พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐ ประวัติพระมหากัจจายนเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ต.ค. 2564
หมายเลข  38345
อ่าน  448

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 333

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ประวัติพระมหากัจจายนเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 333

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ประวัติพระมหากัจจายนเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สงฺขิตฺเตน ภาสิตสฺส ความว่า ของธรรมที่ตรัสไว้โดยย่อ. บทว่า วิตฺถาเรน อตฺถํ วิภชนฺตานํ ความว่า จำแนกอรรถออก ทำเทศนานั้นให้พิสดาร. นัยว่าพวกภิกษุเหล่าอื่น ไม่อาจทำพระดำรัสโดยย่อ ของพระตถาคตให้บริบูรณ์ ทั้งโดยอรรถ ทั้งโดยพยัญชนะได้ แต่พระเถระนี้ อาจทำให้บริบูรณ์ได้ แม้โดยทั้ง ๒ อย่าง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นยอด. ก็แม้ความปรารถนาแต่ปางก่อนของพระเถระนั้น ก็เป็นอย่างนี้. อนึ่ง ในปัญหากรรมของพระเถระนั้น มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระเถระนั้น บังเกิดในสกุลคฤหบดีผู้มหาศาล เจริญวัยแล้ว วันหนึ่งไปวิหารตามนัยที่กล่าวแล้ว นั้นแล ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท เห็นภิกษุรูปหนึ่ง ที่พระศาสดาทรงสถาปนาไว้ ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้จำแนกอรรถ แห่งพระดำรัสที่พระองค์ตรัส โดยย่อให้พิสดาร จึงคิดว่า ภิกษุซึ่งพระศาสดา ทรงชมเชยอย่างนี้ เป็นใหญ่หนอ แม้ในอนาคตกาล เราก็ควรเป็นอย่างภิกษุนี้ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ดังนี้. จึงนิมนต์พระศาสดาถวายมหาทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 334

๗ วัน ตามนัยที่กล่าวแล้ว นั่นแล. หมอบลงแทบบาทมูลของพระศาสดา การทำความปรารถนาว่า พระเจ้าข้า ด้วยผลแห่งสักการะนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่น แต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงได้ตำแหน่งนั้น ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เหมือนภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ ในตำแหน่ง ในวันสุดท้าย ๗ วันนับแต่วันนี้ พระศาสดา ทรงตรวจดูอนาคตกาล ทรงเห็นว่า ความปรารถนาของกุลบุตรนี้ จักสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่า กุลบุตรผู้เจริญ ในที่สุดแห่งแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักเป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้จำแนกอรรถแห่งคำที่ตรัส โดยสังเขปให้พิสดาร ในศาสนาของพระองค์ดังนี้ ทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จกลับไป.

ฝ่ายกุลบุตรนั้น บำเพ็ญกุศลตลอดชีพแล้ว เวียนว่ายในเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย แสนกัป ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ก็มาถือปฏิสนธิในครอบครัวกรุงพาราณสี เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ก็ไปยังสถานที่สร้างเจดีย์ทอง จึงเอาอิฐทองมีค่าแสนหนึ่งบูชา ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า สรีระของข้าพระองค์ จงมีวรรณะเพียงดังทอง ในที่ๆ เกิดแล้วเถิด. ต่อแต่นั้น ก็การทำกุศลกรรมตราบเท่าชีวิต เวียนว่ายในเทวดา และมนุษย์ พุทธันดรหนึ่ง ครั้งพระทศพลของเราอุบัติ มาบังเกิดในเรือนแห่งปุโรหิต ในกรุงอุชเชนี ในวันขนานนามท่าน มารดาบิดาปรึกษากันว่า บุตรของเรามีสรีระมีผิวดังทอง คงจะถือเอาชื่อของตนมาแล้ว จึงขนานนามท่านว่า กาญจนมาณพ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 335

พอท่านโตขึ้นแล้วก็ศึกษาไตรเพท เมื่อบิดาวายชนม์แล้ว ก็ได้ตำแหน่งปุโรหิตแทน โดยโคตรชื่อว่า กัจจายนะ พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงประชุมอำมาตย์แล้ว มีพระราชดำรัสว่า พระพุทธเจ้าทรงบังเกิดขึ้นในโลกแล้ว พวกเจ้าเป็นผู้สามารถจะทูลนำพระองค์มาได้ ก็จงนำพระองค์มานะ พ่อนะ อำมาตย์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ คนอื่นชื่อว่า เป็นผู้สามารถจะนำพระทศพลมาไม่มี อาจารย์กาญจนพราหมณ์เท่านั้นสามารถ ขอจงทรงส่งท่านไปเถิดพระเจ้าข้า พระราชาตรัสเรียก ให้กัจจายนะมา ตรัสสั่งว่า พ่อจงไปยังสำนักของพระทศพลเจ้า อ.ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เมื่อข้าพระองค์ไปแล้วได้บวชก็จักไป พระราชาตรัสว่า เจ้าจะทำอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก็นำพระตถาคตมาซิพ่อ. กัจจายนอำมาตย์นั้นคิดว่า สำหรับผู้ไปสำนักของพระพุทธเจ้า ไม่จำต้องทำด้วยคนจำนวนมากๆ จึงไปเพียง ๘ คน. ครั้งนั้นพระศาสดา ทรงแสดงธรรมแก่อำมาตย์นั้น จบเทศนา ท่านได้บรรลุพระอรหัต พร้อมทั้งปฏิสัมภิทากับชนทั้ง ๗ คน พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า เอถ ภิกฺขโว (ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุเถิด) ในขณะนั้นนั่นเทียว ทุกๆ คนก็มีผมและหนวดหายไป ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ เป็นประดุจพระเถระ ๑๐๐ พรรษา ฉะนั้น. พระเถระ เมื่อกิจของตนถึงที่สุดแล้ว ไม่นั่งนิ่ง กล่าวสรรเสริญการเสด็จไปกรุงอุชเชนี ถวายพระศาสดาเหมือนพระกาฬุทายีเถระ พระศาสดาสดับคำของท่านแล้ว ทรงทราบว่า พระกัจจายนะย่อมหวังการไปของเรา ในชาติภูมิของตน แต่ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงอาศัยเหตุอันหนึ่ง จึงไม่เสด็จไปสู่ที่ที่ไม่สมควรเสด็จ. เพราะฉะนั้น จึงตรัสกะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 336

พระเถระว่า ภิกษุ ท่านนั่นแหละจงไป เมื่อท่านไปแล้ว พระราชาจักทรงเลื่อมใส พระเถระคิดว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ตรัสเป็นคำสองดังนี้ จึงถวายบังคมพระตถาคต ไปกรุงอุชเชนีพร้อมกับภิกษุทั้ง ๗ รูปที่มาพร้อมกับตน นั่นแหละ ในระหว่างทางภิกษุเหล่านั้น ได้เที่ยวบิณฑบาต ในนิคมชื่อว่า นาลินิคม.

ในนิคมแม้นั้น มีธิดาเศรษฐี ๒ คน คนหนึ่งเกิดในตระกูลเก่าแก่เข็ญใจ เมื่อมารดาบิดาล่วงไปแล้ว ก็อาศัยเป็นนางนมเลี้ยงชีพ. แต่อัตตภาพของเธอบึกบึน ผมยาวเกินคนอื่นๆ , ในนิคมนั้น นั่นแหละ ยังมีธิดาของตระกูลอิศรเศรษฐีอีกคนหนึ่ง เป็นคนไม่มีผม เมื่อก่อนนั้นมา แม้นางจะกล่าวว่า ขอให้นาง (ผมดก) ส่งไปให้ฉัน จักให้ทรัพย์ ๑๐๐ หนึ่ง หรือ ๑,๐๐๐ หนึ่งแก่เธอ ก็ให้เขานำผมมาไม่ได้ ก็ในวันนั้น ธิดาเศรษฐีนั้น เห็นพระมหากัจจายนเถระ มีภิกษุ ๗ รูปเป็นบริวาร เดินมามีบาตรเปล่า คิดว่าภิกษุผู้เป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์รูปหนึ่ง มีผิวดังทองรูปนี้ เดินไปบาตรเปล่า ทรัพย์อย่างอื่นของเราก็ไม่มี แต่ว่าธิดาเศรษฐีบ้านโน้น (เคย) ส่ง (คน) มาเพื่อต้องการผมนี้ ตอนนี้เราอาจถวายไทยธรรมแก่พระเถระได้ ด้วยทรัพย์ที่เกิดจากที่ได้ค่าผมนี้ ดังนี้ จึงส่งสาวใช้ไปนิมนต์พระเถระทั้งหลาย ให้นั่งภายในเรือน พอพระเถระนั่งแล้ว (นาง) ก็เข้าห้องตัดผมของตน กล่าวว่า แน่ะแม่ จงเอาผมเหล่านี้ ให้แก่ธิดาเศรษฐีบ้านโน้น แล้วเอาของที่นางให้มา เราจะถวายบิณฑบาตแก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย. สาวใช้เอาหลังมือเช็ดน้ำตา เอามือข้างหนึ่งกุมเนื้อตรงหัวใจปกปิดไว้ ในสำนักพระเถระทั้งหลาย ถือผมนั้น ไปยังสำนักของธิดาเศรษฐี. ธรรมดาขึ้นชื่อว่า ของที่จะขาย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 337

แม้มีสาระ (ราคา) เจ้าของนำไปให้เอง ก็ไม่ทำให้เกิดความเกรงใจ ฉะนั้น ธิดาเศรษฐีจึงคิดว่า เมื่อก่อน เราไม่อาจจะให้นำผมเหล่านี้มาได้ ด้วยทรัพย์เป็นอันมาก แต่บัดนี้ตั้งแต่เวลาตัดออกแล้ว ก็ไม่ได้ตามราคาเดิม จึงกล่าวกะสาวใช้ว่า เมื่อก่อนฉันไม่อาจให้นำผมไป แม้ด้วยทรัพย์เป็นอันมาก แต่ผมนี้นำไปที่ไหนๆ ก็ได้ ไม่ใช่ผมของคนเป็น มีราคาแค่ ๘ กหาปณะ จึงให้ไป ๘ กหาปณะเท่านั้น สาวใช้นำกหาปณะไปมอบให้แก่ธิดาเศรษฐี. ธิดาเศรษฐีก็จัดบิณฑบาตแต่ละที่ ให้มีค่าที่ละ กหาปณะหนึ่งๆ ให้ถวายแด่พระเถระทั้งหลายแล้ว. พระเถระรำพึงแล้ว เห็นอุปนิสัยของธิดาเศรษฐี จึงถามว่าธิดาเศรษฐีไปไหน สาวใช้ตอบว่า อยู่ในห้องเจ้าค่ะ พระเถระว่า จงไปเรียกนางมาซิ. พระเถระพูดครั้งเดียว นางมาด้วยความเคารพในพระเถระ ไหว้พระเถระแล้วเกิดศรัทธาอย่างแรง บิณฑบาตที่ตั้งไว้ในเขตอันบริสุทธิ์ ย่อมให้วิบากในปัจจุบันชาติทีเดียว เพราะฉะนั้น พร้อมกับการไหว้พระเถระ ผมทั้งหลายจึงกลับมาตั้งอยู่เป็นปกติ.

ฝ่ายพระเถระทั้งหลาย ถือเอาบิณฑบาตนั้น เหาะขึ้นไปทั้งที่ธิดาเศรษฐีเห็น ก็ลงพระราชอุทยาน ชื่ออุทธยานกัญจนะ คนเฝ้าพระราชอุทยานเห็นพระเถระนั้นแล้ว จึงไปเข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระคุณเจ้ากัจจายนะปุโรหิตของเราบวชแล้ว กลับมายังอุทยานแล้ว พระเจ้าข้า พระเจ้าจัณฑปัชโชติจึงเสด็จไปยังอุทยาน ไหว้พระเถระผู้กระทำภัตกิจแล้ว ด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ตรัสถามว่า ท่านเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนล่ะ พระเถระทูลว่า พระองค์

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 338

มิได้เสด็จมาเอง ทรงส่งอาตมะมา มหาบพิตร พระราชาตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ วันนี้พระคุณเจ้าได้ภิกษา ณ ที่ไหน พระเถระทูลบอกเรื่อง ที่กระทำได้โดยยากที่ธิดาเศรษฐีกระทำทุกอย่าง ให้พระราชาทรงทราบ ตามถ้อยคำควรแก่ที่ตรัสถาม พระราชาตรัสให้จัดแจงที่อยู่แก่พระเถระแล้ว นิมนต์พระเถระไปยังนิเวศน์ แล้วรับสั่งให้ไปนำธิดาเศรษฐีมา ตั้งไว้ในตำแหน่งอัครมเหสีแล้ว ก็การได้ยศในปัจจุบันชาติ ได้มีแล้วแก่หญิงนี้ จำเดิมแต่นั้น พระราชาทรงกระทำสักการะใหญ่แก่พระเถระ มหาชนเลื่อมใส ในธรรมกถาของพระเถระ บวชในสำนักของพระเถระ จำเดิมแต่กาลนั้น ทั่วพระนครก็รุ่งเรือง ด้วยผ้ากาสาวพัตร์เป็นอันเดียวกัน คลาคล่ำไปด้วยหมู่ฤาษี ฝ่ายพระเทวีนั้นทรงครรภ์ พอล่วงทศมาสก็ประสูติพระโอรส ในวันถวายพระนามโอรสนั้น พระญาติทั้งหลาย ถวายพระนามของเศรษฐี ผู้เป็นตาว่า โคปาลกุมาร. พระมารดาก็มีพระนามว่า โคปาลมารดาเทวี ตามชื่อของพระโอรส พระนางทรงเลื่อมใสในพระเถระอย่างยิ่ง ขอพระราชานุญาตสร้างวิหาร ถวายพระเถระในกัญจนราชอุทยาน. พระเถระยังชาวอุชเชนีให้เลื่อมใสแล้ว ไปเฝ้าพระศาสดาอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาภายหลังพระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ทรงกระทำพระสูตร ๓ สูตร เหล่านี้ คือ มธุบิณฑิกสูตร, กัจจายนเปยยาลสูตร, ปรายนสูตร ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วทรงสถาปนาพระเถระไว้ ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้จำแนกอรรถแห่งพระดำรัส ที่ทรงตรัสโดยย่อให้พิสดารแล้ว.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๑๐