วรรคที่ ๑๐ ว่าด้วยธรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 156
วรรคที่ ๑๐
วรรคที่ ๑๐ ว่าด้วยธรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ 99/156
วรรคที่ ๑๐ ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้พระสัทธรรมเสื่อมและมั่นคง 115/159
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 156
วรรคที่ ๑๐
ว่าด้วยธรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
[๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้เกียจคร้าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการปรารภความเพียร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การปรารภความเพียร ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 157
[๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มักมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักมาก ย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจ้งถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มักน้อย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักน้อย ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอันแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้ไม่สันโดษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้สันโดษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สันโดษ ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 158
[๑๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยแยบคาย ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้สึกตัว ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหจุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรดี ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 159
[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการประกอบอกุศลธรรมเนื่องๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้พระสัทธรรมเสื่อมและมั่นคง
[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง เป็นไปเพื่อความที่เสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประมาท ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม.
[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไป เพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 160
[๑๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้เกียจคร้าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม.
[๑๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการปรารภความเพียร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การปรารภความเพียร ย่อมเป็นไป เพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.
[๑๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มักมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักมาก ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม.
[๑๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มักน้อย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักน้อย ย่อมเป็นไป เพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 161
[๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อควานเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้ไม่สันโดษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม.
[๑๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้สันโดษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สันโดษ ย่อมเป็นไป เพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.
[๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อสัทธรรม เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม.
[๑๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยแยบคาย ย่อมเป็นไป เพื่อดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 162
[๑๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม.
[๑๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อ ความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้สึกตัว ย่อมเป็นไป เพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.
[๑๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม.
[๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรดี ย่อมเป็นไป เพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 163
[๑๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่ง สัทธรรม เหมือนการประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม.
[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม ย่อมเป็นไป เพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.
จบ วรรคที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 164
อรรถกถาวรรคที่ ๑๐
วรรคที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อชฺฌตฺติกํ ได้แก่ สิ่งที่เป็นไปภายใน ด้วยอำนาจเกิดเฉพาะภายในตน. บทว่า องฺคํ แปลว่า เหตุ. บทว่า อิติ กริตฺวา แปลว่า กระทำอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบาย ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากระทำสิ่งที่เป็นไปกับตน คือเฉพาะตน อันตั้งขึ้นใน สันดานของตนว่าเป็นเหตุแล้ว ย่อมไม่เห็นเหตุอื่นสักอย่างหนึ่ง ดังนี้.
บทว่า พาหิรํ ได้แก่ สิ่งที่เป็นภายนอกจากสันดานภายในตน. บทว่า ธมฺมสฺส ได้แก่ พระสัทธรรม อธิบายว่าพระศาสนา. บทว่า สมฺโมสาย ได้แก่ เพื่อความพินาศ. บทว่า อนฺตรธานาย ได้แก่ เพื่อความไม่ปรากฏ. บทว่า ิติยา ได้แก่ เพื่อความตั้งอยู่ตลอดกาลนาน. บทว่า อสมฺโมสาย อนนฺตรธานาย พึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม จากที่กล่าวแล้ว นั่นแล. คำที่เหลือในสูตรนี้มีนัยดังกล่าวแล้ว ในธรรมที่มี ๔ เงื่อน นั่นแล.
ในคำว่า อธมฺมํ หโมติ ทีเปนฺติ เป็นต้น เบื้องหน้าต่อจากนี้ พึงทราบความโดยปริยายแห่งพระสูตรก่อน. กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า ธรรม. อกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า อธรรม. อนึ่ง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 165
๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘. ชื่อว่า ธรรม ธรรมนี้คือ สติปัฏฐาน ๓ สัมมัปปธาน ๓ อิทธิบาท ๓ อินทรีย์ ๖ พละ โพชฌงค์ ๘ มรรคมีองค์ ๙ และ อุปาทาน ๔ นิวรณ์ ๕ อนุสัย ๗ มิจฉัตตะ ๘. ชื่อว่า อธรรม บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธมฺโม ความว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อถือเอาส่วนแห่งอธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว แสดงว่า เราจักทำอธรรมนี้ให้เป็นธรรม กุศลจิตของอาจารย์ของพวกเรา จักเป็นนิยยานิกธรรมเครื่องนำออก และพวกเราจักปรากฏในโลก ด้วยอาการอย่างนี้ จึงกล่าวอธรรมนี้ว่า นี้เป็นธรรม ชื่อว่า แสดงธรรมว่าเป็นธรรม. เมื่อถือเอาส่วนหนึ่งในส่วนแห่งธรรม เช่นนั้น เหมือนกันแล้วแสดงว่า นี้เป็นอธรรม ชื่อว่า แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม. แต่เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระวินัย กรรมที่โจทย์ด้วยเรื่องที่เป็นจริง ให้ระลึกได้แล้ว ปรับอาบัติตามปฏิญญาชื่อว่าธรรม. กรรมที่ไม่ได้โจทย์ไม่ให้ระลึกได้ ด้วยเรื่องอันไม่เป็นจริงแล้ว ปรับอาบัติโดยที่ไม่ได้ปฏิญญาไว้ ชื่อว่า อธรรม.
เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร ธรรมนี้คือ การกำจัดราคะ การกำจัดโทสะ การกำจัดโมหะ การสังวร การละ การพิจารณา ชื่อว่า วินัย การไม่กำจัดราคะเป็นต้น การไม่สังวร การไม่ละ และการไม่พิจารณา ชื่อว่า อวินัย. เมื่อว่าโดยปริยายพระวินัย ธรรมนี้คือ วัตถุสมบัติ ญัตติสมบัติ อนุสาวนาสมบัติ สีมาสมบัติ ปริสสมบัติ ชื่อว่า วินัย. วัตถุวิบัติ ปริสวิบัติ นี้ชื่อว่า อวินัย.
เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร คำนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘ พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้. คำนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 166
สติปัฏฐาน ๓ สัมมัปปธาน ๓ อิทธิบาท ๓ อินทรีย์ ๖ พละ ๖. สัมโพชฌงค์ ๘ มรรคมีองค์ ๙ พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้. เมื่อว่าโดยปริยายพระวินัย คำนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาฑิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้. คำนี้ว่า ปาราชิก ๓ สังฆาฑิเสส ๑๔ อนิยต ๓ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๑ พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้.
เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร กิจนี้คือ การเข้าผลสมาบัติ การเข้ามหากรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ทรงแสดงพระสูตรเนื่องด้วยเหตุที่เกิดเรื่องขึ้น การตรัสชาดก ทุกวันๆ พระตถาคตเคยประพฤติมา. กิจนี้คือ การไม่เข้าผลสมาบัติ ฯลฯ การไม่ตรัสชาดก ทุกวันๆ พระตถาคตไม่เคยประพฤติมา. เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระวินัย กิจนี้คือ เมื่อถูกนิมนต์ อยู่จำพรรษาแล้ว ต้องบอกลาจึงหลีกไปสู่ที่จาริก ปวารณาแล้วจึงหลีกไปสู่ที่จาริก การกระทำปฏิสันถารก่อน กับด้วยภิกษุผู้อาคันตุกะ พระตถาคตเจ้าเคยประพฤติมา. การไม่กระทำกิจที่พระตถาคตเคยประพฤติมานั้น นั่นแล ชื่อว่า ไม่เคยประพฤติแล้ว.
เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร สติปัฏฐาน ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ชื่อว่า พระตถาคตทรงบัญญัติ. สติปัฏฐาน ๓ มรรคมีองค์ นี้ชื่อว่า ตถาคตไม่ทรงบัญญัติไว้. เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระวินัย ปาราชิก ๔ นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ นี้ชื่อว่า ตถาคตทรงบัญญัติ. ปาราชิก ๓ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๑ นี้ชื่อว่า ตถาคตไม่ทรงบัญญัติไว้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 167
ก็ในคำที่ตรัสไว้ในที่สุดแห่งสูตรทั้งปวงว่า ก็ภิกษุเหล่านั้น ย่อมยังธรรมนี้ให้อันตธานไปนั้น ชื่อว่า อันตรธานมี ๕ อย่างคือ อธิคมอันตรธาน อันตรธานเห่งการบรรลุ ๑ ปฏิปัตติอันตรธาน อันตรธานแห่งการปฏิบัติ ๑ ปริยัตติอันตรธาน อันตรธานแห่งปริยัติ ๑ ลิงคอันตรธาน อันตรธานแห่งเพศ ๑ ธาตุอันตรธาน อันตรธานแห่งธาตุ ๑. ใน ๕ อย่างนั้น มรรค ๔ ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ชื่อว่า อธิคม. อธิคมนั้น เมื่อเสื่อมย่อมเสื่อมไป ตั้งแต่ปฏิสัมภิทา. จริงอยู่ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑,๐๐๐ ปีเท่านั้น ภิกษุไม่สามารถจะให้ปฏิสัมภิทาบังเกิดได้ ต่อแต่นั้นก็อภิญญา ๖. แต่นั้นเมื่อไม่สามารถทำอภิญญาให้บังเกิดได้ ย่อมทำวิชชา ๓ ให้บังเกิด. ครั้นกาลล่วงไปๆ เมื่อไม่สามารถจะทำวิชชา ๓ ให้บังเกิด ก็เป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก โดยอุบายนี้เอง ก็เป็นพระอนาคามี พระสกทาคามี และพระโสดาบัน. เมื่อท่านเหล่านั้นยังทรงชีพอยู่ อธิคมชื่อว่ายังไม่เสื่อม อธิคมชื่อว่าย่อมเสื่อมไป เพราะความสิ้นไปแห่งชีวิต ของพระอริยบุคคลผู้โสดาบันชั้นต่ำสุด ดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอันตรธานแห่งอธิคม.
ภิกษุไม่สามารถจะให้ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล บังเกิดได้ รักษาเพียงจาตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่าอันตรธานแห่งข้อปฏิบัติ. เมื่อกาลล่วงไปๆ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เราจะรักษาศีลให้บริบูรณ์ และจะประกอบความเพียรเนืองๆ แต่เราก็ไม่สามารถจะทำให้แจ้งมรรคหรือผลได้ บัดนี้ไม่มีการแทงตลอดอริยธรรม จึงท้อใจ มากไปด้วยความเกียจคร้าน ไม่ตักเตือนกันและกัน ไม่รังเกียจกัน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 168
(ในการทำชั่ว) ตั้งแต่นั้นก็พากันย่ำยี สิกขาบทเล็กน้อย. เมื่อกาลล่วงไปๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย ต่อแต่นั้นต้องครุกาบัติ. เพียงอาบัติปาราชิกเท่านั้นยังคงอยู่. เมื่อภิกษุ ๑๐๐ รูปบ้าง ๑,๐๐๐ รูปบ้าง ผู้รักษาอาบัติปาราชิกยังทรงชีพอยู่ การปฏิบัติชื่อว่ายังไม่ อันตรธาน จะอันตรธานไป เพราะภิกษุรูปสุดท้ายทำลายศีล หรือสิ้นชีวิต ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า อันตรธานแห่งการปฏิบัติ.
บทว่า ปริยตฺติ ได้แก่ บาลีพร้อมทั้งอรรถกถาในพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก บาลีนั้นยังคงอยู่เพียงใด ปริยัติก็ชื่อว่า ยังบริบูรณ์อยู่เพียงนั้น. เมื่อกาลล่วงไปๆ พระราชาและพระยุพราช ในกุลียุค ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพระราชาและยุพราชเหล่านั้น ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ราชอมาตย์ เป็นต้น ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม แต่นั้นชาวแคว้น และชาวชนบท ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ฝนย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพราะคนเหล่านั้นไม่ตั้งอยู่ในธรรม. ข้าวกล้าย่อมไม่บริบูรณ์ เมื่อข้าวกล้าเหล่านั้นไม่บริบูรณ์ ทายกผู้ถวายปัจจัย ก็ไม่สามารถจะถวายปัจจัยแก่ภิกษุสงฆ์ได้ ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยปัจจัย ก็ไม่สามารถสงเคราะห์พวกอันเตวาสิก. เมื่อเวลาล่วงไปๆ ปริยัติย่อมเสื่อม ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถจะทรงจำอรรถไว้ได้ ทรงจำไว้ได้แต่พระบาลีเท่านั้น. แต่นั้นเมื่อกาลล่วงไป ก็ไม่สามารถจะทรงบาลีไว้ได้ทั้งสิ้น. อภิธรรมปิฎกย่อมเสื่อมก่อน. เมื่อเสื่อมก็เสื่อม ตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่ ปัฏฐานมหาปกรณ์ย่อมเสื่อมก่อนทีเดียว เมื่อปัฏฐานมหาปกรณ์เสื่อม ยมก กถาวัตถุ บุคคลบัญญัติ ธาตุกถา ธัมมสังคณี ก็เสื่อม เมื่ออภิธรรมปิฎกเสื่อมไปอย่างนี้ สุตตันตปิฎก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 169
ก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา อังคุตตรนิกายเสื่อมก่อน เมื่ออังคุตตรนิกายเสื่อม เอกาทสกนิบาตเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ทสกนิบาต ฯลฯ ต่อนั้น เอกนิบาต เมื่ออังคุตตรนิกายเสื่อมไปอย่างนี้ สังยุตตนิกายก็เสื่อม ตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่มหาวรรคเสื่อมก่อน แต่นั้นสฬายตนวรรค ขันธกวรรค นิทานวรรค สคาถวรรค เมื่อสังยุตตินิกายเสื่อมไปอย่างนี้ มัชฌิมนิกายย่อมเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา จริงอยู่ อุปริปัณณาสก์เสื่อมก่อน ต่อนั้นมัชฌิมปัณณาสก์ ต่อนั้นมูลปัณณาสก์. เมื่อมัชฌิมนิกายเสื่อมอย่างนี้ ทีฆนิกายเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่ ปาฏิกวรรคเสื่อมก่อน แต่นั้นมหาวรรค แต่นั้นสีลขันธวรรค เมื่อทีฆนิกายเสื่อมอย่างนี้ พระสุตตันตปิฎกชื่อว่าย่อมเสื่อม. ทรงไว้เฉพาะชาดกกับวินัยปิฎกเท่านั้น. ภิกษุผู้เป็นลัชชีเท่านั้นทรงพระวินัยปิฎก. ส่วนภิกษุผู้หวังในลาภคิดว่า แม้เมื่อกล่าวแต่พระสูตร ก็ไม่มีผู้จะกำหนดได้ จึงทรงไว้เฉพาะชาดกเท่านั้น. เมื่อเวลาล่วงไปๆ แม้แต่ชาดกก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้. ครั้งนั้น บรรดาชาดกเหล่านั้น เวสสันดรชาดกเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ปุณณกชาดก มหานารทชาดก เสื่อมไปโดยย้อนลำดับ ในที่สุดอปัณณกชาดกก็เสื่อม. เมื่อชาดกเสื่อมไปอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมทรงไว้เฉพาะพระวินัยปิฎกเท่านั้น.
เมื่อกาลล่วงไปๆ ก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้แม้แต่พระวินัยปิฎก แต่นั้นก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. คัมภีร์บริวารเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ขันธกะ ภิกษุณีวิภังค์ก็เสื่อม แต่นั้นก็ทรงไว้เพียงอุโปสถขันธกเท่านั้น ตามลำดับ. แม้ในกาลนั้น ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่เสื่อม ก็คาถา ๔ บาท ยังหมุนเวียนอยู่ในหมู่มนุษย์เพียงใด ปริยัตติก็ชื่อว่า ยังไม่อันตรธาน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 170
เพียงนั้น. ในกาลใด พระราชาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทรงให้ใส่ถุงทรัพย์ หนึ่งแสนลงในผอบทองตั้งบนคอช้าง แล้วให้ตีกลองร้องประกาศไปในพระนครว่า ชนผู้รู้คาถา ๔ บท ที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว จงถือเอาทรัพย์หนึ่งแสนนี้ไป ก็ไม่ได้คนที่จะรับเอาไป แม้ด้วยการให้เที่ยว ตีกลองประกาศคราวเดียว ย่อมมีผู้ได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง จึงให้เที่ยวตีกลองประกาศไปถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้ผู้ที่จะรับเอาไป. ราชบุรุษทั้งหลาย จึงให้ขนถุงทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ นั้น กลับสู่ราชตระกูลตามเดิม. ในกาลนั้น ปริยัตติ ชื่อว่า ย่อมเสื่อมไป ดังว่านี้ ชื่อว่า การอันตรธานแห่งพระปริยัตติ.
เมื่อกาลล่วงไปๆ การรับจีวร การรับบาตร การคู้ การเหยียด การดูแล การเหลียวดู ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใส. ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ปลายแขนถือเที่ยวไป เหมือนสมณนิครนถ์ ถือบาตรน้ำเต้าเที่ยวไป. แม้ด้วยอาการเพียงเท่านี้ เพศก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน. เมื่อกาลล่วงไปๆ เอาบาตรลงจากปลายแขนหิ้วไป ด้วยมือหรือด้วยสาแหรกเที่ยวไป แม้จีวรก็ไม่ทำการย้อมให้ถูกต้อง กระทำให้มีสีแดงใช้. เมื่อกาลล่วงไป การย้อมจีวรก็ดี การตัด ชายผ้าก็ดี การเจาะรังดุมก็ดี ย่อมไม่มี ทำเพียงเครื่องหมายแล้วใช้สอย ต่อมากลับเลิกรังดุม ไม่ทำเครื่องหมาย ต่อมาไม่กระทำทั้ง ๒ อย่าง ตัดชายผ้าเที่ยวไปเหมือนพวกปริพาชก เมื่อกาลล่วงไป ก็คิดว่า พวกเราจะต้องการอะไร ด้วยการกระทำเช่นนี้ จึงผูกผ้ากาสายะชิ้นเล็กๆ เข้าที่มือหรือที่คอ หรือขอดไว้ที่ผม กระทำการเลี้ยงภรรยา เที่ยวไถ่หว่านเลี้ยงชีพ. ในกาลนั้น ชนเมื่อให้ทักขิณา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 171
ย่อมให้แก่ชนเหล่านั้นอุทิศสงฆ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาข้อนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ในอนาคตกาล จักมีโคตรภูบุคคล ผู้มีผ้ากาสายพันคอ เป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีธรรมอันลามก ชนทั้งหลายให้ทานในคนผู้ทุศีล ผู้มีธรรมอันลามกเหล่านั้น อุทิศสงฆ์ อานนท์ ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ทักษิณาไปแล้วในสงฆ์ มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้. แต่นั้น เมื่อกาลล่วงไปๆ ชนเหล่านั้นคิดว่า นี้ชื่อว่า เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า พวกเราจะต้องการอะไร ด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้านี้ จึงทิ้งท่อนผ้าโยนไปเสียในป่า. ในกาลนั้น เพศชื่อว่าหายไป. ได้ยินว่า การห่มผ้าชาวเที่ยวไปเป็นจารีตของคนเหล่านั้น มาแต่ครั้งพระกัสสปทศพล ดังว่านี้ ชื่อว่า การอันตรธานไปแห่งเพศ.
ชื่อว่า อันตรธานไปแห่งธาตุ พึงทราบอย่างนี้.
ปรินิพพานมี ๓ คือกิเลสปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งกิเลส, ขันธปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งขันธ์, ธาตุปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งธาตุ บรรดาปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น กิเลสปรินิพพาน ได้มีที่โพธิบัลลังก์. ขันธปรินิพพาน ได้มีที่กรุงกุสินารา ธาตุปรินิพพานจักมีในอนาคต. จักมีอย่างไร? คือครั้งนั้น ธาตุทั้งหลายที่ไม่ได้รับสักการะ และสัมมานะในที่นั้นๆ ก็ไปสู่ที่ๆ มีสักการะ และสัมมานะ ด้วยกำลังอธิษฐานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เมื่อกาลล่วงไป สักการะและสัมมานะก็ไม่มีในที่ทั้งปวง. เวลาพระศาสนาเสื่อมลง พระธาตุทั้งหลายในตามพปัณณิทวีปนี้ จักประชุมกันแล้วไปสู่มหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์ไปสู่นาคเจดีย์ แต่นั้นจักไปสู่โพธิบัลลังก์. พระธาตุ ทั้งหลายจากนาคพิภพบ้าง จากเทวโลกบ้าง จากพรหมโลกบ้าง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 172
จักไปสู่โพธิบัลลังก์แห่งเดียว. พระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด จักไม่หายไปในระหว่าง. พระธาตุทั้งหมดจักประชุมกันที่ มหาโพธิมัณฑสถานแล้ว รวมเป็นพระพุทธรูป แสดงพุทธสรีระ ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ โพธิมัณฑสถาน. มหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีประมาณวาหนึ่ง ทั้งหมดครบบริบูรณ์ทีเดียว. แต่นั้นจักการทำปาฏิหาริย์แสดง เหมือนในวันแสดง ยมกปาฏิหาริย์. ในกาลนั้น ชื่อว่าสัตว์ผู้เป็นมนุษย์ไม่มีไปในที่นั้น. ก็เทวดาในหมื่นจักรวาลประชุมกันทั้งหมด พากันครวญคร่ำรำพันว่า วันนี้พระทสพลจะปรินิพพาน จำเดิมแต่บัดนี้ไป จักมีแต่ความมืด. ลำดับนั้น เตโชธาตุลุกโพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ ทำให้พระสรีระนั้น ถึงความหาบัญญัติมิได้. เปลวไฟที่โพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ พลุ่งขึ้นจนถึงพรหมโลก เมื่อพระธาตุแม้สักเท่าเมล็ดพันธ์ุผักกาดยังมีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงอยู่เปลวหนึ่งเท่านั้น เมื่อพระธาตุหมดสิ้นไป เปลวเพลิงก็จักขาดหายไป. พระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพใหญ่อย่างนี้แล้ว ก็อันตรธานไป. ในกาลนั้น หมู่เทพกระทำสักการะ ด้วยของหอม ดอกไม้ และดนตรีทิพย์ เป็นต้น เหมือนในวันที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน กระทำประทักษิณ ๓ ครั้ง ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ จักได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติขึ้นในอนาคต ดังนี้แล้วก็กลับไปที่อยู่ของตนๆ นี้ ชื่อว่า อันตรธานแต่งพระธาตุ.
การอันตรธานแห่งปริยัตินั่นแล เป็นมูลแห่งอันตรธาน ๕ อย่างนี้ จริงอยู่เมื่อพระปริยัตติอันตรธานไป ปฏิบัติก็ย่อมอันตรธาน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 173
เมื่อปริยัตติคงอยู่ ปฏิบัติก็คงอยู่. เพราะเหตุนั้นแหละ ในคราวมีภัยใหญ่ครั้งพระเจ้าจัณฑาลติสสะในทวีปนี้ ท้าวสักกะเทวราช นิรมิตแพใหญ่แล้วแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภัยใหญ่จักมี ฝนจักไม่ตกต้องตามฤดูกาล ภิกษุทั้งหลายพากันลำบากด้วยปัจจัย ๔ จักไม่สามารถ เพื่อจะทรงพระปริยัติไว้ได้. ควรที่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจะไปยังฝั่งโน้นรักษาชีวิตไว้ โปรดขึ้นแพใหญ่นี้ไปเถิด เจ้าข้า ที่นั่งบนแพนี้ ไม่เพียงพอแก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้น จงเกาะขอนไม้ไปเถิด ภัยจักไม่มีแก่ภิกษุทั้งปวง. ในกาลนั้นภิกษุ ๖๐ รูปไปถึงฝั่งสมุทร แล้วกระทำกติกากันไว้ว่า ไม่มีกิจที่พวกเราจะไปในที่นั้น พวกเราจักอยู่ในที่นี้แล จักรักษาพระไตรปิฎก ดังนี้แล้ว จึงกลับจากที่นั้น ไปสู่ทักขิณมลยะชนบท เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยรากเหง้า และใบไม้. เมื่อร่างกายยังเป็นไปอยู่ก็พากันนั่งกระทำการสาธยาย เมื่อร่างกายเป็นไปไม่ได้ ย่อมพูนทรายขึ้นล้อมรอบศีรษะไว้ในที่เดียวกันพิจารณาพระปริยัติ. โดยทำนองนี้ ภิกษุทั้งหลาย ทรงพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถาให้บริบูรณ์อยู่ได้ถึง ๑๒ ปี.
เมื่อภัยสงบ ภิกษุ ๗๐๐ รูป ไม่ทำแม้อักขระตัวหนึ่ง แม้พยัญชนะตัวหนึ่ง ในพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถาจากสถานที่ๆ ตนไปแล้ว ให้เสียหาย มาถึงเกาะนี้แหละ เข้าไปสู่มณฑลารามวิหาร ในกัลลคามชนบท. ภิกษุ ๖๐ รูป ผู้ยังเหลืออยู่ในเกาะนี้ ได้ฟังเรื่องการมาของพระเถระทั้งหลาย คิดว่า จักเยี่ยมพระเถระทั้งหลาย จึงไปสอบทานพระไตรปิฎกกับพระเถระทั้งหลาย ไม่พบแม้อักขระตัวหนึ่ง แม้พยัญชนะตัวหนึ่ง ชื่อว่าไม่เหมาะสมกัน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 174
พระเถระทั้งหลายเกิดสนทนากันขึ้นในที่นั้นว่า ปริยัติเป็นมูลแห่งพระศาสนา หรือปฏิบัติเป็นมูล. พระเถระผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรกล่าวว่า ปฏิบัติเป็นมูลแห่งพระศาสนา. ฝ่ายพระธรรมกถึกทั้งหลาย กล่าวว่า พระปริยัติเป็นมูล. ลำดับนั้น พระเถระเหล่านั้น กล่าวว่า เราจะไม่เชื่อโดยเพียงคำของท่านทั้งสองฝ่ายเท่านั้น ขอพวกท่านจงอ้างพระสูตรที่พระชินเจ้าทรงภาษิตไว้. พระเถระ ๒ พวกนั้นกล่าวว่า การนำพระสูตรมาอ้างไม่หนักเลย พระเถระ ฝ่ายผู้ทรงผ้าบังสุกุล จึงอ้างพระสูตรว่า ดูก่อนสุภัททะ. ก็ภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้ พึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย. ดูก่อนมหาบพิตร พระศาสนาของพระศาสดา มีปฏิบัติเป็นมูล มีการปฏิบัติเป็นสาระ เมื่อทรงอยู่ในการปฏิบัติ ก็ชื่อว่า ยังคงอยู่. ฝ่ายเหล่าพระธรรมกถึกได้ฟังพระสูตรนั้นแล้ว เพื่อจะรับรองวาทะของตน จึงอ้างพระสูตรนี้ว่า
พระสูตรยังดำรงอยู่ตราบใด พระวินัยยังรุ่งเรืองอยู่ตราบใด ภิกษุทั้งหลายย่อมเห็นแสงสว่าง เหมือนพระอาทิตย์อุทัย อยู่ตราบนั้น เมื่อพระสูตรไม่มีและแม้พระวินัยก็ลบเลือนไปในโลก ก็จักมีแต่ความมืด เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคต เมื่อภิกษุยังรักษาพระสูตรอยู่ ย่อมเป็นอันรักษาปฏิบัติไว้ด้วย นักปราชญ์ดำรงอยู่ในการปฏิบัติ ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ดังนี้
เมื่อพระธรรมกถึก นำพระสูตรนี้มาอ้าง พระเถระผู้ทรงผ้าบังสุกุล
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 175
ทั้งหลายก็นิ่ง. คำของพระเถระผู้เป็นธรรมกถึกนั้นแล เชื่อถือได้. เหมือนอย่างว่า ในระหว่างโคผู้ ๑๐๐ ตัว หรือ ๑,๐๐๐ ตัว เมื่อไม่มีแม่โคผู้จะรักษาเชื้อสายเลย วงศ์เชื้อสายก็ไม่สืบต่อกัน ฉันใด เมื่อภิกษุเริ่มวิปัสสนา ตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑,๐๐๐ รูป มีอยู่ แต่ปริยัติไม่มี ชื่อว่าการแทงตลอดอริยมรรคก็ไม่มีฉันนั้น นั่นแล. อนึ่งเมื่อเขาจารึกอักษรไว้หลังแผ่นหิน เพื่อจะให้รู้ขุมทรัพย์ อักษรยังทรงอยู่เพียงใด ขุมทรัพย์ทั้งหลาย ชื่อว่ายังไม่เสื่อมหายไปเพียงนั้น ฉันใด เมื่อปริยัติยังทรงอยู่พระศาสนา ก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธานไป ฉันนั้น เหมือนกันแล.
จบ อรรถกถาวรรคที่ ๑๐