พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๓ ประวัติพระโกณฑธานเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ต.ค. 2564
หมายเลข  38358
อ่าน  506

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 406

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ประวัติพระโกณฑธานเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 406

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ประวัติพระโกณฑธานเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๓ (เรื่องพระโกณฑธานะ) ดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ปฐมสลากํ คณฺหนฺตานํ พระศาสดาทรงแสดงว่าพระโกณฑธานเถระ. เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จับสลากได้ก่อนภิกษุอื่นทั้งหมด

ได้ยินมาว่า พระเถระนั้น เมื่อพระตถาคตเสด็จไปอุคคนคร ในวันที่นางมหาสุภัททานิมนต์ เมื่อภิกษุบอกกล่าวว่า วันนี้พระศาสดาจักเสด็จภิกขาจารไกล ภิกษุปุถุชนอย่าจับสลาก พระขีณาสพ ๕๐๐ รูปจงจับ, ก็บันลือสีหนาทจับสลากได้ที่ ๑ ทีเดียว เมื่อพระตถาคตเสด็จไปเมืองสาเกต ในวันที่นางจุลลสุภัททานิมนต์ ก็จับสลากได้เป็นที่ ๑ เหมือนกัน ในระหว่างภิกษุ ๕๐๐ รูป, แม้ในคราวเสด็จไปยังชนบทสุนาปรันตปะก็เหมือนกัน ด้วยเหตุเหล่านี้ พระเถระจึงชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้จับสลากได้ที่ ๑ อนึ่งคำว่ากุณฑธาน เป็นชื่อของท่าน ในปัญหากรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่า ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า พระเถระนี้ บังเกิดในเรือนของครอบครัวกรุงหงสวดี ไปวิหารฟังธรรม โดยนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแหละ เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ ในตำแหน่ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 407

เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จักสลากได้ที่ ๑ จึงการทำกุศลกรรมแด่พระพุทธเจ้าปรารถนาตำแหน่งนั้น ผู้อันพระศาสดาทรงเห็นว่า หาอันตรายมิได้ จึงพยากรณ์แล้วบำเพ็ญกุศลตลอดชีพ เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าก็บังเกิดเป็นภุมมเทวดา.

ก็ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้า ผู้มีพระชนมายุยืน มิได้ทำอุโบสถทุกกึ่งเดือน. คือพระวิปัสสีทศพลในระหว่าง ๖ ปี จึงมีอุโบสถครั้งหนึ่ง ส่วนพระกัสสปทศพลทรงให้สวดพระปาฏิโมกข์ทุกๆ ๖ เดือน ในวันสวดปาฏิโมกข์นั้น ภิกษุ ๒ รูปผู้อยู่ในทิศมาด้วย ตั้งใจว่าจะกระทำอุโบสถ. ภุมมเทวดานี้คิดว่า ความมีไมตรีของภิกษุ ๒ รูปนี้มั่นคงเหลือเกิน เมื่อมีคนทำให้แตกแยกกัน ท่านจะแตกกันหรือไม่แตกกันหนอ จึงคอยหาโอกาสของภิกษุทั้งสองนั้นเดินไปใกล้ๆ ภิกษุทั้งสองนั้น. ครั้งนั้นพระเถระรูปหนึ่งฝากบาตรและจีวรไว้กับพระเถระอีกรูปหนึ่ง ไปยังที่ๆ มีความผาสุกด้วยน้ำเพื่อชำระล้างสรีระ ครั้งล้างมือล้างเท้าแล้ว ก็ออกมาจากร่มไม้ที่ถูกใจ. ภุมมเทวดาแปลงเป็นหญิง มีรูปร่างงามอยู่ข้างหลังพระเถระนั้น จึงทำให้เสมือนผมยุ่งแล้วจัดผมเสียใหม่ ทำเป็นปัดฝุ่นข้างหลัง แล้วจัดผ้านุ่งเสียใหม่ เดินสะกดรอยพระเถระออกจากพุ่มไม้มายืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง, พระเถระผู้เป็นสหายเห็นเหตุการณ์นี้ จึงเกิดความโทมนัสคิดว่า ความเยื่อใยที่ติดตามกันมาเป็นเวลานานกับภิกษุนี้ของเรามาฉิบหายเสียแล้ว ในบัดนี้ ถ้าหากเรารู้เช่นเห็นชาติอย่างนี้ เราจะไม่ทำความคุ้นเคยกับภิกษุนี้ ให้เนิ่นนานถึงเพียงนี้. พอพระเถระนั้นมาถึงเท่านั้น ก็พูดว่า เชิญเถอะอาวุโส นี่บาตรจีวรของท่าน เราไม่เดินทางเดียวกันกับสหายเช่นท่าน. ครั้นได้ฟังถ้อยคำนั้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 408

หทัยของภิกษุผู้มีความละอายนั้น เหมือนกับถูกหอกคมทิ่มแทงเอาแล้ว ฉะนั้น แต่นั้น ท่านจึงกล่าวกะพระเถระนั้นว่า อาวุโส ท่านพูดอะไรอย่างนี้ ผมไม่รู้อาบัติแม้เพียงทุกกฏมาตลอดกาลเพียงนี้ ก็ท่านพูดว่าข้าพเจ้าเป็นคนชั่วในวันนี้ ท่านเห็นอะไรหรือ? พระเถระนั้นกล่าวว่า จะประโยชน์อะไร ด้วยกรรมอื่นที่เราเห็นแล้ว ท่านออกมา อยู่ในที่เดียวกับผู้หญิงที่แต่งตัวอย่างนี้ๆ เพราะเหตุไร. พระเถระนั้นจึงตอบว่า อาวุโส กรรมนั้นของข้าพเจ้าไม่มี, ข้าพเจ้ามิได้เห็นผู้หญิงเห็นปานนี้ แม้ท่านจะกล่าวอยู่ถึง ๓ ครั้ง. พระเถระอีกรูปหนึ่งก็มิได้เชื่อถ้อยคำ ถือเอาเหตุที่ตนเห็นแล้วเท่านั้นเป็นสำคัญ ไม่เดินทางเดียวกับพระเถระนั้น ไปเฝ้าพระศาสดาโดยทางอื่น. แม้ภิกษุอีกรูปหนึ่งก็ไปเฝ้าพระศาสดาโดยทางอื่นเหมือนกัน.

แต่นั้นเวลาภิกษุสงฆ์ลงอุโบสถ ภิกษุนั้นจำภิกษุนั้นได้ ในโรงอุโบสถจึงกล่าวว่า ในโรงอุโบสถนี้ มีภิกษุลามกชื่อนี้ เราไม่กระทำอุโบสถร่วมกับภิกษุนั้น จึงออกไปยืนอยู่ข้างนอก. ภุมมเทวดาคิดว่าเราทำกรรมหนักแล้ว จึงแปลงเป็นอุบาสกแก่ไปหาภิกษุนั้นกล่าวว่า เหตุไรเจ้ากู จึงมายืนอยู่ในที่นี้. พระเถระกล่าวว่า อุบาสก ก็ภิกษุลามกเข้ามายังโรงอุโบสถนี้ อาตมาจะไม่ทำอุโบสถร่วมกับภิกษุลามกนั้น จึงออกมายืนอยู่ข้างนอก. อุบาสกแก่นั้นกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า อย่าถืออย่างนั้นเลย ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ผมคือผู้หญิงที่ท่านเห็นนั้น ผมแลเห็นความดีความละอาย และความไม่ละอาย กระทำกรรมแล้ว ด้วยคิดว่า ความไมตรีของพระเถระนี้ มั่นคงหรือไม่มั่นคง ก็เพื่อทดลองท่านทั้งหลายดู ภิกษุนั้นถามว่า สัปบุรุษ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 409

ก็ท่านเป็นใคร อุบาสกแก่ตอบว่า ผมเป็นภุมมเทวดาเจ้าค่ะ. เทวบุตรทั้งที่ยืนกล่าวอยู่ ด้วยอานุภาพอันเป็นทิพย์ หมอบลงแทบเท้าของพระเถระกล่าวว่า ขอจงอดโทษนั้นแก่ข้าพเจ้า พระเถระไม่รู้เรื่องโปรดทำอุโบสถเถิด วิงวอนให้พระเถระเข้าไปสู่โรงอุโบสถแล้ว พระเถระนั้นกระทำอุโบสถในที่เดียวกันก่อน แล้วก็อยู่ในที่เดียวกันกับพระเถระนั้น ด้วยอำนาจแห่งการผูกไมตรีอีกด้วยแล. กรรมของพระเถระนี้ท่านมิได้กล่าวไว้ ส่วนภิกษุผู้ถูกโจทย์บำเพ็ญวิปัสสนาต่อๆ มาได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.

ภุมมเทวดาก็ไม่พ้นภัยในอบาย ตลอดพุทธันดรหนึ่ง เพราะผลของกรรมนั้น แต่ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ตามสมควรแต่กาล โทษที่คนอื่นจะเป็นผู้ใดก็ตามกระทำ ก็ตกอยู่แก่เขาเท่านั้น ท่านบังเกิดในครอบครัวพราหมณ์ ในกรุงสาวัตถี ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา พวกของท่านตั้งชื่อท่านว่า ธานมาณพ, ธานมาณพนั้น เจริญวัยแล้วเรียนไตรเพท ในเวลาแก่ฟังธรรมของพระศาสดา ได้ศรัทธาแล้วบวช ตั้งแต่วันที่ท่านบวชแล้ว หญิงผู้แต่งตัวคนหนึ่ง เมื่อท่านเข้าบ้าน ก็เข้าไปกับท่านด้วย เมื่อออกก็ออกด้วย แม้เมื่อเข้าวิหารก็เข้าด้วย แม้เมื่อยืนก็ยืนอยู่ด้วย ดังนั้น ย่อมปรากฏว่า ติดพันอยู่เป็นนิตย์อย่างนี้ พระเถระก็ไม่เห็น แต่ด้วยผลของกรรมเก่าของพระเถระนั้น หญิงนั้นจึงปรากฏแก่คนอื่นๆ หญิงทั้งหลายที่ถวายข้าวยาคู และภิกษาในบ้านก็ทำการเย้ยหยันว่า ท่านเจ้าขา ข้าวยาคูกระบวยหนึ่งนี้ สำหรับท่าน อีกกระบวยหนึ่งนี้ สำหรับเพื่อนหญิงของท่าน พระเถระจึงมีความเดือดร้อนรำคาญอย่างใหญ่ สามเณร

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 410

และภิกษุหนุ่ม ต่างแวดล้อมท่าน แม้ไปวิหารก็ทำการหัวเราะเยาะว่า พระธานะเป็นคนชั่ว. (ธาโน โกณฺโฑ ชาโต)

ภายหลังท่านมีชื่อว่า โกณฑธานเถระ เพราะเหตุนั้น นั่นแล พระเถระพยายามแล้วพยายามเล่า เมื่อไม่อาจอดกลั้นความเย้ยหยันที่พวกสามเณร และภิกษุหนุ่มเหล่านั้นกระทำได้ ก็เกิดความบุ่มบ่ามขึ้นกล่าวว่า อุปัชฌาย์ของท่านซิชั่ว อาจารย์ของท่านซิชั่ว ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดาว่า พระกุณฑธานะกล่าวหยาบอย่างนี้ๆ กับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย พระศาสดาให้เรียกภิกษุนั้นมา ตรัสถามว่า "จริงหรือ ภิกษุ" เมื่อทูลว่าจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหตุไรท่านจึงกล่าวอย่างนั้น พระเถระทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ก็ไม่อาจอดกลั้นการเสียดสีอยู่เป็นประจำ จึงกล่าวอย่างนั้น พระศาสดาตรัสว่า ตัวท่านไม่อาจใช้กรรมที่ทำไว้ในปางก่อนให้หมดไป จนถึงทุกวันนี้ ต่อไปนี้ท่านอย่ากล่าวคำหยาบ เห็นปานนั้นน่ะภิกษุ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า

มโวจ ผรุสํ กญฺจิ วุตฺตา ปฏิวเทยฺยุ ตํ

ทุกฺขา หิ สารมฺกถา ปฏิทณฺฑา ผุเสยฺยุ ตํ

สเจ น เทสิ อตฺตานํ กํโส อุปหโต ยถา

เอส ปตฺโตสิ นิพฺพานํ สารมฺโภเต น วิชฺชตีติ

ท่านอย่ากล่าวคำหยาบกะใครๆ ผู้ที่ท่านกล่าวแล้ว ก็จะโต้ตอบท่านด้วยว่า ถ้อยคำที่แข่งดีกัน นำทุกข์มาให้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 411

ผู้ทำตอบ ก็พึงประสบทุกข์นั้น ท่านไม่ยังตนให้หวั่นไหว ดุจกังสดาลถูกเลาะขอบออกแล้ว ท่านนั้นก็จะเป็นผู้ถึงพระนิพพาน ความแข่งดีก็จะไม่มีแก่ท่าน ดังนี้.

ก็และบุคคลทั้งหลาย กราบทูลความที่พระเถระนั้น เที่ยวไปกับมาตุคามนี้ แด่พระเจ้าโกศล พระราชาส่งอำมาตย์ไปว่า พนายจงไปสืบสวนดู แม้พระองค์เองก็เสด็จไปยังที่อยู่ ของพระเถระนั้น พร้อมด้วยราชบริพารเป็นอันมาก ประทับยืนดูอยู่ ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง ขณะนั้นพระเถระกำลังนั่งเย็บผ้าอยู่ หญิงแม้นั้น ก็ปรากฏเหมือนยืนอยู่ในที่ไม่ไกลพระเถระนั้น พระราชาเห็นแล้วทรงดำริว่า มีเหตุนี้หรือจึงเสด็จไปยังที่ๆ หญิงนั้นยืนอยู่แล้ว เมื่อพระราชามาถึง หญิงนั้น ก็เป็นเหมือนเข้าไปยังบรรณศาลา อันเป็นที่อยู่ของพระเถระ แม้พระราชาก็เสด็จเข้าไปบรรณศาลาพร้อมกับหญิงนั้นทีเดียว ตรวจดูทุกแห่งก็ไม่เห็น จึงทำความเข้าพระทัยว่า นี้มิใช่มาตุคาม เป็นวิบากกรรมอย่างหนึ่งของพระเถระ ที่แรกแม้มาถึงใกล้พระเถระ ก็ไม่ทรงไหว้พระเถระ ครั้นทรงทราบว่า เหตุนั้นไม่เป็นจริง จึงเสด็จมาไหว้พระเถระ ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ตรัสถามว่า พระคุณเจ้า ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตบ้างหรือ พระเถระทูลว่า เป็นไปได้ ขอถวายพระพร พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ โยมรู้เรื่องราวของพระคุณเจ้า เมื่อพระคุณเจ้าเที่ยวไป กับสิ่งที่ทำให้เศร้าหมอง เห็นปานนี้ ชื่อว่า ใครเล่าจักเลื่อมใส

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 412

ตั้งแต่นี้ไป พระคุณเจ้าไม่จำต้องไปในที่ไหนๆ โยมจักบำรุงด้วยปัจจัย ๔ พระคุณเจ้า อย่าประมาทด้วยโยนิโสมนสิการะเถิด แล้วส่งภิกษาไปถวายเป็นประจำ พระเถระได้พระราชูปถัมภ์ เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เดียว เพราะมีโภชนะสบาย เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ตั้งแต่นั้นไป หญิงนั้นก็หายไป.

นางมหาสุภัททา อยู่ในครอบครัวมิจฉาทิฏฐิ ในอุคคนครคิดว่า พระศาสดาจงทรงอนุเคราะห์เราจึงอธิษฐานอุโบสถ เป็นผู้ไม่มีกลิ่นคาว อยู่ปราสาทชั้นบน กระทำสัจจกิริยาว่า ดอกไม้เหล่านี้ จงอย่าอยู่ในระหว่างทางเสีย จงกางกั้นเป็นเพดานในเบื้องบนแห่งพระทศพลเถิด ขอพระทศพล จงรับภิกษาของเรา พร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป ด้วยสัญญานี้เถิด แล้วโยนดอกไม้ ๘ กำไป ดอกไม้ก็ไปกางกั้นเป็นเพดาน อยู่เบื้องบนของพระศาสดา ในเวลาแสดงธรรม พระศาสดาทอดพระเนตรเห็น เพดานดอกมะลินั้น ทรงรับภิกษาของนางสุภัททา ด้วยจิตนั้นแหละ วันรุ่งขึ้นเมื่ออรุณขึ้น จึงตรัสสั่งพระอานนท์ว่า อานนท์ วันนี้เราจะไปภิกษาจาร ณ ที่ไกล จงอย่าให้สลากแก่พระปุถุชน จงให้แก่พระอริยะเท่านั้น พระเถระบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุ วันนี้พระศาสดา จักเสด็จภิกษาจาร ณ ที่ไกล พระภิกษุปุถุชนจงอย่าจับสลาก พระอริยะเท่านั้น จงจับ พระโกณฑธานเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ จงนำสลากมา แล้วเหยียดมือออกไปก่อน เมื่อพระอานนทเถระกล่าวว่า ท่านพระศาสดาไม่ให้ประทานสลากแก่ภิกษุเช่นท่าน สั่งให้ประทานเฉพาะภิกษุผู้เป็นอริยะเท่านั้น เกิดความวิตกขึ้น จึงไปกราบทูลพระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า เธอจงไปให้สลากแก่ภิกษุผู้บอกให้นำสลากมาเถิด

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 413

พระเถระจึงคิดว่า ถ้าไม่ควรให้สลากแก่พระกุณฑธานะ พระศาสดาจะพึงห้ามเธอ จักมีเหตุอย่างหนึ่งเป็นแท้ จึงรีบนำมาด้วยคิดว่า จักให้สลากแก่พระกุณฑธานะ พระกุณฑธานะเถระก่อนที่พระอานนทเถระมา เข้าจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ยืนอยู่ในอากาศด้วยฤทธิ์กล่าวว่า ท่านอานนท์ จงนำสลากมา พระศาสดาทรงรู้จักเรา พระศาสดาไม่ตรัสห้ามภิกษุเช่นเรา ผู้จับสลากได้ก่อนแล้วเหยียดมือไปจับสลากแล้ว.

พระศาสดาทรงทำเรื่องนั้น ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จับสลากได้ที่ ๑ ในศาสนาแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓