พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๖ ประวัติพระกังขาเรวตเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ต.ค. 2564
หมายเลข  38350
อ่าน  388

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 365

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ประวัติพระกังขาเรวตเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 365

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ประวัติพระกังขาเรวตเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ฌายีนํ ได้แก่ ผู้ได้ฌาน คือผู้ยินดียิ่งในฌาน ได้ยินว่าพระเถระนั้นชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ได้ฌาน เว้นไว้น้อยกว่าที่พระทศพลทรงเข้าสมาบัติ เข้าสมาบัติเป็นส่วนมาก เพราะฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เข้าฌาน ท่านเรียกว่า กังขาเรวตะ เพราะเป็นผู้มักสงสัย ความรำคาญ อธิบายว่า กุกฺกุจฺจกา เป็นผู้มีความรำคาญ ชื่อว่า สงสัย. ถามว่า ก็ภิกษุรูปอื่น ที่มีความรำคาญ ไม่มีหรือ? ตอบว่า มี แต่พระเถระนี้ แม้ในสิ่งที่สมควรก็เกิดรำคาญ เพราะฉะนั้น ความที่พระเถระนั้น เป็นผู้มีความรำคาญเป็นปกติ ปรากฏชัดแจ้งแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงนับว่า กังขาเรวตะผู้มักสงสัย ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 366

ได้ยินว่า ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระเถระนี้ ไปวิหารกับมหาชน โดยนัยข้างต้น นั่นแล ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัทเห็นพระศาสดา ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ยินดีในฌาน จึงคิดว่า แม้เราก็ควรเป็นเหมือนอย่างนั้นในอนาคต จบเทศนา จึงนิมนต์พระศาสดา ถวายเครื่องสักการะใหญ่ ๗ วัน โดยนัยก่อน นั่นแล กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาสมบัติอื่นด้วยกรรม คือการทำกุศลอันยิ่งนี้ แต่ว่าข้าพระองค์พึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้ได้ฌาน ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต เหมือนอย่างภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ได้ฌาน ในวันที่สุด ๗ วันแต่วันนี้ไป ท่านได้กระทำความปรารถนาดังกล่าวมานี้ พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคต ทรงเห็นความสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคต ในที่สุดแห่งแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ จักทรงอุบัติ ท่านจักเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ได้ฌาน ในศาสนาของพระองค์ ดังนี้แล้วเสด็จกลับ

ท่านกระทำกรรมอันงามตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดา และมนุษย์แสนกัป ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา มาบังเกิดในตระกูลที่มีโภคสมบัติมาก ในกรุงสาวัตถี ไปวิหารกับมหาชนที่กำลังเดินไปฟังธรรม ในภายหลังอาหาร ยืนฟังธรรมกถาของพระทศพลท้ายบริษัท ได้ศรัทธา บรรพชาอุปสมบทแล้ว ให้พระผู้มีพระภาค ตรัสบอกกัมมัฏฐานแล้ว กระทำบริกรรมในฌานอยู่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 367

เป็นผู้ได้ฌาน การทำฌานนั้นแหละ ให้เป็นบาท บรรลุพระอรหัตตผล ท่านพักน้อยกว่าสมาบัติที่พระทศพลเข้า เข้าสมาบัติเป็นส่วนมาก จึงมีความชำนาญอันสั่งสมไว้ ในฌานทั้งหลาย ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ต่อมาภายหลังพระศาสดา ทรงถือเอาคุณอันนี้ สถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ได้ฌาน ก็ท่านชื่อว่า กังขาเรวตะ เพราะมีความกังขา กล่าวคือความรำคาญ ที่มีความรังเกียจบังเกิดขึ้น ในวัตถุทั้งหลายที่เป็นกัปปิยะ นั่นแล อย่างนี้ว่า อาวุโส น้ำอ้อยงบเป็นอกัปปิยะ มูตรเป็นอกัปปิยะ

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖