พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๔ ประวัติพระมหากัสสปเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ต.ค. 2564
หมายเลข  38339
อ่าน  516

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 275

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ประวัติพระมหากัสสปเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 275

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ประวัติพระมหากัสสปเถระ

    ในสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า ธุตวาทานํ นี้ พึงทราบธุตบุคคล (บุคคลผู้กำจัดกิเลส) ธุตวาทะ (การสอนเรื่องการกำจัดกิเลส) ธุตธรรม (ธรรมเครื่องกำจัดกิเลส) ธุดงค์ (องค์ของผู้กำจัดกิเลส).

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 276

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธุโต ได้แก่ บุคคลกำจัดกิเลส หรือธรรมอันกำจัดกิเลส.

ก็ในบทว่า ธุตวาโท นี้ (พึงทราบว่า) มีบุคคลผู้กำจัดกิเลสไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑ มีบุคคลผู้ไม่กำจัดกิเลสแต่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑ มีบุคคลผู้ไม่กำจัดกิเลส ทั้งไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑ มีบุคคลผู้ทั้งกำจัดกิเลส และมีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑. ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลได้กำจัดกิเลสของตนด้วยธุดงค์ แต่ไม่โอวาท ไม่อนุศาสน์คนอื่นด้วยธุดงค์ เหมือนพระพักกุลเถระ บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้กำจัดกิเลสแต่ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนดังท่านกล่าวว่า คือ ท่านพระพักกุละเป็นผู้กำจัดกิเลส แต่ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส. ก็บุคคลใดไม่กำจัดกิเลสของตนด้วยธุดงค์ แต่โอวาทอนุศาสน์ คนอื่นด้วยธุดงค์อย่างเดียว เหมือนพระอุปนันทเถระ ก็บุคคลนี้ชื่อว่า ไม่เป็นผู้กำจัดกิเลส แต่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนดังท่านกล่าวว่า คือ ท่านพระอุปนันทะศากยบุตร ไม่เป็นผู้กำจัดกิเลส แต่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส. ก็บุคคลใดไม่กำจัดกิเลสของตนด้วยธุดงค์ ไม่โอวาท ไม่อนุศาสน์คนอื่นด้วยธุดงค์ เหมือนพระโลลุทายีเถระ ก็บุคคลนี้ชื่อว่า ไม่เป็นผู้กำจัดกิเลส (และ) ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนดังท่านกล่าวว่า คือ ท่านพระมหาโลลุทายี ไม่เป็นผู้กำจัดกิเลส ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส. ส่วนบุคคลใดสมบูรณ์ด้วยการกำจัดกิเลส และมีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนพระมหากัสสปเถระ บุคคลนี้ชื่อว่า เป็นผู้กำจัดกิเลส และมีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนดัง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 277

ท่านกล่าวว่า คือ ท่านพระมหากัสสปะเป็นผู้กำจัดกิเลส และมีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส ดังนี้.

บทว่า ธุตธมฺมา เวทิตพฺพา ความว่า ธรรม ๕ ประการ อันเป็นบริวารของธุดงคเจตนาเหล่านี้ คือ ความเป็นผู้มักน้อย ๑ ความเป็นผู้สันโดษ ๑ ความเป็นผู้ขัดเกลา ๑ ความเป็นผู้สงัด ๑ ความเป็นผู้มีสิ่งนี้ ๑ ชื่อว่า ธรรมเครื่องกำจัดกิเลส เพราะพระบาลีว่า อปฺปิจฺฉํเยว นิสฺสาย (อาศัยความมักน้อยเท่านั้น) ดังนี้เป็นต้น. ในธรรม ๕ ประการนั้น ความมักน้อยและความสันโดษเป็นอโลภะ. ความขัดเกลาและความวิเวก จัดเข้าในธรรม ๒ ประการ คือ อโลภะและอโมหะ. ความเป็นผู้มีสิ่งนี้คือ ญาณ นั่นเอง. บรรดาอโลภะ และอโมหะเหล่านั้น กำจัดความโลภในวัตถุที่ต้องห้ามด้วยอโลภะ กำจัดโมหะอันปกปิดโทษในวัตถุที่ต้องห้ามเหล่านั้นแหละ ด้วยอโมหะ อนึ่งกำจัดกามสุขัลลิกานุโยคอันเป็นไปโดยมุข คือ การส้องเสพสิ่งที่ทรงอนุญาต ด้วยอโลภะ กำจัดอัตตกิลมถานุโยคอันเป็นไปโดยมุข คือ การขัดเกลายิ่งในธุดงค์ทั้งหลาย ด้วยอโมหะ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านี้ พึงทราบว่าธรรมเครื่องกำจัดกิเลส.

บทว่า ธุตงฺคานิ เวทิตพฺพานิ ความว่า พึงทราบธุดงค์ ๑๓ คือ ปังสุกูลิกังคะ (องค์ของภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร) ฯลฯ เนสัชชิกังคะ (องค์ของภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร).

บทว่า ธุตวาทานํ ยทิทํ มหากสฺสโป ความว่า ทรงสถาปนาไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะในระหว่างภิกษุผู้สอนธุดงค์ว่า มหากัสสปเถระนี้ เป็นยอด. บทว่า มหากสฺสโป ความว่า ท่านกล่าวว่า ท่าน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 278

พระมหากัสสปะองค์นี้ เพราะเทียบกับพระเถระเล็กน้อยเหล่านี้คือ พระอุรุเวลกัสสปะ พระนทีกัสสปะ พระคยากัสสปะ พระกุมารกัสสปะ. ในปัญหากรรม แม้ของพระมหากัสสปะนี้ มีเรื่องที่กล่าวตามลำดับ ดังต่อไป

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ปลายแสนกัป พระศาสนาพระนามว่า ปทุมุตตระ อุบัติขึ้นในโลก เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปอาศัยกรุงหงสวดี ประทับอยู่ในเขมมฤคทายวัน กุฎุมพีนามว่า เวเทหะ มีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฎิ บริโภคอาหารดีแต่เช้าตรู่ อธิษฐานองค์อุโบสถ ถือของหอมและดอกไม้ เป็นต้น ไปพระวิหารบูชาพระศาสดาไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ขณะนั้น พระศาสดาทรงสถาปนาสาวกองค์ที่ ๓ นามว่า มหานิสภเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิสภะเป็นยอดของภิกษุสาวกของเรา ผู้สอนธุดงค์. อุบาสกฟังพระดำรัสนั้นแล้ว เลื่อมใสเวลาจบธรรมกถา มหาชนลุกไปแล้ว จึงถวายบังคมพระศาสดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงรับภิกษาของข้าพระองค์ ในวันพรุ่งนี้. พระศาสดาตรัสว่า อุบาสก ภิกษุสงฆ์มากนะ อุบาสกทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุสงฆ์มีประมาณเท่าไร? พระศาสดาตรัสว่า มีประมาณหกล้านแปดแสนองค์ อุบาสกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงรับภิกษา แม้แต่สามเณรรูปเดียวก็อย่าเหลือไว้ในวิหาร. พระศาสดาทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ. อุบาสกรู้ว่า พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว จึงไปเรือนตระเตรียมมหาทานในวันรุ่งขึ้น ส่งให้คนไปกราบทูลเวลา (ภัตตาหาร) แด่พระศาสดา.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 279

พระศาสดาทรงถือบาตรและจีวร มีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมไปยังเรือนของอุบาสก ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งไว้ถวาย. เวลาเสร็จหลั่งน้ำทักษิโณทก ทรงรับข้าวต้ม เป็นต้น ได้ทรงสละข้าวสวย. แม้อุบาสกก็นั่งอยู่ที่ใกล้พระศาสดา.

ระหว่างนั้น พระมหานิสภเถระกำลังเที่ยวบิณฑบาต เดินไปยังถนนนั้น นั่นแหละ อุบาสกเห็นจึงลุกขึ้นไปไหว้พระเถระแล้ว กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้บาตร พระเถระได้ให้บาตร.อุบาสกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอนิมนต์เข้าไปในเรือนนี้แหละ แม้พระศาสดาก็ประทับนั่งอยู่ในเรือน. พระเถระกล่าวว่า ไม่ควรนะอุบาสก. อุบาสกรับบาตรของพระเถระใส่บิณฑบาตเต็มแล้ว ได้นำออกไปถวาย. จากนั้น ได้เดินส่งพระเถระไปแล้ว กลับมานั่งในที่ใกล้พระศาสดา กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระมหานิสภเถระแม้ข้าพระองค์กล่าวว่า พระศาสดาประทับอยู่ในเรือนก็ไม่ปรารถนาจะเข้ามา พระมหานิสภเถระนั่น มีคุณยิ่งกว่าพระองค์หรือหนอ อันธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ย่อมไม่มีวรรณมัจฉริยะ (ตระหนี่คุณความดีของคนอื่น). ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนอุบาสก เรานั่งคอยภิกษาอยู่ในเรือน แต่ภิกษุนั้นไม่นั่งคอยภิกษาในเรือนอย่างนี้ เราอยู่ในเสนาสนะชายบ้าน ภิกษุนั้นอยู่ในป่าเท่านั้น เราอยู่ในที่มุงบัง ภิกษุนั้นอยู่กลางแจ้งเท่านั้นดังนั้น ภิกษุนั้นมีคุณนี้ๆ ตรัสประหนึ่งทำมหาสมุทรให้เต็ม ฉะนั้น. อุบาสกแม้ตามปกติเป็นผู้เลื่อมใสดียิ่งอยู่แล้ว จึงเป็นประหนึ่งประทีปที่ลุกโพรงอยู่ (ซ้ำ) ถูกราดด้วยน้ำมัน ฉะนั้น คิดว่าต้องการอะไรด้วย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 280

สมบัติอื่นสำหรับเรา เราจักการทำความปรารถนา เพื่อต้องการความเป็นยอด ของภิกษุทั้งหลายเป็นธุตวาทะ ในสำนักของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคต.

อุบาสกแม้นั้นจึงนิมนต์พระศาสดาอีก ถวายมหาทานทำนองนั้น นั่นแหละ ถึง ๗ วัน วันที่ ๗ ถวายไตรจีวรแก่ ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. แล้วหมอบกราบพระบาทของพระศาสดา กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ของข้าพระองค์ผู้ถวายมหาทาน ๗ วันข้าพระองค์จะปรารถนาสมบัติของเทวดา หรือสมบัติของท้าวสุกกะมาร และพรหม สักอย่างหนึ่งก็หาไม่ ก็กรรมของข้าพระองค์นี้ จงเป็นปัจจัยแก่ ความเป็นยอดของภิกษุผู้ทรงธุดงค์ ๓ เพื่อต้องการถึงตำแหน่ง ที่พระมหานิสภเถระถึงแล้ว ในสำนักของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคต. พระศาสดาทรงตรวจว่า ที่อุบาสกนี้ปรารถนาตำแหน่งใหญ่ จักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงเห็นว่าสำเร็จจึงตรัสว่า ท่านปรารถนาอัครฐานอันใหญ่โต พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักอุบัติขึ้นในที่สุดแสนกัปในอนาคต ท่านจักเป็นพระสาวกที่ ๓ ของพระโคดมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามหากัสสปเถระ. อุบาสกได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว คิดว่า ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ตรัสเป็นคำ ๒ จึงได้สำคัญสมบัตินั้น เหมือนดังจะได้ในวันพรุ่งนี้. อุบาสกนั้นดำรงอยู่ชั่วอายุ ถวายทานมีประการต่างๆ รักษาศีล กระทำกุศลกรรมนานัปประการ ตายไปในอัตตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในสวรรค์.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 281

จำเดิมแต่นั้น เขาเสวยสมบัติทั้งในเทวดา และมนุษย์ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เมื่อพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอาศัยกรุงพันธุมดี ประทับอยู่ในมฤคทายวันอันเกษม ก็จิตุจากเทวโลก ไปเกิดในตระกูลพราหมณ์เก่าแก่ตระกูลหนึ่ง.

ก็ในครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี ตรัสพระธรรมเทศนาทุกๆ ปีที่ ๗ ได้มีควานโกลาหลใหญ่หลวง. เทวดาทั้งหลายทั่วชมพูทวีป ได้บอกพราหมณ์นั้นว่า พระศาสดาจักทรงแสดงธรรม. พราหมณ์ได้สดับข่าวนั้น. พราหมณ์นั้น มีผ้านุ่งอยู่ผืนเดียว นางพราหมณีก็เหมือนกัน แต่ทั้งสองคนมีผ้าห่มอยู่ผืนเดียวเท่านั้น จึงปรากฏไปทั่วพระนครว่า เอกสาฎกพราหมณ์. เมื่อพวกพราหมณ์ประชุมกัน ด้วยกิจบางอย่าง ต้องให้นางพราหมณีอยู่บ้าน ตนเองไป เมื่อ (ถึงคราว) พวกพราหมณีประชุมกัน ตนเองต้องอยู่บ้าน นางพราหมณีห่มผ้านั้นไป (ประชุม) ก็ในวันนั้นพราหมณ์พูดกะพราหมณีว่า แม่มหาจำเริญ เธอจักฟังธรรมกลางคืนหรือกลางวัน. พราหมณีพูดว่า พวกฉันชื่อว่าเป็นหญิง แม่บ้าน ไม่อาจฟังกลางคืนได้ ขอฟังกลางวันเถิด แล้วให้พราหมณ์อยู่เฝ้าบ้าน (ตนเอง) ห่มผ้านั้นไปตอนกลางวันพร้อมกับพวกอุบาสิกา ถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฟังธรรมแล้ว กลับมาพร้อมกับพวกอุบาสิกา ทีนั้นพราหมณ์ได้ให้พราหมณีอยู่บ้าน (ตนเอง) ห่มผ้านั้นไปวิหาร. สมัยนั้นพระบรมศาสดาประทับนั่งบนธรรมาสน์ ที่เขาตกแต่งไว้ ท่ามกลางบริษัท ทรงจับพัดอันวิจิตร ตรัสธรรมกถาประหนึ่งทำสัตว์ ให้ข้ามอากาศคงคา และประหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 282

ทรงกระทำเขาสิเนรุให้เป็นโม่กวนสาคร ฉะนั้น. เมื่อพราหมณ์นั่งฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท ปีติ ๕ ประการเกิดขึ้น เต็มทั่วสรีระในปฐมยามนั่นเอง พราหมณ์นั้นดึงผ้าที่ตนห่มออกมาคิดว่า จักถวายพระทศพล. ครั้งนั้น ความตระหนี่ชี้โทษถึงพันประการ เกิดขึ้นแก่พราหมณ์นั้นว่า พราหมณีกับเรา มีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น ผ้าห่มผืนอื่นไรๆ ไม่มี ก็ธรรมดาว่าไม่ห่มผ้าก็ออกไปข้างนอกไม่ได้ จึงตกลงใจไม่ต้องการถวายโดยประการทั้งปวง ครั้นเมื่อปฐมยามล่วงไป ปีติเหมือนอย่างนั้น นั่นแหละ เกิดขึ้นแก่พราหมณ์นั้น แม้ในมัชฌิมยาม พราหมณ์คิดเหมือนอย่างนั้น แล้วไม่ได้ถวายเหมือนเช่นนั้น. ครั้นเมื่อมัชฌิมยามล่วงไป ปีติเหมือนอย่างนั้น นั่นแหละ เกิดขึ้นแก่พราหมณ์นั้น แม้ในปัจฉิมยาม. พราหมณ์นั้นคิดว่า เป็นไรเป็นกัน ค่อยรู้กันทีหลัง ดังนี้แล้ว ดึงผ้ามาวางแทบพระบาทพระบรมศาสดา. ต่อแต่นั้นก็งอมือซ้ายเอามือขวาตบลง ๓ ครั้งแล้วบันลือขึ้น ๓ วาระว่า ชิตํ เม ชิตํ เม ชิตํ เม (เราชนะแล้วๆ).

สมัยนั้น พระเจ้าพันธุมราชประทับนั่ง สดับธรรมอยู่ภายในม่านหลังธรรมาสน์ อันธรรมดาพระราชาไม่ทรงโปรดเสียงว่า ชิตํ เม ชิตํ เม จึงส่งราชบุรุษไปด้วย พระดำรัสว่า เธอจงไปถามพราหมณ์นั้นว่า เขาพูดทำไม. พราหมณ์นั้นถูกราชบุรุษไปถาม จึงกล่าวว่า คนอื่นนอกจากข้าพเจ้า ขึ้นยานคือช้างเป็นต้น ถือดาบและโล่หนังเป็นต้น จึงได้ชัยชนะกองทัพข้าศึก ชัยชนะนั้นไม่น่าอัศจรรย์ ส่วนเราได้ย่ำยีจิตตระหนี่แล้ว ถวายผ้าที่ห่มอยู่แด่พระทศพล เหมือนคนเอาค้อนทุบตัวโคโกง ที่ตามมาข้างหลัง ทำให้มันหนีไป ชัยชนะของเรานั้นจึงน่าอัศจรรย์. ราชบุรุษจึงไป

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 283

กราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระราชา. พระราชารับสั่งว่า พนาย พวกเราไม่รู้สิ่งที่สมควรแก่พระทศพล พราหมณ์รู้ จึงให้ส่งผ้าคู่หนึ่ง (ผ้านุ่งกับผ้าห่ม) ไปพระราชทาน พราหมณ์เห็นผ้าคู่นั้นแล้วคิดว่า พระราชานี้ ไม่พระราชทานอะไรเป็นครั้งแรกแก่เรา ผู้นั่งนิ่งๆ เมื่อเรากล่าวคุณทั้งหลายของพระบรมศาสดา จึงได้พระราชทาน จะมีประโยชน์อะไรแก่เรากับผ้าคู่ ที่อาศัยพระคุณของพระบรมศาสดาเกิดขึ้น จึงได้ถวายผ้าคู่แม้คู่นั้นแด่พระทศพลเสียเลย. พระราชาตรัสถามว่า พราหมณ์ทำอย่างไร ทรงสดับว่า พราหมณ์ถวายผ้าคู่แม้นี้ แด่พระตถาคตเท่านั้น จึงรับสั่งให้ส่งผ้าคู่ ๒ ชุดแม้อื่นไปพระราชทาน. พราหมณ์นั้นได้ถวายผ้าคู่ ๒ ชุดแม้นั้น. พระราชาทรงส่งผ้าคู่ ๔ ชุดแม้อื่นไปพระราชทาน ทรงส่งไปพระราชทานถึง ๓๒ คู่ ด้วยประการอย่างนี้. ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า การทำดังนี้ เป็นเหมือนให้เพิ่มขึ้นแล้ว จึงจะรับเอา จึงถือเอาผ้า ๒ คู่ คือเพื่อประโยชน์แก่ตนคู่ ๑ เพื่อนางพราหมณีคู่ ๑ แล้วถวายเฉพาะพระทศพล ๓๐ คู่. จำเดิมแต่นั้น พราหมณ์ก็ได้เป็นผู้สนิทสนมกับพระบรมศาสดา. ครั้นวันหนึ่งพระราชาทรงสดับธรรม ในสำนักของพระบรมศาสดา ในฤดูหนาว ได้พระราชทานผ้ากัมพลแดง สำหรับห่มส่วนพระองค์ มีมูลค่าพันหนึ่งกะพราหมณ์ แล้วรับสั่งว่า จำเดิมแต่นี้ไป ท่านจงห่มผ้ากัมพลแดงผืนนี้ฟังธรรม พราหมณ์นั้นคิดว่า เราจะประโยชน์อะไรกับผ้ากัมพลแดงนี้ ที่จะน้อมนำเข้าไปในกายอันเปื่อยเน่านี้ จึงได้ทำเป็นเพดานเหนือเตียงของพระตถาคต ในภายในพระคันธกุฏีแล้วก็ไป. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปพระวิหารแต่เช้าตรู่ ประทับนั่งในที่ใกล้พระบรมศาสดา ในพระคันธกุฏี

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 284

ก็ในขณะนั้น พระพุทธรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ กระทบที่ผ้ากัมพล ผ้ากัมพลก็บรรเจิดจ้าขึ้น พระราชาทอดพระเนตรเห็นก็จำได้ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้ากัมพลผืนนี้ของข้าพระองค์ๆ ให้เอกสาฎกพราหมณ์. มหาบพิตร พระองค์บูชาพราหมณ์ พราหมณ์บูชาอาตมภาพ. พระราชาทรงเลื่อมใสว่า พราหมณ์รู้สิ่งที่เหมาะที่ควร เราไม่รู้ จึงพระราชทานสิ่งที่เป็นของเกื้อกูลแก่มนุษย์ ทุกอย่างๆ ละ ๘ ชนิด ๘ ครั้ง ให้เป็นของประทานชื่อว่า สัพพัฏฐกทาน แล้วทรงตั้งให้เป็นปุโรหิต. พราหมณ์นั้นคิดว่า ชื่อว่าของ ๘ ชนิด ๘ ครั้งก็เป็น ๖๔ ชนิด จึงสลากภัต ๖๔ ที่ ให้ทานรักษาศีลตลอดชีวิต จุติจากชาตินั้นไปเกิดในสวรรค์ จุติจากสวรรค์กลับมาเกิดในเรือนของกุฏุมพี ในกรุงพาราณสี ในระหว่างกาลของพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมนะ และพระกัสสปทศพล ในกัปนี้. เขาเจริญวัยก็แต่งงานมีเหย้าเรือน วันหนึ่ง เดินเที่ยวพักผ่อนไปในป่า.

ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้ากระทำจีวรกรรม (คือการเย็บจีวร) อยู่ที่ริมแม่น้ำ ผ้าอนุวาต (ผ้าแผ่นบางๆ ที่ทาบไปตามชายสบงจีวร และสังฆาฏิ) ไม่พอจึงเริ่มจะพับเก็บ เขาเห็นเข้าจึงกล่าวถามว่า เพราะอะไรจึงจะพับเก็บเสียเล่า เจ้าข้า. พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ผ้าอนุวาตไม่พอ. กุฏุมพีกล่าวว่า โปรดเอาผ้าสาฎกนี้ทำเถิดเจ้าข้า. เขาถวายผ้าสาฎกแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ในที่ที่ข้าพเจ้าเกิดแล้วๆ ความเสื่อมไรๆ ขอจงอย่าได้มี. ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า เข้าไปบิณฑบาตแม้ในเรือนของเขา ในเมื่อภรรยากับน้องสาวกำลังทะเลาะกัน. ทีนั้น น้องสาวของเขา

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 285

ถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว กล่าวอย่างนี้มุ่งถึงภรรยาของเขา ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้เราห่างไกลหญิงพาลเห็นปานนี้ ร้อยโยชน์. ภรรยาของเขายืนอยู่ที่ลานบ้านได้ยินจึงคิดว่า พระรูปนี้จงอย่าได้ฉันอาหารที่นางคนนี้ถวาย จึงจับบาตรมาเทบิณฑบาตทิ้ง แล้วเอาเปือกตมมาใส่จนเต็ม. นางเห็นจึงกล่าวว่า หญิงพาลเจ้าจงด่าจงบริภาษเราก่อนเถิด การเทภัตตาหารจากบาตรของท่าน ผู้ได้บำเพ็ญบารมีมา ๒ อสงไขยเห็นปานนี้แล้ว ใส่เปือกตมให้ไม่สมควรเลย. ครั้งนั้น ภรรยาของเขาเกิดความสำนึกขึ้นได้จึงกล่าวว่า โปรดหยุดก่อนเจ้าข้า แล้วเทเปือกตมออก ล้างบาตรชะโลมด้วยผงเครื่องหอมแล้ว ได้ใส่ของมีรสอร่อย ๔ อย่างเต็มบาตรแล้ว วางถวายบาตรอันผุดผ่องด้วยเนยใส มีสีเหมือนกลีบปทุม อันลาดรดลงข้างบน ในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า ตั้งความปรารถนาว่า สรีระของเราจงผุดผ่อง เหมือนบิณฑบาตอันผุดผ่องนี้เถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนาแล้วเหาะขึ้นสู่อากาศ.

ผัวเมียแม้ทั้งสองนั้นดำรงอยู่ชั่วอายุแล้ว ไปเกิดบนสวรรค์จุติจากสวรรค์นั้นอีกครั้ง อุบาสกเกิดเป็นบุตรเศรษฐีมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในกรุงพาราณสี ในครั้งพระกัสสปทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้า ฝ่ายภรรยาเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีเหมือนกัน เมื่อเขาเจริญวัยพวกญาติก็นำธิดาของเศรษฐีคนนั้นแหละมา. ด้วยอานุภาพของกรรมซึ่งมีวิบากอันไม่น่าปรารถนาในชาติก่อน พอนาง (ถูกส่งตัว) เข้าไปยังตระกูลของสามี ทั่วทั้งสรีระเกิดกลิ่นเหม็นเหมือนส้วมที่เขาเปิดไว้ (ตั้งแต่ย่างเข้าไป) ภายในธรณีประตู. เศรษฐีกุมาร

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 286

ถามว่า นี้กลิ่นของใคร ได้ฟังว่า ของลูกสาวเศรษฐี จึงกล่าวว่านำออกไปๆ แล้วส่งกลับไปเรือนตระกูล โดยทำนองที่มา นางถูกส่งกลับมาถึง ๗ แห่งโดยทำนองนี้ นั่นแล.

ก็สมัยนั้น พระกัสสปทศพลเสด็จปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนเริ่มก่อพระเจดีย์สูงโยชน์หนึ่ง ด้วยอิฐทองสีแดงทั้งหนาทั้งแน่น มีราคาก้อนละหนึ่งแสน. เมื่อเขากำลังสร้างพระเจดีย์กันอยู่ เศรษฐีธิดาคนนั้นคิดว่า เราต้องถูกส่งกลับถึง ๗ แห่งแล้ว จะประโยชน์อะไรกับชีวิตของเรา จึงให้ยุบสิ่งของเครื่องประดับตัว ทำอิฐทองยาวศอก กว้างคืบ สูง ๔ นิ้ว ต่อแต่นั้นถือก้อนหรดาล และมโนสิลา เก็บเอาดอกบัว ๘ กำ ไปยังสถานที่ที่สร้างพระเจดีย์. ขณะนั้น (๑) แถวก้อนอิฐแถวหนึ่งก่อมาต่อกันขาดอิฐแผ่นต่อเชื่อม นางจึงพูดกับช่างว่า ท่านจงวางอิฐก้อนนี้ตรงนี้. นายช่างกล่าวว่า นางผู้เจริญ ท่านมาได้เวลา จงวางเองเถิด. นางจึงขึ้นไปเอาน้ำมันผสมกับหรดาล และมโนสิลาวางอิฐติดอยู่ได้ ด้วยเครื่องยึดนั้นแล้ว บูชาด้วยดอกอุบล ๘ กำมือ ข้างบน (อิฐ) ไหว้แล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ในที่ที่เราเกิดกลิ่นจันทน์จงฟุ้งออกจากตัว กลิ่นอุบลจงฟุ้งออกจากปาก แล้วไหว้พระเจดีย์ ทำประทักษิณแล้วกลับไป. ครั้นแล้วในขณะนั้นเอง เศรษฐีบุตรก็เกิดสติ ปรารภถึงเศรษฐีธิดาที่เขานำมาเรือนครั้งแรก. แม้ในพระนครก็มีนักขัตฤกษ์เสียงกึกก้อง เขาจึงพูดกับคนรับใช้ว่าคราวนั้น เขานำเศรษฐีธิดามาในที่นี้ นางอยู่ที่ไหน. คนรับใช้กล่าวว่าอยู่ที่เรือนตระกูลขอรับ นายท่านเศรษฐีบุตรกล่าวว่า พวกท่านจง


(๑) ปาฐะว่า อิฏฺกา สนฺธึ ปริกฺขิปิตฺวา พม่าเป็น อิฏฺกาปนฺติ ปริกฺขิปิตฺวา แปลตามพม่า

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 287

พามา เราจักเล่นนักขัตฤกษ์กับนาง. พวกคนรับใช้ไปไหว้นางแล้วยืนอยู่ ถูกนางถามว่า พ่อทั้งหลายมาทำไมกัน จึงบอกเรื่องราวที่มานั้น นางกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย เราเอาเครื่องอาภรณ์บูชาพระเจดีย์เสียแล้ว เราไม่มีเครื่องอาภรณ์ คนรับใช้เหล่านั้น จึงไปบอกแก่บุตรเศรษฐีๆ กล่าวว่า จงนำมาเถอะ นางจักได้เครื่องประดับนั้น พวกเขาจึงไปนำนางมา กลิ่นจันทน์และกลิ่นอุบลขาบฟุ้งไปทั่วเรือน พร้อมกับที่นางเข้าไปในเรือน. บุตรเศรษฐีจึงถามนางว่า ครั้งแรก กลิ่นเหม็นฟุ้งออกจากตัวก่อน แต่บัดนี้ กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากตัว กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปากของเธอ นี่อะไรกัน. ธิดาเศรษฐีจึงบอกกรรมที่ตนกระทำตั้งแต่ต้น. บุตรเศรษฐีเลื่อมใสว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นนิยยานิกธรรมหนอ จึงเอาเครื่องปกคลุม ที่ทำด้วยผ้ากัมพลหุ้มพระเจดีย์ทอง มีประมาณโยชน์หนึ่ง แล้วเอาดอกประทุมทองขนาดเท่าล้อรถประดับที่พระเจดีย์ทองนั้น. ดอกประทุมทองที่แขวนห้อยไว้มีขนาด ๑๒ ศอก. บุตรเศรษฐีนั้น ดำรงอยู่ชั่วอายุในมนุษยโลกนั้นแล้ว เกิดในสวรรค์ จุติจากสวรรค์นั้น บังเกิดในตระกูลอำมาตย์ตระกูลหนึ่ง (ซึ่งพำนักอยู่) ในที่ประมาณโยชน์หนึ่งจากกรุงพราณสี ฝ่ายลูกสาวเศรษฐีจุติจากเทวโลก เกิดเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ ในราชตระกูล.

เมื่อคนทั้งสองนั้นเจริญวัย เขาป่าวร้องงานนักขัตฤกษ์ ในหมู่บ้านที่กุมารอยู่. กุมารนั้นกล่าวกะมารดาว่า แม่จ๋า แม่จงให้ผ้าสาฎกฉัน ฉันจะเล่นนักขัตฤกษ์ มารดาได้นำผ้าที่ใช้แล้วมาให้. เขาปฏิเสธว่า ผ้านี้หยาบจ้ะแม่. นางก็นำผืนอื่นมาให้ แม้ผ้าผืนนั้นเขาก็ปฏิเสธ. ทีนั้น มารดาจึงกล่าวกะเขาว่า พ่อ เราเกิดในเรือน

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 288

เช่นนี้ พวกเราไม่มีบุญที่จะได้ผ้าเนื้อละเอียดกว่านี้. เขากล่าวว่าแม่จ๋า ถ้าอย่างนั้น ฉันจะไปยังที่ที่จะได้. มารดากล่าวว่า ลูกเอ๋ย แม่ปรารถนาให้เจ้าได้ราชสมบัติ ในกรุงพาราณสีวันนี้ทีเดียวน่ะ. เขาไหว้มารดาแล้วกล่าวว่า ฉันไปละแม่. มารดาว่า ไปเถอะพ่อ นัยว่ามารดาของเขามีความคิดอย่างนี้ว่า มันจะไปไหน คงจักนั่งที่นี่ ที่นั่น อยู่ในเรือนหลังนี้แหละ. ก็กุมารนั้นออกไปตามกำหนดของบุญ ไปถึงกรุงพาราณสี นอนคลุมศีรษะอยู่บนแผ่นมงคลสิลาอาสน์ ในพระราชอุทยาน. ก็พระเจ้าพาราณสีนั้น สวรรคตแล้วเป็นวันที่๗. อำมาตย์ทั้งหลาย ทำการถวายพระเพลิงแล้ว นั่งปรึกษาอยู่ที่พระลานหลวงว่า พระราชามีแต่พระธิดา ไม่มีพระราชโอรสราชสมบัติ ไม่มีพระราชาไม่สมควร ใครจะเป็นพระราชา ต่างพูดกันว่า ท่านเป็น ท่านเป็น. ปุโรหิตกล่าวว่า ไม่ควรเลือกมากเอาเถอะ พวกเราจักเชิญเทวดาแล้วเสี่ยงบุษยรถ (รถเสี่ยงปล่อยไป เพื่อหาผู้ที่สมควรจะครองราชย์ เมื่อพระราชาองค์ก่อนสวรรคตแล้ว ไม่มีรัชทายาท) ไป. อำมาตย์เหล่านั้น เทียมม้าสินธพ ๔ ตัว มีสีดังดอกโกมุทแล้วตั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง กับเศวตรฉัตรไว้บนรถ นั่นแหละ ปล่อยบุษยรถนั้นไปให้ประโคมดนตรีไปข้างหลัง. รถออกทางประตูด้านทิศปราจีน บ่ายหน้าไปทางพระราชอุทยาน. อำมาตย์บางพวกกล่าวว่า รถบ่ายหน้าไปทางพระราชอุทยาน เพราะความคุ้นเคย พวกท่านจงให้กลับมา ปุโรหิตกล่าวว่า อย่าให้กลับ. รถทำประทักษิณกุมารแล้ว ได้หยุดเตรียมพร้อมที่จะให้ขึ้น ปุโรหิตเลิกชายผ้าห่ม ตรวจพื้นเท้ากล่าวว่า ทวีปนี้จงยกไว้ ผู้นี้สมควรครองราชย์ ในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปสองพันเป็นบริวาร แล้วสั่งให้ประโคมดนตรีขึ้น ๓ ครั้ง ว่า

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 289

พวกท่านจงประโคมดนตรีขึ้นอีก.

ครั้งนั้น กุมารเปิดหน้ามองดูแล้วพูดว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านมาด้วยกิจกรรมอะไรกัน. พวกอำมาตย์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพราชสมบัติถึงแก่พระองค์. กุมาร- พระราชาไปไหน. อำมาตย์- ทิวงคตแล้ว นาย. กุมาร- ล่วงไปกี่วันแล้ว. อำมาตย์- วันนี้เป็นวันที่ ๗. กุมาร- พระราชโอรส หรือพระราชธิดาไม่มีหรือ? อำมาตย์- ข้าแต่สมมติเทพ พระราชธิดามี พระราชโอรสไม่มี. กุมาร- เราจักครองราชย์. อำมาตย์เหล่านั้น สร้างมณฑปสำหรับอภิเษกในขณะนั้นทันที ประดับพระราชธิดา ด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง นำมายังพระราชอุทยานทำการอภิเษกกับกุมาร.

ครั้งนั้นเมื่อพระกุมารทำการอภิเษกแล้ว ประชาชนนำผ้ามีราคาแสนหนึ่งมาถวาย. พระกุมารกล่าวว่า นี้อะไรพ่อ. พวกอำมาตย์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ผ้านุ่งพระเจ้าข้า, พระกุมาร- เนื้อหยาบมิใช่หรือ พ่อ. ผ้าอื่นที่เนื้อละเอียดกว่านี้ไม่มีหรือ? อำมาตย์- ข้าแต่สมมติเทพ ในบรรดาผ้าที่มนุษย์ทั้งหลาย ใช้สอย ผ้าที่เนื้อละเอียดกว่านี้ ไม่มี พระเจ้าข้า. พระกุมาร- พระราชาของพวกท่าน ทรงนุ่งผ้าเห็นปานนี้หรือ? อำมาตย์- พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ. พระกุมาร- พระราชาของพวกท่านคงจะไม่มีบุญ พวกท่านจงนำพระเต้าทองมา เราจักได้ผ้า. อำมาตย์เหล่านั้น นำพระเต้าทองมาถวาย. พระกุมารนั้นลุกขึ้นล้างพระหัตถ์ บ้วนพระโอษฐ์. เอาพระหัตถ์วักน้ำสาดไปทางทิศตะวันออก. ในขณะนั้นเอง ต้นกัลปพฤกษ์ก็ชำแรกแผ่นดินทึบผุดขึ้นมา ๘ ต้น ทรงวักน้ำสาดไปอีกทั่วทิศ ๓ ทิศอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 290

คือ ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ. ต้นกัลปพฤกษ์ผุดขึ้นในทิศทั้ง ๔ ทิศละ ๘ ต้น รวมเป็น ๓๒ ต้น. พระกุมารนั้นทรงนุ่งผ้าทิพผืนหนึ่ง ทรงห่มผืนหนึ่ง แล้วรับสั่งว่า พวกท่านจงเที่ยวตีกลองป่าวร้องอย่างนี้ว่า ในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทราช พวกสตรีที่ทำหน้าที่กรอด้าย อย่ากรอด้าย ดังนี้ แล้วให้ยกฉัตรขึ้น ทรงประดับตกแต่งพระองค์ ทรงขึ้นช้างตัวประเสริฐเสด็จเข้าพระนคร ขึ้นสู่ปราสาทเสวยมหาสมบัติ.

ครั้นกาลเวลาล่วงไปด้วยอาการอย่างนี้ วันหนึ่ง พระเทวีเห็นมหาสมบัติของพระราชาแล้ว ทรงแสดงอาการของความกรุณาว่า โอ ท่านผู้มีตปะ ถูกพระราชาตรัสถามว่า นี่อะไรกันนะ เทวีจึงทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ สมบัติของพระองค์ยิ่งใหญ่ ในอดีตกาลพระองค์ได้ทรงเชื่อต่อพระพุทธะทั้งหลาย ได้ทำกรรมดีไว้ เดี๋ยวนี้ยังไม่ทรงกระทำกุศล อันจะเป็นปัจจัยแก่อนาคต พระราชาตรัสว่า เราจักให้แก่ใคร ผู้มีศีลไม่มี. พระเทวีทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชมพูทวีปไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลายดอก พระองค์โปรดทรงตระเตรียมทานไว้เท่านั้น หม่อมฉันจะขอพระอรหันต์ในวันรุ่งขึ้น พระราชารับสั่งให้ตระเตรียมทานไว้ ที่ประตูด้านทิศปราจีน. พระเทวีทรงอธิษฐานองค์อุโบสถแต่เช้าตรู่ บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออกหมอบลงบนปราสาทชั้นบน แล้วกล่าวว่า ถ้าพระอรหันต์มีอยู่ในทิศนี้ พรุ่งนี้ขอนิมนต์มารับภิกษาหารของข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด. ในทิศนั้นไม่มีพระอรหันต์ ก็ได้ให้สักการะที่เตรียมไว้นั้น แก่คนกำพร้าและยาจก ในวันรุ่งขึ้นตระเตรียมทานไว้ ทางประตูทิศใต้แล้ว ได้

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 291

กระทำเหมือนอย่างนั้น ในวันรุ่งขึ้น ทางประตูทิศตะวันตก ก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. ก็ในวันที่ทรงตระเตรียมไว้ ทางประตูทิศเหนือ พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นพี่ชายของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ผู้เป็นโอรสของพระนางปทุมวดี อยู่ในป่าหิมวันต์ เรียกพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นน้องชาย ซึ่งถูกพระเทวีนิมนต์อย่างนั้นมาว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระเจ้านันทราชนิมนต์ ท่านทั้งหลายจงรับนิมนต์ของท้าวเธอเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น รับนิมนต์แล้ว ในวันรุ่งขึ้นล้างหน้าที่สระอโนดาษ แล้วเหาะไปลงที่ประตูทิศเหนือ.

พวกมนุษย์มากราบทูลแก่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ มาแล้วพระเจ้าข้า. พระราชาเสด็จไปพร้อมกับพระเทวี ไหว้แล้ว รับบาตรนิมนต์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายขึ้นสู่ปราสาท ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น บนปราสาทนั้น ในเวลาเสร็จภัตตกิจ พระราชาหมอบที่ใกล้เท้าพระสังฆเถระ พระเทวีหมอบที่ใกล้เท้าพระสังฆนวกะ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจักไม่ลำบากด้วยเรื่องปัจจัย และข้าพเจ้าทั้งหลาย ก็จักไม่ทำบุญให้เสื่อม ขอท่านทั้งหลายจงให้ปฏิญญาเพื่ออยู่ในที่นี้ ตลอดอายุของข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด ครั้นให้ท่านรับปฏิญญาแล้ว จึงให้ตกแต่งสถานที่สำหรับอยู่อาศัย แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ในพระอุทยาน โดยอาการทั้งปวงคือ บรรณศาลา ๕๐๐ หลัง ที่จงกรม ๕๐๐ ที่ แล้วให้ท่านอยู่ในที่นั้น นั่นแล. ครั้นกาลเวลาล่วงไป ด้วยประการอย่างนั้น เมืองชายแดน

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 292

ของพระราชาก่อการกำเริบขึ้น. พระองค์ทรงโอวาทพระเทวีว่า พี่จะไประงับเมืองชายแดน เธออย่าละเลย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วเสด็จออกไปจากพระนคร เมื่อพระองค์ยังไม่เสด็จกลับ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็สิ้นอายุสังขาร.

พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้า เล่นฌานตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ในเวลาอรุณขึ้น ยืนเหนี่ยวแผ่นกระดานสำหรับยึด ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าที่เหลือทั้งหมดทีเดียว ก็ปรินิพพานแล้วโดยวิธีนั้น. ในวันรุ่งขึ้น พระเทวีให้กระทำที่นั่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ให้ชะอุ่มด้วยของสดเขียว โปรยดอกไม้ จุดเครื่องหอม นั่งคอย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมา เมื่อไม่เห็นมา จึงส่งราชบุรุษไปว่า พ่อจงไป จงรู้ว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ไม่มีความผาสุกอย่างไร? ราชบุรุษนั้นไปแล้ว เปิดประตูบรรณศาลาของพระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อไม่พบในบรรณศาลานั้น จึงไปยังที่จงกรม เห็นท่านยืนพิงแผ่นกระดาน สำหรับยึด จึงไหว้แล้วกล่าวว่า ได้เวลาแล้วเจ้าข้า. สรีระของท่านผู้ปรินิพพานแล้ว จักพูดได้อย่างไร. ราชบุรุษนั้นคิดว่า เห็นจะหลับ จึงเดินไปเอามือลูบที่หลังเท้า รู้ว่าปรินิพพานแล้ว เพราะเท้าทั้งสองเย็นและแข็ง จึงไปยังสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ เมื่อรู้ว่าองค์ที่ ๒ ปรินิพพานแล้วอย่างนั้น ก็ไปยังสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่ ๓ รู้ว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกองค์ปรินิพพานแล้ว ด้วยประการดังนี้ จึงไปยังราชสกุล พระเทวีตรัสถามว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไปไหนพ่อ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี พระปัจเจกพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 293

ทั้งหลาย ปรินิพพานแล้ว. พระเทวีทรงกรรแสงคร่ำครวญ เสด็จออกไปที่บรรณศาลานั้นพร้อมกับชาวเมือง รับสั่งให้เล่นสาธุกีฬา (การเล่นที่เกี่ยวกับเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) กระทำฌาปนกิจสรีระ ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วเก็บธาตุสร้างพระเจดีย์ไว้. พระราชาทรงปราบเมืองชายแดนให้สงบแล้ว เสด็จกลับมา รับสั่งถามพระเทวี ผู้เสด็จมาต้อนรับว่า แม่มหาจำเริญ เธอไม่ประมาท (คือไม่ละเลย) ในพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายหรือ? พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายสบายดีหรือ? พระเทวีทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายปรินิพพานเสียแล้ว. พระราชาทรงพระดำริว่า มรณะยังเกิดแก่บัณฑิตทั้งหลาย เห็นปานนี้ พวกเราจะพ้นไปแต่ไหน พระองค์ไม่เสด็จไปพระนคร เสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยานเลยทีเดียว รับสั่งให้เรียกพระโอรสองค์ใหญ่มาแล้ว มอบราชสมบัติแก่พระโอรสนั้นแล้วโอวาท. ส่วนพระองค์ทรงผนวช เป็นสมณะประเภทหนึ่ง. ฝ่ายพระเทวี เมื่อพระราชาทรงผนวชแล้ว ทรงดำริว่า เราจะทำอะไร จึงทรงผนวชอยู่ในพระราชอุทยานนั้นเอง พระราชาและพระเทวีแม้ทั้งสองนั้น บำเพ็ญฌานได้จุติจากอัตตภาพนั้น ไปบังเกิดในพรหมโลก.

เมื่อคนทั้งสองนั้น อยู่ในพรหมโลกนั้น นั่นแหละ พระศาสดาของเราทั้งหลายอุบัติขึ้นในโลก ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์โดยลำดับ. เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์นั้น ปิบผลิมาณพนี้ บังเกิดในท้องภรรยาหลวงของกบิลพราหมณ์ ในพราหมณคาม ชื่อมหาติตถะ ในมคธรัฐ นาง

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 294

ภัททา กาปิลานี นี้บังเกิดในท้องของภรรยาหลวง ของพราหมณ์โกลิยโคตร ในสาคลนครในมคธรัฐ. เมื่อชนทั้งสองนั้นเติบโตขึ้นโดยลำดับ เมื่อนางภัททามีอายุถึงปีที่ ๑๖ ในปีที่ ๒๐ ของปิบผลิมาณพ บิดามารดามองดูบุตรแล้ว แค่นได้อย่างหนักว่า พ่อ เจ้าก็เติบโตแล้วธรรมดาว่า ตระกูลวงศ์จำต้องให้ดำรงอยู่. มาณพกล่าวว่า ท่านทั้งสองอย่าได้กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ เข้าหูลูกเลย ลูกจะปฏิบัติตราบเท่าที่ท่านทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ ต่อเมื่อท่านทั้งสองล่วงลับไปแล้ว ลูกจักบวช. บิดามารดาให้เวลาล่วงเลยไป ๒ - ๓ วันก็กล่าวอีก แม้มาณพนั้น ก็ปฏิเสธเหมือนเดิม นั้นแหละ ตั้งแต่นั้นมารดาได้กล่าว (ถึงการแต่งงาน) อยู่เรื่อยๆ ทีเดียว.

มาณพคิดว่า เราจะยังมารดาให้ยินยอม จึงเอาทองคำสีสุกปลั่งพันลิ่ม ให้ช่างทองทำรูปหญิงคนหนึ่ง ในเวลาเสร็จงานมีการขัดและบุบเป็นต้น ซึ่งรูปหญิงนั้น จึงให้รูปหญิงนั้นนุ่งผ้าแดงประดับด้วยดอกไม้อันสมบูรณ์ด้วยสี และเครื่องประดับต่างๆ แล้วให้เรียกมารดามาพูดว่า คุณแม่ เมื่อลูกได้อารมณ์เห็นปานนี้จึงจะแต่งงาน ถ้าไม่ได้จักไม่แต่ง. นางพราหมณีเป็นคนมีปัญญา จึงคิดว่า บุตรของเราเป็นผู้มีบุญ ให้ทานไว้แล้ว สร้างอภินิหารไว้แล้ว เมื่อจะกระทำบุญ คงจะไม่ทำคนเดียว หญิงผู้ทำบุญร่วมกับบุตรของเรานี้ จักมีส่วนเปรียบด้วยทองคำแน่แท้ จึงให้เรียกพราหมณ์ ๘ คนมา เลี้ยงดูให้อิ่มหนำ ด้วยสิ่งที่ต้องการทุกอย่าง ให้ยกรูปทองคำขึ้นตั้งบนรถแล้ว ส่งไปว่าพ่อทั้งหลาย จงพากันไป พบเห็นทาริกาเห็นปาน (ดังรูปทอง) นี้ ในตระกูลที่เสมอกันกับเราโดยชาติ โคตร

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 295

และโภคทรัพย์ ในที่ใด จงให้รูปทองนี้แหละให้เป็นบรรณการ ในที่นั้น.

พราหมณ์เหล่านั้น พากันออกไปด้วยตระหนักว่า นี้เป็นกิจกรรมชื่อว่าของพวกเรา จึงคิดว่าจะไปที่ไหน ตกลงกันว่า ธรรมดามัททรัฐเป็นบ่อเกิดแห่งสตรี พวกเราจักไปมัททรัฐ ดังนี้แล้ว จึงได้ไปยังสาคลนครในมัททรัฐ. ครั้งนั้น แม่นมของนางภัททา ให้นางภัททาอาบน้ำแล้วแต่งตัว ให้นั่งในห้องอันโอ่อ่าแล้ว (ตนเอง) จะไปอาบน้ำ เห็นรูปนั้น จึงขู่ด้วยเข้าใจว่า ธิดาแห่งแม่เจ้าของเรามาที่นี้กล่าวว่า แน่ะแม่หัวดื้อ มาที่นี่ทำไม แล้วเงื้อฝ่ามือ ตีที่ข้างแก้ม (พร้อมกับ) พูดว่า จงรีบไป. มือสะท้อนเหมือนตีหิน. แม่นมนั้นรู้ว่าเป็นของแข็งด้วยอาการอย่างนี้ จึงเลี่ยงไปพูดว่า เราเห็นรูปทองเข้าก็เกิดความเข้าใจว่า ธิดาแห่งแม่เจ้าของเรา ก็นางนี้ แม้จะเป็นผู้รับผ้านุ่งของธิดาแห่งแม่เจ้าของเรา ก็ยังไม่เหมาะสม. ทีนั้น พวกมนุษย์เหล่านั้น พากันห้อมล้อมนางแล้วถามว่า ธิดาแห่งเจ้านายของท่านเห็นปานนี้ไหม? หญิงแม่นมพูดว่า นางนี่น่ะหรือ ธิดาแห่งแม่เจ้าของเรา งามยิ่งกว่านางนี้ร้อยเท่า พันเท่า เมื่อเธอนั่งอยู่ในห้องประมาณ ๑๒ ศอก กิจด้วยดวงประทีปไม่มี เธอขจัดความมืดด้วยแสงสว่างจากสรีระ นั่นแหละ. พวกมนุษย์เหล่านั้นกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น จงมากันเถอะ แล้วถือเครื่องบูชา ยกรูปทองคำขึ้นบนรถแล้วหยุด อยู่ที่ประตูบ้านของพราหมณ์โกสิยโคตร แจ้งให้ทราบถึงการมา.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 296

พราหมณ์ทำปฏิสันถารแล้วถามว่า พวกท่านมาจากไหน? ชนเหล่านั้นตอบว่า มาจากเรือนของกบิลพราหมณ์ ในมหาติตถคาม ในมคธรัฐ. พราหมณ์ถาม มาเพราะเหตุไร? ชนเหล่านั้นตอบ เพราะเหตุชื่อนี้ พราหมณ์กล่าวว่า งามละพ่อทั้งหลาย พราหมณ์ของพวกเรามีชาติ โคตร และทรัพย์สมบัติเสมอกัน เราจักให้ทาริกา (ลูกสาว) ดังนี้ แล้วก็รับเครื่องบรรณาการ. ชนเหล่านั้นส่งข่าวแก่กบิลพราหมณ์ว่า ได้ทาริกาแล้ว ท่านจงทำสิ่งที่จะต้องทำ. กบิลพราหมณ์ได้สดับข่าวนั้นแล้ว จึงบอกแก่ปิบผลิมาณพว่า เขาว่าได้ทาริกาแล้ว. มาณพคิดว่า เราคิดว่าจักไม่ได้ คนเหล่านี้พูดว่า ได้แล้ว เราไม่มีความต้องการ จักส่งหนังสือไป (ให้รู้) แล้วไปในที่ลับเขียนหนังสือว่า แม่ภัททาจงได้คู่ครองเรือนอันสมควรแก่ชาติ โคตร และทรัพย์สมบัติของตน เราจักออกบวช จะได้ไม่เดือดร้อนในภายหลัง. แม้นางภัททาได้ฟังว่า เขาใคร่จะให้เราแก่คนโน้น จึงไปในที่ลับเขียนหนังสือว่า ลูกเจ้าจงได้คู่ครองเรือนอันสมควรแก่ชาติ โคตร และทรัพย์สมบัติของตน เราจักออกบวช จะได้ไม่เดือดร้อนในภายหลัง. หนังสือทั้งสองฉบับมาประจวบกันในระหว่างทาง.ชนเหล่านั้น เมื่อถูกฝ่ายนางภัททาถามว่า นี้หนังสือของใคร. ก็กล่าวว่าปิบผลิมาณพส่งให้นางภัททา และเมื่อถูกฝ่ายปิบผลิมาณพถามว่า นี้ของใคร ก็กล่าวว่า นางภัททาส่งให้ปิบผลิมาณพ จึงพากันอ่านหนังสือ แม้ทั้งสองฉบับแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงดูการกระทำของเด็กๆ แล้วฉีกทิ้งไปในป่า เขียนหนังสืออันมีข้อความเสมอกัน ส่งไปให้คนทั้งสองนั้น ทั้งฝ่ายนี้และฝ่ายโน้น ดังนั้น คนทั้งสองนั้นไม่ปรารถนาเลย ก็ได้มา (อยู่) รวมกัน

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 297

ในวันนี้แล แม้มาณพก็เอาพวงดอกไม้พวงหนึ่งวางไว้ แม้นางภัททา กาลาปิลา นี้ก็เอาพวงดอกไม้พวงหนึ่งวางไว้. คนแม้ทั้งสองบริโภคอาหารเย็นแล้ว วางพวงดอกไม้เหล่านั้นไว้กลางที่นอน มาพร้อมกันด้วยหวังใจว่า จักขึ้นที่นอน มาณพขึ้นที่นอนทางด้านขวา นางภัททาขึ้นที่นอนทางด้านซ้าย แล้วกล่าวว่า ดอกไม้ในด้านของคนใดเหี่ยว พวกเราจักรู้ได้ว่า ราคจิตเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นั้น เพราะเหตุนั้น พวงดอกไม้นี้เราจึงไม่แตะต้อง. ก็คนทั้งสองนั้น นอนไม่หลับตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม เพราะกลัวจะถูกตัวของกันและกัน จนราตรีล่วงไป อนึ่ง ในเวลากลางวันก็ไม่มีแม้สักว่าการยิ้มหวัว. คนทั้งสองนั้นไม่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องโลกามิส ไม่จัดการทรัพย์สมบัติ ตราบเท่าที่บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ เมื่อบิดามารดากระทำกาลกิริยาไปแล้ว จึงจัดการ. ปิบผลิมาณพมีสมบัติ (คิดเป็นเงิน) ๘๗ โกฏิ เฉพาะผงทองคำที่ใช้ขัดสรีระแล้ว ทิ้งไปวันหนึ่งๆ ควรได้ประมาณ ๑๒ ทะนาน โดยทะนานมคธ มีเหมืองน้ำประมาณ ๖๐ แห่ง ติดเครื่องยนต์ มีการงานที่ทำ (กินเนื้อที่) ประมาณ ๑๒ โยชน์ มีหมู่บ้านทาส (๑๔ บ้าน) ขนาดเท่าเมืองอนุราธบุรี มีหัตถานึกคือกองช้าง ๑๔ กอง มีอัสสานึกคือกองม้า ๑๔ กอง มีรถานึกคือกองรถ ๑๔ กอง.

วันหนึ่ง ปิบผลิมาณพนั้น ขึ้นม้าที่ประดับตกแต่งแล้ว แวดล้อมด้วยมหาชนไปยังที่ทำงาน ยืนอยู่ปลายนา เห็นพวกนกมีกาเป็นต้น คุ้ยเขี่ยสัตว์มีไส้เดือนเป็นต้น จากรอยไถเอามากิน จึงถามว่า พ่อทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้กินอะไร? มหาชนตอบว่า นายท่าน มันกินไส้เดือน. มาณพถามว่า บาปที่สัตว์เหล่านี้ทำเป็นของใคร? มหาชน

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 298

ตอบว่า นายท่าน บาปเป็นของท่าน. มาณพคิดว่า ถ้าบาปที่สัตว์เหล่านี้กระทำ ตกเป็นของเราไซร้ ทรัพย์ ๘๗ โกฏิ จักทำอะไรแก่เราการงาน ๑๒ โยชน์ เหมืองน้ำติดเครื่องยนต์ ๖๐ แห่ง หมู่บ้านทาส (๑๔ แห่ง) จักทำอะไรแก่เรา เราจะมอบทรัพย์สมบัติทั้งหมดนี้ แก่ภัททากาปิลานี แล้วออกบวช.

ขณะนั้น นางภัททา กาปิลานี ให้หว่านเมล็ดงา ๓ หม้อ ลงในระหว่างไร่ พวกแม่นมห้อมล้อมนั่งอยู่ เห็นพวกกากินสัตว์ในเมล็ดงาจึงถามว่า แม่ทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้กินอะไร? พวกแม่นมตอบว่า แม่เจ้า พวกมันกินสัตว์. นางถามว่า อกุศลจะเป็นของใคร? พวกแม่นมตอบว่า เป็นของแม่เจ้า จ๊ะ. นางคิดว่า เราได้ผ้า ๔ ศอก และข้าวสุกประมาณหนึ่งทะนานก็ควร ก็ถ้าอกุศลนี้ อันชนมีประมาณเท่านี้กระทำ จะเป็นของเราไซร้ เราไม่อาจยกหัวขึ้นจากวัฏฏะตั้ง ๑,๐๐๐ ภพ เมื่อลูกเจ้าพอมาถึง เราจะมอบทรัพย์สมบัติทั้งหมดแก่ลูกเจ้านั้น แล้วออกบวช.

มาณพมาแล้วอาบน้ำ ขึ้นปราสาทนั่งบนแท่นอันควรค่ามาก. ครั้งนั้น พวกพ่อครัวจัดแจงโภชนะอันสมควรแก่พระเจ้าจักรพรรดิ. ชนแม้ทั้งสองบริโภคแล้ว เมื่อปริวารชนออกไปแล้ว ก็ไปในที่รโหฐานนั่งในที่ที่มีความผาสุก. ลำดับนั้น มาณพกล่าวกะนางภัททาว่าแม่ภัททา เธอเมื่อจะมาเรือนนี้ นำเอาทรัพย์มาเท่าไร. นางภัททากล่าวว่า พ่อเจ้า นำมาห้าหมื่นห้าพันเล่มเกวียน. มาณพกล่าวว่าทรัพย์ทั้งหมดนั่น กับทรัพย์ ๘๗ โกฏิ ในเรือนนี้ และสมบัติอันต่างด้วยเหมือง ๖๐ เหมืองเป็นต้น ที่ติดเครื่องยนต์ทั้งหมด เราขอมอบ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 299

แก่เธอเท่านั้น. นางภัททากล่าวว่า พ่อเจ้า ก็ท่านเล่า จะไปไหนมาณพ เราจักบวช นางภัททา แม้เราก็นั่งคอยการมาของท่านอยู่ แม้เราก็จักบวช. ภพทั้งสามปรากฏแก่คนทั้งสองนั้นเหมือนกุฎีใบไม้ถูกไฟไหม้ ฉะนั้น. คนทั้งสองนั้น ให้นำผ้ากาสายะ และบาตรดินมาจากตลาด ต่างปลงผมให้กันและกัน กล่าวว่า การบวชของเราทั้งสอง อุทิศพระอรหันต์ในโลก แล้วสอดบาตรลงในถุงคล้องที่ไหล่ลงจากปราสาท. บรรดาทาสหรือกรรมกรทั้งหลาย ในเรือน ใครๆ จำไม่ได้.

ครั้งนั้น ชนหมู่บ้านทาส จำคนทั้งสองนั้น ซึ่งออกจากบ้านพราหมณ์ กำลังเดินไปทางประตูบ้านทาสได้ ด้วยอากัปกิริยาท่าทาง ชนเหล่านั้นร้องไห้ หมอบลงที่เท้ากล่าวว่า นายท่าน ท่านจะทำให้พวกข้าพเจ้าไร้ที่พึ่งหรือ. คนทั้งสองกล่าวว่า แน่ะพนายเราทั้งหลายเห็นว่า ภพทั้งสาม เหมือนบรรณศาลาถูกไฟไหม้จึงได้บวช ถ้าเราจะการทำบรรดาพวกท่านคนหนึ่งๆ ให้เป็นไทแม้ ๑๐๐ ปี ก็ไม่พอ พวกท่านเท่านั้น จงล้างศีรษะของท่านเป็นไทเลี้ยงชีวิตอยู่เถิด เมื่อชาวบ้านทาสเหล่านั้นคร่ำครวญอยู่ นั่นแหละ ก็หลีกไปแล้ว. พระเถระเดินไปข้างหน้าหันกลับมาแลดู พลางคิดว่า ภัททา กาปิลานี นี้ เป็นหญิงมีค่าควรแก่ชมพูทวีปทั้งสิ้น เดินมาข้างหลังเรา มีฐานะอยู่ที่ใครๆ จะพึงคิดว่า ชนเหล่านี้ แม้บวชแล้วก็ไม่อาจแยกกัน กระทำไม่สมควร ดังนี้ เกิดความคิดว่า ใครๆ ทำใจให้ประทุษร้ายในเราทั้งหลาย จะพึงเต็มในอบาย ควรที่เราจะละนางไปเสีย.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 300

พระเถระเดินไปข้างหน้าเห็นทาง ๒ แพร่ง ได้หยุดอยู่ที่หัวทางนั้น. ฝ่ายนางภัททามาแล้วไหว้ยืนอยู่. ครั้งนั้น พระเถระกล่าวกะนางภัททาว่า แม่นางเอย มหาชนเห็นสตรีเช่นเจ้าเดินมาข้างหลังเราจะคิดว่า ชนเหล่านี้แม้บวชแล้ว ก็ไม่อาจแยกกัน แล้วมีจิตประทุษร้ายในพวกเรา จะพึงเป็นผู้เต็มอยู่ในอบาย พวกเรายืนอยู่แล้วในทาง ๒ แพร่งนี้ ท่านจงถือเอาทางสายหนึ่ง ฉันจะไปทางอีกสายหนึ่ง. นางภัททากล่าวว่า จริงสิ พ่อเจ้า ธรรมดามาตุคามเป็นมลทินของบรรพชิตทั้งหลาย ชนทั้งหลายจักแสดงโทษของพวกเราว่า คนเหล่านี้แม้บวชแล้วก็ยังไม่แยกกัน ท่านจงถือเอาทางสายหนึ่ง ฉันจะถือเอาสายหนึ่ง พวกเราจักแยกกัน ดังนี้แล้ว ทำประทักษิณ ๓ ครั้ง ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ในที่ทั้ง ๔ แห่ง (คือ ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา) ประคองอัญชลีอันงดงามด้วยรวมนิ้วทั้งสิบ แล้วกล่าวว่า ความสนิทสนมฐานมิตร ซึ่งได้ทำไว้ตลอดกาลนานประมาณแสนกัป จำแตกในวันนี้ แล้วกล่าวว่า ท่านมีชาติเบื้องขวา ทางขวาสมควรแก่ท่าน ฉันชื่อว่าเป็นมาตุคาม มีชาติเบื้องซ้าย ทางซ้ายสมควรแก่ฉัน ดังนี้ ไหว้แล้วเดินทางไป. ในเวลาที่ท่านทั้งสองนั้นแยกทางกัน มหาปฐพีนี้ได้สะเทือนเลื่อนลั่น เหมือนจะพูดว่า เราสามารถรองรับเขาจักรวาล และเขาสิเนรุได้ แต่ไม่อาจรองรับคุณทั้งสองของพวกท่านได้. ในอากาศมีเสียงเหมือนฟ้าผ่า ภูเขาจักรวาลก็โอนโน้มลง

แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งในพระคันธกุฎี ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ได้สดับเสียงแผ่นดินไหว จึงทรงพระรำพึงว่า แผ่นดินไหวเพื่อใครหนอ ทรงทราบว่า ปิบผลิมาณพ และนางภัททา

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 301

กาปิลานี ละสมบัติอันนับไม่ได้แล้วบวชอุทิศเรา แผ่นดินไหวนี้เกิดด้วยกำลังแห่งคุณของคนแม้ทั้งสอง ในตอนที่คนทั้งสองนั้นแยกทางกัน แม้เราก็ควรทำการสงเคราะห์คนทั้งสองนี้ จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ลำพังพระองค์เอง ทรงถือบาตรและจีวร ไม่ตรัสเรียกใครๆ ในบรรดาพระมหาสาวก ๘๐ องค์ เสด็จไปต้อนรับสิ้นทาง ๓ คาวุต ประทับนั่งขัดสมาธิที่โคนต้นพหุปุตตกนิโครธ ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา. ก็เมื่อประทับนั่ง มิได้ประทับนั่ง เหมือนพระผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตรรูปหนึ่ง ทรงถือเพศเป็นพระพุทธเจ้า ประทับนั่งเปล่งพระรัศมีทึบประมาณ ๘๐ ศอก ดังนั้น ในขณะนั้น พระพุทธรัศมีมีประมาณเท่าร่มใบไม้ ล้อรถ แลเรือนยอดเป็นต้น วิ่งฉวัดเฉวียนไปรอบด้าน ทำให้เหมือนเวลาพระจันทร์และพระอาทิตย์ขึ้น เป็นพันๆ ดวง ได้ทำชายป่านั้น ให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. พื้นท้องฟ้าประหนึ่งระยิบระยับด้วยหมู่ดาว เรืองรองด้วยพระสิริแห่งพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ชายป่ารุ่งโรจน์ดุจน้ำที่มีดอกบัวบานสะพรั่ง. ธรรมดาต้นนิโครธมีลำต้นขาว มีใบเขียว ผลสุกแดง. แต่วันนั้น ต้นนิโครธกลับมีกิ่งขาว มีสีเหมือนทอง.

พระมหากัสสปเถระคิดว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระศาสดาของเรา เราบวชอุทิศพระศาสดาพระองค์นี้ ดังนี้ จำเดิมแต่ที่ที่มองเห็นได้น้อมกายเดินไป ไหว้ในที่ ๓ แห่ง แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดา

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 302

ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะ พระมหากัสสปเถระว่า ดูก่อนกัสสปะ ถ้าเธอจะพึงทำการนบนอบนี้ไว้ในมหาปฐพีไซร้ แม้มหาปฐพีนั้น ก็ไม่อาจรองรับเอาไว้ได้ การนบนอบที่เธอกระทำ ย่อมไม่อาจทำแม้ขนของเราให้สั่น เพราะตถาคตมีคุณใหญ่หลวงอย่างนี้ นั่งลงเถอะกัสสปะ เราจะให้ทรัพย์อันเป็นมรดกแก่เธอ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ประทานอุปสมบทแก่พระมหากัสสปเถระด้วยโอวาท ๓ ประการ ครั้นประทานแล้ว ก็เสด็จออกจากโคนต้นพหุปุตตกนิโครธ เสด็จเดินทางมีพระเถระ เป็นปัจฉาสมณะ. พระสรีระของพระศาสดาตระการตา ด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สรีระของพระมหากัสสปะ ประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๗ ประการ. พระมหากัสสปะนั้น เดินตามเสด็จพระศาสดา เหมือนเรือพ่วงไปตามเรือใหญ่สีทอง ฉะนั้น พระศาสดาเสด็จเดินทางไปหน่อยหนึ่งแล้ว แวะลง (ข้างทาง) แสดงอาการจะประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง พระเถระรู้ว่า พระศาสดามีพระประสงค์จะประทับนั่ง จึงกระทำสังฆาฏิ อันเป็นผ้าเก่าที่ตนห่มให้เป็น ๔ ชั้น ปูลาดถวาย.

พระศาสดาประทับนั่งบนผ้าสังฆาฏินั้นแล้ว เอาพระหัตถ์ลูบคลำเนื้อผ้าตรัสว่า กัสสปะ สังฆาฏิอันทำด้วยผ้าเก่าผืนนี้ของเธอนุ่มดี. พระเถระระว่า พระศาสดาตรัสถึงสังฆาฏิของเรานุ่ม คงจักประสงค์จะห่ม จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห่มสังฆาฏิเถิด. พระศาสดาตรัสว่า กัสสปะ เธอจะห่มอะไร? พระเถระกราบทูลว่า ข้าพระองค์ได้ผ้านุ่งของพระองค์

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 303

จึงจักห่ม. พระศาสดาตรัสว่า กัสสปะ ก็เธอจักอาจทรงผ้าบังสุกุล ที่ใช้จนเก่าผืนนี้ อย่างนี้ได้หรือ ด้วยว่ามหาปฐพีได้ไหว จนถึงน้ำรองแผ่นดิน ในวันที่เราซักผ้าบังสุกุลผืนนี้. ธรรมดาว่า จีวรที่เก่า เพราะใช้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ ถึงเก่าแล้ว คนที่มีคุณนิดหน่อยไม่อาจครองได้ จีวรเก่าดังกล่าวนี้ อันบุคคลผู้อาจสามารถในการบำเพ็ญข้อปฏิบัติ ผู้ถือผ้าบังสุกุลมาแต่เดิม จึงจะควรรับเอา แล้วทรงเปลี่ยนจีวรกับพระเถระ.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปลี่ยนจีวรอย่างนี้แล้ว ทรงห่มจีวรที่พระเถระห่มแล้ว พระเถระห่มจีวรของพระศาสดา. ในสมัยนั้นมหาปฐพีนี้ แม้ไม่มีจิตใจก็ไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดินเหมือนจะกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทำสิ่งที่ทำได้ยาก จีวรที่พระองค์ห่มแล้ว ชื่อว่า เคยได้ประทานแก่พระสาวกไม่มี (คือไม่เคยมีการประทานจีวรที่ทรงห่มแล้วแก่สาวก) ข้าพระองค์ไม่อาจรองรับคุณของพระองค์ได้. แม้พระเถระก็มิได้กระทำเหย่อหยิ่งว่า เดี๋ยวนี้เราได้จีวรสำหรับใช้สอยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สิ่งที่เราจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปในบัดนี้ยังจะมีอยู่หรือ จึงได้สมาทานธุดงค์คุณ ๑๓ ข้อในสำนักของพระพุทธเจ้า นั่นแหละ เป็นปุถุชนเพียง ๗ วัน ในอรุณที่ ๘ ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยสูตรทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปะเปรียบเหมือนพระจันทร์เข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย หลีกกาย หลีกใจ จากอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ใหม่อยู่เสมอ ไม่คนองในตระกูลทั้งหลาย. ครั้นมาภายหลังทรงกระทำกัสสปสังยุตนี้แหละ ให้เป็นเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ด้วยพระดำรัสว่า มหากัสสปะเป็น

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 304

ยอดของภิกษุทั้งหลายผู้ถือธุดงค์ และสอนเรื่องธุดงค์ ในศาสนาของเราดังนี้แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔