พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๕ ประวัติพระอนุรุทธเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ต.ค. 2564
หมายเลข  38340
อ่าน  493

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 304

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ประวัติพระอนุรุทธเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 304

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ประวัติพระอนุรุทธเถระ

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทิพฺพจกฺขุกานํ ยทิทํ อนุรุทฺโธ ความว่า ตรัสว่าพระอนุรุทธเถระ เป็นยอดของภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจักษุทิพย์ พึงทราบว่า พระอนุรุทธเถระนั้น เป็นผู้เลิศ เพราะเป็นผู้มีความชำนาญอันสั่งสมไว้แล้ว. ได้ยินว่า พระเถระเว้นแต่ชั่วเวลาฉันเท่านั้น ตลอดเวลาที่เหลือ เจริญอาโลกกสิณ ตรวจดูเหล่าสัตว์ ด้วยทิพยจักษุอย่างเดียวอยู่ ดังนั้น พระเถระนี้จึงชื่อว่า เป็นยอดของภิกษุทั้งหลาย ผู้มีทิพยจักษุ เพราะเป็นผู้มีความชำนาญ อันสะสมไว้ตลอดวันและคืน. อีกอย่างหนึ่งเป็นยอดของภิกษุ ผู้มีทิพยจักษุที่เหลือ เพราะปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ก็ในเรื่องบุรพกรรมของท่านในข้อนั้นมีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไป

ความพิสดารว่า ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตตร นั่นแล กุลบุตรแม้นี้ ได้ไปกับมหาชน ผู้ไปยังวิหารเพื่อฟังธรรมภายหลังภัตตาหาร. ก็ครั้งนั้น กุลบุตรผู้นี้ได้เป็นกุฎุมพีผู้ยิ่งใหญ่

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 305

ไม่ปรากฏชื่อคนหนึ่ง. เขาถวายบังคมพระทศพลแล้ว ยืนอยู่ท้ายบริษัทฟังธรรมกถา. พระศาสดาทรงสืบต่อพระธรรมเทศนา ตามอนุสนธิแล้ว ทรงสถาปนาภิกษุผู้มีทิพยจักษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ. ลำดับนั้น กุฎุมพีได้มีดำริดังนี้ว่า ภิกษุนี้ใหญ่หนอ พระศาสดาทรงตั้งไว้ ในความเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุเอง ด้วยประการอย่างนี้ โอหนอ แม้เราก็พึงเป็นยอดของภิกษุ ผู้มีจักษุทิพย์ ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้จะอุบัติในอนาคต ดังนี้แล้ว เกิดความคิดดังนี้ขึ้น เดินเข้าไประหว่างบริษัท ทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระภิกษุแสนหนึ่ง เพื่อเสวยวันพรุ่งนี้ ในวันรุ่งขึ้น ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข คิดว่า เราปรารถนาตำแหน่งใหญ่ จึงทูลนิมนต์ในวันนี้ เพื่อเสวยวันพรุ่งนี้ แล้วทำมหาทานให้เป็นไปถึง ๗ วัน โดยทำนองนั้น นั่นแล ถวายผ้าอย่างดีเยี่ยมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งบริวารแล้ว ทำความปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ทำสักการะนี้ เพื่อประโยชน์แก่ทิพยสมบัติ หรือมนุษยสมบัติก็หามิได้ ก็พระองค์ทรงตั้งภิกษุใด ไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของภิกษุ ผู้มีทิพยจักษุ ใน ๗ วันที่แล้วมาจากวันนี้ แม้ข้าพระพุทธเจ้า ก็พึงเป็นยอดของภิกษุ ผู้มีทิพยจักษุเหมือนภิกษุองค์นั้น ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล ดังนี้แล้ว หมอบลงแทบพระบาทของพระศาสดา. พระศาสดาทรงตรวจดูในอนาคต ทรงทราบว่า ความปรารถนาของเขาสำเร็จ จึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ในที่สุดแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักอุบัติขึ้น ท่านจักมีชื่อว่า อนุรุทธะเป็นยอดของภิกษุ ผู้มีทิพยจักษุ ใน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 306

พระศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้านั้น ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงกระทำภัตตานุโมทนาเสด็จกลับไปพระวิหาร.

ฝ่ายกุฎุมพีทำกรรมงามไม่ขาดเลย ตราบที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อสร้างเจดีย์ทองประมาณ ๗ โยชน์ สำเร็จแล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุสงฆ์ถามว่า อะไรเป็นบริกรรมของทิพยจักษุขอรับ. ภิกษุสงฆ์บอกว่า ควรให้ประทีปนะ อุบาสก. อุบาสกกล่าวว่า ดีละขอรับ ผมจักทำ จึงให้สร้างต้นประทีปพันต้น เท่ากับประทีปพันดวงก่อน ถัดจากนั้นสร้างให้ย่อมกว่านั้น ถัดจากนั้นสร้างให้ย่อมกว่านั้น รวมความว่าได้สร้างต้นประทีปหลายพันต้น. ส่วนประทีปที่เหลือประมาณไม่ได้ เขาทำกัลยาณกรรม อย่างนี้ตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ล่วงไปแสนกัป ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า บังเกิดในเรือนกุฎุมพี ใกล้กรุงพาราณสี เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน เมื่อสร้างเจดีย์ประมาณ ๑ โยชน์สำเร็จแล้ว ให้สร้างภาชนะสำริดเป็นอันมาก บรรจุเนยใสจนเต็ม ให้วางไส้ตะเกียงเว้นระยะองคุลีหนึ่งๆ ในท่ามกลาง ให้จุดไฟขึ้น ให้ล้อมพระเจดีย์ ให้ขอบปากต่อขอบปากจรดกัน ให้สร้างภาชนะสำริดใหญ่กว่าเขาทั้งหมดสำหรับตนใส่เนยใสเต็ม จุดไส้ตะเกียงพันดวง รอบๆ ขอบปากภาชนะสำริดนั้น เอาผ้าเก่าที่เป็นจอมหุ้มไว้ตรงกลาง ให้จุดไฟเทินภาชนะสำริด เดินเวียนเจดีย์ประมาณ ๑ โยชน์ ตลอดคืนยังรุ่ง. เขาทำกัลยาณกรรมตลอดชีวิต ด้วยอัตตภาพแม้นั้น ด้วยอาการอย่างนี้แล้วบังเกิดในเทวโลก. เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 307

เขาถือปฏิสนธิในเรือนของตระกูลเข็ญใจ ในนครนั้นนั่นแลอีก เป็นคนหาบหญ้า อาศัยสุมนเศรษฐีอยู่ เขาได้มีชื่อว่า อันนภาระ. ฝ่ายสุมนเศรษฐีนั้น ให้มหาทานที่ประตูบ้าน แก่คนกำพร้า คนเดินทางวณิพก และยาจกทุกวันๆ

ภายหลัง ณ วันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าอุปริฏฐะ เข้านิโรธสมาบัติ ที่ภูเขาคันธมาทน์ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว พิจารณาว่า วันนี้ควรจะทำการอนุเคราะห์ใคร. ก็ธรรมดาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้อนุเคราะห์คนเข็ญใจ ท่านคิดว่าวันนี้เราควรทำการอนุเคราะห์ นายอันนภาระ ทราบว่า นายอันนภาระจักออกจากดงมายังบ้านตน จึงถือบาตรและจีวรจากภูเขาคันธมาทน์ เหาะขึ้นสู่เวหาสมาปรากฏเฉพาะหน้า นายอันนภาระที่ประตูบ้านนั่นเอง. นายอันนภาระ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ถือบาตรเปล่าจึงอภิวาทพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วถามว่า ท่านได้ภิกษาบ้างไหมขอรับ. พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า จักได้ผู้มีบุญมาก. เขากล่าวว่า โปรดรออยู่ที่นี้ก่อนเถิดขอรับ แล้วรีบไป ถามแม่บ้านในเรือนของตนว่า นางผู้เจริญ ภัตอันเป็นส่วนเก็บไว้เพื่อเรามีหรือไม่.นางตอบว่า มี จ้ะนาย. เขาไปจากที่นั้น รับบาตรจากมือพระปัจเจกพุทธเจ้ามากล่าวว่า นางผู้เจริญ เพราะค่าที่ไม่ได้ทำกัลยาณกรรมไว้ในชาติก่อน เราทั้ง ๒ จึงหวังได้อยู่แต่การรับจ้าง เมื่อความปรารถนาจะให้ของพวกเรามีอยู่ แต่ไทยธรรมไม่มี เมื่อไทยธรรมมี ก็ไม่ได้ปฏิคาหก วันนี้เราพบพระอุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้าเข้าพอดี และภัตอันเป็นส่วนแบ่งก็มีอยู่ เจ้าจงใส่ภัตที่เป็นส่วนของฉันลง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 308

ในบาตรนี้. หญิงผู้ฉลาดคิดว่า เมื่อใดสามีของเราให้ภัตซึ่งเป็นส่วนแบ่ง เมื่อนั้นแม้เราก็พึงมีส่วนในทานนี้ จึงวางแม้ภัต อันเป็นส่วนของตนลงในบาตร ถวายแก่อุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้า. นายอันนภาระ นำบาตรอันบรรจุภัต มาวางในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วกล่าวว่า ขอให้พวกข้าพเจ้า พ้นจากความอยู่อย่างลำบาก เห็นปานนี้เถิด ขอรับ. พระปัจเจกพุทธเจ้า อนุโมทนาว่า จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด ผู้มีบุญมาก. เขาลาดผ้าห่มของตนลง ณ ที่ส่วนหนึ่งแล้วกล่าวว่า ขอจงนั่งฉันที่นี้เถิด ขอรับ. พระปัจเจกพุทธเจ้า นั่ง ณ อาสนะนั้นแล้ว พิจารณาความเป็นของปฏิกูล ๙ อย่าง แล้วจึงฉัน เมื่อฉันเสร็จแล้ว นายอันนภาระจึงถวายน้ำ สำหรับล้างบาตร พระปัจเจกพุทธเจ้า เสร็จภัตกิจแล้ว กระทำอนุโมทนาว่า

สิ่งที่ท่านต้องการแล้ว ปรารถนาแล้ว จงสำเร็จพลันเทียว ความดำริจงเต็มหมดเหมือนพระจันทร์เพ็ญ ๑๕ ค่ำ ฉะนั้น สิ่งที่ท่านต้องการแล้ว ปรารถนาแล้ว จงสำเร็จพลันเทียว ความดำริจงเต็มหมด เหมือนมณีมีประกายโชติช่วง ฉะนั้น.

แล้วออกเดินทางไป.

เทวดาที่สิงอยู่ที่ฉัตรของสุมนเศรษฐีกล่าวว่า น่าอัศจรรย์ ทานที่ตั้งไว้ดีแล้ว ในพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า อุปริฏฐะ เป็นทานอย่างยิ่งถึง ๓ ครั้ง แล้วได้ให้สาธุการ สุมนเศรษฐีกล่าวว่า ท่านไม่เห็นเราให้ทานอยู่ตลอดเวลา มีประมาณเท่านี้ดอกหรือ เทวดา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 309

กล่าวว่า เราไม่ให้สาธุการในทานของท่าน เราเลื่อมใสในบิณฑบาต ที่นายอันนภาระถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฏฐะ จึงให้สาธุการ สุมนเศรษฐีดำริว่า เรื่องนี้น่าอัศจรรย์หนอ เราให้ทานตลอดเวลามีประมาณเท่านี้ ก็ไม่อาจทำให้เทวดาให้สาธุการ นายอันนภาระนี้ อาศัยเราอยู่ ด้วยการถวายบิณฑบาตครั้งเดียวเท่านั้น ทำให้เทวดาให้สาธุการได้ เพราะได้บุคคลผู้เป็นปฏิคาหก ที่สมควรเรา ให้สิ่งที่สมควรแก่นายอันนภาระนั้น แล้วทำบิณฑบาตนั้น ให้เป็นของของเราจึงจะควร ดังนี้ เรียกนายอันนภาระมาแล้ว ถามว่า วันนี้เจ้าให้ทานอะไรๆ แก่ใครหรือ ขอรับนายท่าน ข้าพเจ้าถวายภัตรที่เป็นส่วนของข้าพเจ้าแก่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า อุปริฏฐะ เศรษฐีกล่าวว่า เอาเถอะเจ้า เธอจงรับกหาปณะไปแล้วให้บิณฑบาตนั้นแก่เราเถอะ ให้ไม่ได้หรอกนายท่าน เศรษฐีเพิ่มทรัพย์ขึ้นจนถึงพันกหาปณะ นายอันนภาระก็ยังกล่าวว่า แม้ถึงพันกหาปณะก็ยังให้ไม่ได้ เศรษฐีกล่าวว่า ช่างเถอะเจ้า หากเจ้าไม่ให้บิณฑบาต ก็จงรับทรัพย์พันกหาปณะไปแล้ว จึงให้ส่วนบุญแก่ฉันเถอะ นายอันภาระกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าแม้ส่วนบุญนั้น ควรให้หรือไม่ควรให้ แต่ข้าพเจ้าจะถาม พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฏฐะดู ถ้าควรให้ก็จักให้ ถ้าไม่ควรให้ก็จักไม่ให้ นายอันนภาระเดินไปทันพระปัจเจกพุทธเจ้า ถามว่า ท่านเจ้าข้า สุมนเศรษฐีให้ทรัพย์แก่ข้าพเจ้าพันหนึ่ง ขอส่วนบุญในบิณฑบาตที่ถวายแก่ท่าน ข้าพเจ้าควรจะให้หรือไม่ให้ พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า บัณฑิต เราจักทำอุปมาแก่ท่าน เหมือนอย่างว่า ในบ้านตำบลนี้มีร้อยตระกูล เราจุดประทีปไว้ในเรือนหลังหนึ่งเท่านั้น ตระกูลพวกนี้ เอาน้ำมันเติมให้ไส้ตะเกียง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 310

ชุ่มแล้วมาต่อไฟถือไป แสงของประทีปดวงเดิมยังมีอยู่หรือหาไม่ นายอันนภาระกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า แสงประทีปก็สว่างขึ้นไปอีกเจ้าข้า ข้อนี้อุปมาฉันใด ดูก่อนบัณฑิต ข้าวยาคูกระบวยหนึ่ง หรือข้าวสวยทัพพีหนึ่งจงยกไว้ เมื่อท่านให้ส่วนบุญแก่คนเหล่าอื่นในบิณฑบาตของตน พันคนหรือแสนคนก็ตาม ให้แก่คนเท่าใด บุญก็เพิ่มขึ้นแก่ตน มีประมาณเท่านั้น เมื่อท่านให้ ก็ให้บิณฑบาตอันเดียว นั่นแหละ ต่อเมื่อให้ส่วนบุญแก่สุมนเศรษฐีอีกเล่า บิณฑบาตก็ขยายไปเป็น ๒ คือของท่านส่วนหนึ่ง ของเศรษฐีส่วนหนึ่ง ดังนี้นายอันนภาระกราบ พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว กลับไปยังสำนักของสุมนเศรษฐีกล่าวว่า ขอท่านจงรับส่วนบุญในบิณฑบาตทานเถิด นายท่าน เศรษฐีกล่าวว่า เชิญท่านรับทรัพย์พันกหาปณะไปเถิด นายอันนภาระกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ขายบิณฑบาตทาน แต่ข้าพเจ้าให้ส่วนบุญแก่ท่านด้วยศรัทธา เศรษฐีกล่าวว่า พ่ออันนภาระ พ่อให้ส่วนบุญแก่เราด้วยศรัทธา แต่เราบูชาคุณของพ่อ ฉันให้พันกหาปณะนี้ จงรับไปเถอะพ่ออันนภาระ นายอันนภาระกล่าวว่า จงเป็นอย่างนั้น จึงถือเอาทรัพย์พันกหาปณะไป เศรษฐีกล่าวว่า พ่ออันนภาระ ตั้งแต่พอได้ทรัพย์พันกหาปณะแล้ว ไม่ต้องทำกิจเกี่ยวแก่กรรมกร ด้วยมือของตน จงปลูกเรือนอยู่ใกล้ถนนเถิด ถ้าพ่อต้องการสิ่งใด ฉันจะมอบสิ่งนั้นให้ พ่อจงมานำเอาไปเถอะ

ธรรมดาบิณฑบาต ที่บุคคลถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมให้ผลในวันนั้นนั่นเอง เพราะฉะนั้น สุมนเศรษฐีในวันอื่น แม้ไปสู่ราชตระกูล ไม่เคยชวนนายอันนภาระ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 311

ไปด้วย แต่ในวันนั้นได้ชวนไปด้วย เพราะอาศัยบุญของนายอันนภาระ พระราชาไม่มองดูเศรษฐีเลย ทรงมองแต่นายอันนภาระเท่านั้น เศรษฐีจึงทูลถามวา เทวข้าแต่สมมติเทพ เหตุไฉนพระองค์จึงทรงมองดู แต่บุรุษผู้นี้ยิ่งนักพระเจ้าค่ะ พระราชาตรัสว่า เรามองดูเพราะไม่เคยเฝ้าในวันอื่นๆ เศรษฐีทูลว่า เทวเขาสมควรมองดูอย่างไร คุณที่ควรมองดูของเขาคืออะไร เพราะวันนี้ เขาไม่บริโภคภัตรที่เป็นส่วนของตน ด้วยตนเอง แต่ถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฏฐะ เขาได้ทรัพย์พันกหาปณะจากมือของข้าพระองค์พระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามว่า เขาชื่อไร ชื่อนายอันนภาระพระเจ้าข้า เพราะได้จากมือของท่าน ก็ควรจะได้จากมือของเราบ้าง เราเองก็จักทำการบูชาเขา จึงพระราชทานทรัพย์พันกหาปณะแล้วตรัสว่า พนาย จงสำรวจดูเรือนที่คนนี้จะอยู่ได้ ราชบุรุษทูลว่า พระเจ้าข้า ราชบุรุษทั้งหลายจัดแจงแผ้วถาง ที่สำหรับเรือนนั้น ได้พบขุมทรัพย์ชื่อ ปิงคละ ในที่ๆ จอบกระทบแล้วๆ ตั้งเรียงกัน จึงมากราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นจงไปขุดขึ้นมา เมื่อราชบุรุษเหล่านั้นขุดอยู่ ขุมทรัพย์ก็จมลงไป ราชบุรุษเหล่านั้น ไปกราบทูลพระราชาอีก พระราชาตรัสว่า จงไปขุดตามคำของนายอันนภาระ ราชบุรุษก็ไปขุดตามคำสั่ง ขุมทรัพย์เหมือนดอกเห็ดตูมๆ ผุดขึ้นในที่ๆ จอบกระทบแล้ว ราชบุรุษเหล่านั้นขนทรัพย์มากองไว้ ในพระราชสำนัก พระราชาประชุมอำมาตย์ทั้งหลายแล้ว ตรัสถามว่า ในเมืองนี้ใครมีทรัพย์มีประมาณถึงเท่านี้ไหม อำมาตย์ทูลว่า ไม่มีของใครพระเจ้าข้า ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น นายอันนภาระนี้จงชื่อว่า ธนเศรษฐี ในพระนครนี้ เขาได้ฉัตรประจำตำแหน่งเศรษฐี ในวันนั้นนั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 312

ตั้งแต่วันนั้น เขากระทำแต่กรรมอันดีงามจนตลอดชีวิต จุติจากภพนั้น ไปเกิดในเทวโลก เวียนว่ายอยู่ในเทวดา และมนุษย์เป็นเวลานาน ครั้งที่พระศาสดาของพวกเราทรงอุบัติ ก็มาถือปฏิสนธิ ในนิเวศน์เจ้าศากยะ พระนามว่า อมิโตทนะ กรุงกบิลพัสดุ์ ในวันขนานนาม ผู้คนทั้งหลาย ตั้งชื่อเขาว่า เจ้าอนุรุทธะ เป็นกนิษฐภาคาของเจ้าศากยะ พระนามที่ มหานามะ เป็นโอรสของพระเจ้าอาของพระศาสดา เป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง เป็นผู้มีบุญมาก ภัตรเกิดขึ้นในถาดทองแก่เขาทีเดียว ภายหลังพระมารดาของเขาคิดว่า จักให้ลูกของเรารู้จักบทว่า "ไม่มี" เอาถาดทองปิดถาดทองอีกใบหนึ่ง แล้วส่งใบแต่ถาดเปล่าๆ ในระหว่างทาง เทวดาทำให้เต็มด้วยขนมทิพย์ เขามีบุญมากถึงเพียงนี้ อันเหล่านางฟ้อนที่ประดับตกแต่งแล้ว แวดล้อมเสวยสมบัติ บนปราสาท ๓ หลัง เหมาะแก่ฤดูทั้ง ๓ เหมือนเทวดา.

ส่วนพระโพธิสัตว์ของเรา จุติจากดุสิตในสมัยนั้น มาถือปฏิสนธิในครรภ์ของอัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงเจริญวัยโดยลำดับ ทรงครองเรือนอยู่ ๒๙ ปี แล้วทรงเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ ทรงยับยั้งที่โพธิมัณฑสถาน ๗ สัปดาห์ ประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงกระทำการอนุเคราะห์โลก ทรงให้อำมาตย์ ๑๐ คน พร้อมทั้งบริวารคนละพัน ที่พระราชบิดาทรงสดับข่าวว่า บุตรของเรามายังกรุงราชคฤห์แล้ว ตรัสว่า ไปเถิดพนาย พวกเจ้าจงนำบุตรของเรามา ดังนี้ ให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาแล้ว อันพระกาฬุทายีเถระ ทูลวิงวอน ให้เสด็จจาริกจึงมี

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 313

ภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร เสด็จออกจากรุงราชคฤห์ไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงทำพระธรรมเทศนา อันวิจิตรมีปาฏิหาริย์ ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์เป็นอันมาก ในสมาคมแห่งพระญาติ ยังมหาชน ให้ดื่มน้ำอมฤตแล้ว ครั้นวันที่ ๒ ทรงถือบาตรและจีวรไปประทับยืน ที่ทวารพระนคร ทรงรำพึงว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงประพฤติการเสด็จกลับ ยังพระนครแห่งสกุลอย่างไรหนอ ดังนี้ทราบว่า ทรงประพฤติเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก จึงทรงเสด็จเพื่อบิณฑบาตตามลำดับตรอก ทรงตรัสธรรมถวายพระราชา ผู้ทรงสดับข่าวว่า บุตรของเราเที่ยวบิณฑบาตเสด็จมคธแล้ว ผู้มีสักการะสัมมานะ ที่พระราชบิดาทูลเชิญให้เสด็จมาแล้ว ทูลเชิญให้เสด็จเข้านิเวศน์ของพระองค์ ทรงกระทำแล้ว ทรงอนุเคราะห์พระญาติ ที่พึงทรงกระทำในที่นั้น ทรงกระทำแล้ว ทรงอนุเคราะห์พระญาติที่พึงทรงกระทำในที่นั้นแล้ว ให้ราหุลกุมารบรรพชาแล้ว ไม่นานนัก ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปจาริกในมัลลรัฐ แล้วเสด็จกลับมายังอนุปิยอัมพวัน

สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงประชุมศากยะสกุลทั้งหลาย ตรัสว่า ถ้าบุตรของเราจักครองเรือน จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ประกอบด้วยรัตนะ ๗ แม้ราหุลกุมารนัดดาของเรา จักแวดล้อมพระเจ้าจักรพรรดิ์นั้น เที่ยวไปกับหมู่กษัตริย์ อนึ่งขอให้พวกท่านทั้งหลาย จงทราบความข้อนี้ไว้เถิดว่า แต่บัดนี้ บุตรของเราทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขัตติยกุมารจงเป็นบริวารของพระองค์เถิด พวกท่านจงให้ทารกคนหนึ่ง จากตระกูลหนึ่งๆ ครั้นพระเจ้าสุทโธทนะตรัสอย่างนี้แล้ว ขัตติยกุมารถึงพันองค์จึงออก

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 314

ผนวชโดยพระดำรัสครั้งเดียวเท่านั้น สมัยนั้นเจ้ามหานาม เป็นเจ้าแห่งกุฎุมพี จึงเข้าไปหาเจ้าศากยะพระนามว่า อนุรุทธะ ได้กล่าวคำนี้ว่า พ่ออนุรุทธะ บัดนี้ศากยะกุมาร ที่มีชื่อเสียงออกผนวชตามพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงผนวชแล้ว ไม่มีใครๆ ออกผนวชจากสกุลของเราเลย ถ้ากระนั้นเจ้าจงบวช หรือว่าพี่จักบวช เจ้าอนุรุทธได้ฟังดำรัสของเจ้าพี่แล้ว ไม่ยินดีในการครองเรือน ได้ออกผนวชเป็นพระองค์ที่ ๗ ลำดับแห่งการผนวชของเจ้าอนุรุทธะนั้น มาแล้วในคัมภีร์สังฆเภทขันธกะ เจ้าอนุรุทธเสด็จไปยังอนุปิยอัมพวัน บวชแล้วด้วยประการฉะนี้ บรรดาเจ้าศากยะกุมารเหล่านั้น พระภัททิยเถระบรรลุพระอรหัตภายในพรรษานั่นเอง พระอนุรุทธเถระทำทิพยจักขุให้บังเกิด พระเทวทัตทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดพระอานนทเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระภัคคุเถระ และพระกิมภิละเถระได้บรรลุอรหัตในภายหลัง ก็อภินิหารแห่งความปรารถนาแต่ปางก่อน ของพระเถระทุกรูปนั้น จักมาถึงในเรื่องของแต่ละคน

ก็พระอนุรุทธเถระนี้ เรียนกรรมฐานในสำนักของพระธรรมเสนาบดีแล้ว ไปบำเพ็ญสมณธรรมปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจติยะ ก็ตรึกแล้วถึงมหาปริวิตก ๗ ประการ ลำบากในวิตกที่ ๘ พระศาสดาทรงทราบว่า พระอนุรุทธะลำบาก ในมหาปุริสวิตกที่ ๘ ทรงพระดำริว่า เราจักทำความดำริของเธอให้เต็ม จึงเสด็จไปในที่นั้น ประทับนั่งบนพุทธอาสน์อันประเสริฐ ที่เขาปูลาดไว้ ทรงทำมหาปุริสวิตกที่ ๘ ให้เต็ม แล้วตรัสมหาอริยวงสปฏิปทา ประดับไปด้วยความสันโดษ ด้วยปัจจัย ๔ และมีภาวนาเป็นที่มายินดีแล้ว

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 315

เสด็จเหาะไปถึงเภสกฬาวันเดียว พอพระตถาคตเสด็จไปแล้วเท่านั้น พระเถระมีวิชา ๓ เป็นพระมหาขีณาสพใหญ่ คิดว่า พระศาสดารู้ใจของเรา เสด็จมาประทานมหาปุริสวิตกที่ ๘ ให้เต็ม อนึ่ง มโนรถของเรานั้น ถึงที่สุดแล้ว ปรารภธรรมเทศนาอันไพเราะของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และธรรมที่ตนแทงตลอดแล้ว ได้ภาษิตอุทานคาถาเหล่านี้ว่า

พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว เสด็จมาหาเราด้วยมโนมยิทธิทางกาย เมื่อใดความดำริได้มีแก่เรา เมื่อนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้สูงขึ้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงยินดีในธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า ได้ทรงแสดงธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า เรารู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว เป็นผู้ยินดีในพระศาสนาอยู่วิชา ๓ เราก็บรรลุโดยลำดับแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เราก็ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ต่อมาภายหลัง พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า อนุรุทธะเป็น ยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้มีทิพยจักขุในศาสนาของเรา.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕