ด้วยศรัทธาของชน ไม่ควรเลย จึงครุ่นคิดจะสึกเป็นคฤหัสถ์.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 121

ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดธรรมสังเวช. ลำดับนั้น จึงตรัสกะพระเถระว่า เมื่อเรายับยั้งอยู่ในที่หลีกเร้น ใครๆ ไม่บอกฐานะอันเป็นที่เบาใจอย่างหนึ่ง แก่เหล่าบุตรของเราเลย เหตุอันเป็นที่เบาใจในศาสนานี้มีมาก เหมือนท่าเป็นที่ลงสู่สาครทะเล ฉะนั้น ไปเถิด อานนท์ จงจัดพุทธอาสน์ ในบริเวณคันธกุฏี จงให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน. พระเถระได้กระทำอย่างนั้น. พระศาสดา เสด็จสู่บวรพุทธอาสน์ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย นั่นเป็นส่วนเบื้องต้นทั้งหมดแห่งเมตตา ไม่ใช่อัปปนา ไม่ใช่อุเบกขา เป็นเพียงแผ่ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายเท่านั้น. จึงทรงแสดงอัจฉราสังฆาตสูตร นี้ เพื่อเป็นอัตถุปปัตติเหตุนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตํ ความว่า เพียงการดีดนิ้วมือ. อธิบายว่า เพียงเอา ๒ นิ้วดีดให้มีเสียง. บทว่า เมตฺตจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่คิดแผ่ประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์.

บทว่า อาเสวติ ถามว่า ย่อมเสพอย่างไร? แก้ว่า นึกถึงอยู่เสพ เห็นอยู่เสพ พิจารณาอยู่เสพ ประคองความเพียรอยู่เสพ น้อมใจเชื่อเสพ เข้าไปตั้งสติเสพ ตั้งจิตเสพ รู้ชัดด้วยปัญญาเสพ รู้ยิ่งสิ่งที่ควรรู้ยิ่งเสพ กำหนดรู้สิ่งที่ควรกำหนดรู้เสพ ละสิ่งที่ควรละเสพ เจริญสิ่งที่ควรเจริญเสพ กระทำให้แจ้งสิ่งที่ควรทำให้แจ้งเสพ. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า เสพด้วยเหตุสักว่า เป็นไปโดยการแผ่ประโยชน์เกื้อกูล ในส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา.

บทว่า อริตฺตชฺฌาโน ได้แก่ ผู้มีฌานไม่ว่าง หรือไม่ละทิ้งฌาน. บทว่า วิหรติ ความว่า ผลัดเปลี่ยนเป็นไปรักษาเป็นไปเอง

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 122

ให้เป็นไปเที่ยวไป อยู่ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า วิหรติ ด้วยบทนี้ ท่านจึงกล่าวการอยู่ด้วยอิริยาบถ ของภิกษุผู้เสพเมตตา.

บทว่า สตฺถุ สาสนกโร ได้แก่ ผู้กระทำตามอนุสาสนีของพระศาสดา บทว่า โอวาทปฏิกโร ได้แก่ ผู้กระทำตามโอวาท. ก็ในเรื่องนี้ การกล่าวคราวเดียว ชื่อว่าโอวาท การกล่าวบ่อยๆ ชื่อว่า อนุสาสนี. แม้การกล่าวต่อหน้า ก็ชื่อว่าโอวาท การส่ง (ข่าว) ไปกล่าวลับหลัง ชื่อว่า อนุสาสนี. การกล่าวในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า โอวาท. ส่วนการกล่าวในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นหรือยังไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า อนุสาสนี. พึงทราบความแปลกกันอย่างนี้. แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ คำว่า โอวาท หรืออนุสาสนีนั้น เป็นอันเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เข้ากันได้เกิดร่วมกันนั้น นั่นแล. ก็ในที่นี้ คำว่า ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุเสพเมตตาจิต แม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว นี้แล เป็นคำสอน และเป็นโอวาทของพระศาสนา พึงทราบว่าภิกษุนั้น ชื่อว่า ผู้ทำตามคำสอน และผู้สนองโอวาท เพราะปฏิบัติตามคำสอนและโอวาทนั้น.

บทว่า อโมฆํ แปลว่า ไม่เปล่า. บทว่า รฏฺปิณฺฑํ ความว่า บิณฑบาต (อาหาร) นั่นแล ท่านเรียกว่า รัฏฐบิณฑะ (ก้อนข้าวของชาวแคว้น) เพราะอาหารนั้น ภิกษุผู้สละเครือญาติ อาศัยชาวแว่นแคว้น บวชแล้วได้จากเรือนของคนอื่น.

บทว่า ปริภุญฺชติ ความว่า บริโภค มี ๔ อย่าง คือ เถยยบริโภค อิณบริโภค ทายัชชบริโภค สามิบริโภค. ในบริโภค ๔ อย่างนั้น การบริโภคของผู้ทุศีล ชื่อว่า เถยยบริโภค. การบริโภค

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 123

ปัจจัยที่ไม่ได้พิจารณาของผู้มีศีล ชื่อว่า อิณบริโภค. การบริโภค ของพระเสขบุคคล ๗ จำพวก ชื่อว่า ทายัชชบริโภค. การบริโภค ของพระขีณาสพ ชื่อว่า สามิบริโภค. ใน ๔ อย่างนั้น การบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นนี้ของภิกษุนี้ ย่อมไม่เสียเปล่าด้วยเหตุ ๒ ประการ. ภิกษุผู้เสพเมตตาจิตแม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว ชื่อว่า เป็นเจ้าของก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นบริโภค แม้เพราะเหตุนั้น การบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่เสียเปล่า. ทานที่เขาให้แก่ภิกษุผู้เสพเมตตา แม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว ย่อมมีความสำเร็จมาก มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความกว้างขวางมาก เพราะเหตุนั้น การบริโภคข้าวของชาวแคว้นของภิกษุนั้น ไม่เป็นโมฆะ ไม่เสียเปล่า บทว่า โก ปน วาโท เย นํ พหุลีกโรนฺติ ความว่า ควรกล่าวได้แท้ในข้อนี้ว่า ภิกษุเหล่าใด ส้องเสพเจริญให้มาก ทำบ่อยๆ ซึ่งเมตตาจิตนี้ ภิกษุเหล่านั้น ย่อมบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ไม่เสียเปล่า เพราะภิกษุเห็นปานนี้ ย่อมเป็นเจ้าของก้อนข้าวชาวแว่นแคว้นไม่เป็นหนี้ เป็นทายาทบริโภค.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ภาเวติ ได้แก่ ให้เกิดขึ้น คือ ให้เจริญ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 124

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มนสิกโรติ แปลว่า กระทำไว้ในใจ. คำที่เหลือ แม้ในสูตรทั้งสองนี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวในสูตรที่ ๓. ก็ภิกษุใดย่อมเสพ ภิกษุนี้แหละ ชื่อว่าย่อมเจริญ ภิกษุนี้ ชื่อว่ากระทำในใจ. ภิกษุย่อมเสพด้วยจิตใด ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยจิตนั้นนั่นแล ชื่อว่าย่อมทำไว้ในใจด้วยจิตนั้น. ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยลีลาแห่งเทศนา เพราะทรงแทงตลอดธรรมธาตุใด ทรงอาศัยลีลาแห่งเทศนา ๑ ความเป็นใหญ่ในธรรม ๑ ความฉลาด ในประเภทแห่งปฏิสัมภิทา ๑ พระสัพพัญญุตญาณอันไม่ติดขัด ๑ ของพระองค์ เพราะทรงเป็นผู้แทงตลอดธรรมธาตุนั้น จึงทรงจำแนกแสดงจิตดวงเดียว ซึ่งเกิดขึ้นในขณะเดียวเท่านั้น โดยส่วนทั้ง ๓.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เยเกจิ เป็นคำกำหนดไม่แน่นอน. บทว่า อกุสลา เป็นคำกำหนดแน่นอนแห่งอกุศลเหล่านั้น. ด้วยคำเพียงเท่านี้ อกุศลธรรมทั้งหมด เป็นอันกำหนดเอาโดยไม่เหลือ คำว่า อกุสลภาคิยา อกุสลปกฺขิกา นี้ เป็นชื่อแห่งอกุศลธรรมทั้งนั้น. จริงอยู่

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 125

อกุศลนั่นแล บางพวกเป็นอกุศลจิต ด้วยอำนาจเป็นสหชาตธรรม (เกิดร่วมกัน) บางพวกเข้ากันได้ ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย และเป็นฝักฝ่ายของอกุศลธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นส่วนแห่งอกุศล เป็นฝักฝ่ายแห่งอกุศล.

บทว่า สพฺเพเต มโนปุพฺพงฺคมา ความว่า ใจเป็นหัวหน้า คือถึงก่อนแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่ามีใจเป็นหัวหน้า. จริงอยู่ธรรมเหล่านั้น เกิดพร้อมกัน มีวัตถุอันเดียวกัน ดับพร้อมกัน และมีอารมณ์เป็นอันเดียวกันกับใจก็จริง ถึงกระนั้น เพราะเหตุที่ใจ ยังธรรมเหล่านั้นให้เกิดขึ้น ให้กระทำ ให้เกิด ให้ตั้งขึ้น ให้บังเกิด ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มีใจเป็นหัวหน้า.

บทว่า ปมํ อุปฺปชฺชติ ความว่า เมื่อเขากล่าวว่า พระราชาเสด็จออกไปแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะพึงกล่าวว่า ทัพพระราชาที่เหลือ ออกไปแล้วหรือยังไม่ออกไป เขาย่อมรู้กันทั่วว่า ทัพพระราชาออกไปหมดแล้ว ฉันใด ใจก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่มีเหตุที่จะพึงกล่าวว่า จำเดิมแต่เวลาที่เขากล่าวว่า เกิดขึ้นแล้ว ธรรมที่เหลือเกิดร่วมกัน ระคนกัน ประกอบกันเกิดขึ้นแล้ว หรือยังไม่เกิดขึ้น ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมปรากฏว่าเกิดขึ้นแล้วทั้งนั้น อาศัยอำนาจแห่งประโยชน์นี้ ใจที่ระคน ที่ประกอบกัน ธรรมเหล่านั้นแม้จะเกิดพร้อมกัน และดับพร้อมกัน ท่านก็เรียกว่า เกิดก่อนธรรมเหล่านั้น.

บทว่า อนฺวเทว แปลว่า ตามกัน ร่วมกัน อธิบายว่า พร้อมกันทีเดียว. แต่ครั้นถือเอาเค้าแห่งพยัญชนะ ไม่ควรถือว่าจิตเกิดก่อน เจตสิกเกิดทีหลัง. จริงอยู่ อรรถคือความเป็นที่อาศัยของ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 126

พยัญชนะทั้งหลาย แม้ในคาถาว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺา มโนมยา ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ในสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

กุศลธรรมแม้เป็นไปในภูมิ ๔ ท่านกล่าวว่า กุศล. คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในสูตรที่ ๖ นั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ในสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ภิกฺขเว ในคำว่า ยถยิทํ ภิกฺขเว ปมาโท นี้ เป็นอาลปนะ ความว่า ยถา อยํ ปมาโท เหมือนความประมาทนี้. บทว่า ปมาโท ได้แก่ อาการคือ ความประมาท. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ในธรรมเหล่านั้น ความประมาทเป็นไฉน? ความปล่อยจิต การสนับสนุนความปล่อยจิตในกามคุณ ๕ ด้วยกายทุจริต ด้วยวจีทุจริต หรือด้วยมโนทุจริต หรือการกระทำโดยไม่เคารพ ความกระทำไม่ติดต่อ ความทำอันหาประโยชน์มิได้ ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 127

ไม่อบรม ความไม่ทำให้มาก ซึ่งการอบรมกุศลธรรมทั้งหลาย. ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่ประมาทเห็นปานนี้ใด นี้เรียกว่า ความประมาท.

บทว่า อุปฺปนฺนา จ กุสลา ธมฺมา ปริหายนฺติ (กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไปด้วย) นี้ ท่านกล่าวเนื่องด้วยฌาน และวิปัสสนา. แต่มรรคผลที่เกิดขึ้นแล้วครั้งเดียว ไม่เสื่อมอีกต่อไป.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ความไม่ประมาท พึงทราบโดยพิสดาร โดยตรงกันข้ามกับ ความประมาท.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ความเป็นผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า โกสัชชะ. คำที่เหลือมีนัย ดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

จบ อรรถกถา อัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖