พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๖ ประวัติพระทัพพมัลลบุตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ต.ค. 2564
หมายเลข  38361
อ่าน  461

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 423

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ประวัติพระทัพพมัลลบุตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 423

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ประวัติพระทัพพมัลลบุตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๖ (พระทัพพมัลลบุตร) ดังต่อไปนี้.

บทว่า เสนาสนปญฺาปกานํ ความว่า ภิกษุผู้เจ้าหน้าที่จัดเสนาสนะ. ได้ยินว่าในเวลาพระเถระจัดเสนาสนะในบรรดามหาวิหารทั้ง ๑๘ แห่ง มิได้มีบริเวณที่ยังมิได้กวาดให้เรียบร้อย เสนาสนะที่มิได้ปฏิบัติบำรุง เตียงตั่งที่ยังมิได้ชำระให้สะอาด น้ำดื่ม น้ำใช้ที่ยังมิได้ตั้งไว้ เพราะฉะนั้นท่านจึงชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่จัดเสนาสนะ คำว่า ทัพพะ เป็นชื่อของท่าน แต่เพราะท่านเกิดในตระกูลของเจ้ามัลละจึงชื่อว่า มัลลบุตร ในปัญหากรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าวไปตามลำดับดังต่อไปนี้.

จะกล่าวโดยย่อ ครั้งพระปทุมุตตระพุทธเจ้า พระเถระนี้เกิดในครอบครัวในกรุงหงสวดี เจริญวัยแล้ว ไปวิหารฟังธรรม โดยนัยที่กล่าวแล้ว นั่นแหละ เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้มีหน้าที่จัดเสนาสนะ กระทำกุศลกรรมปรารถนาตำแหน่งนั้น พระศาสดาทรงพยากรณ์แล้ว กระทำกุศลจนตลอดชีพ เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ เมื่อครั้งศาสนาของพระกัสสปทศพล เสื่อมแล้ว จึงบวชแล้ว ครั้งนั้น คนอื่นอีก ๖ คนกับภิกษุนั้น รวมเป็นภิกษุ ๗ รูป มีจิตเป็นอันเดียวกัน เห็นบุคคลเหล่าอื่นๆ นั้น ไม่กระทำความเคารพในพระศาสดา จึงปรึกษากันว่า ในครั้งนี้เราจะทำอย่างไร กระทำบำเพ็ญสมณ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 424

ธรรมในที่สมควรส่วนหนึ่ง จักกระทำที่สุดทุกข์ได้ จึงผูกบันไดขึ้นยอดภูเขาสูง กล่าวว่า ผู้ที่รู้กำลังจิตของตน จงผลักบันไดให้ตกไป ผู้ที่ยังมีความเดือดร้อนในภายหลังอยู่เถิด จึงพร้อมใจกันผลักบันไดให้ตกไป กล่าวสอนซึ่งกันและกันว่า อาวุโสท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด นั่งในที่ที่ชอบใจ เริ่มบำเพ็ญสมณธรรม บรรดาภิกษุทั้ง ๗ นั้น พระเถระรูปหนึ่ง บรรลุพระอรหัตในวันที่ ๕ คิดว่ากิจของเราเสร็จแล้ว เราจักทำอะไรในที่นี้ จึงไปนำบิณฑบาตมาแต่อุตตรกุรุทวีปด้วยอิทธิฤทธิ์ กล่าวว่า อาวุโสท่านทั้งหลายจงฉันบิณฑบาตนี้ หน้าที่ภิกษาจารเป็นของข้าพเจ้า ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญสมณธรรมเถิด อาวุโส พวกเราผลักบันไดให้ตกไปได้ พูดกันอย่างนี้มิใช่หรือว่า ผู้ใดกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมก่อน ผู้นั้นจงไปนำภิกษามา ภิกษุนอกนี้ฉันภิกษาที่ท่านนำมาแล้ว จักกระทำสมณธรรม ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า อาวุโส ไม่ต้อง พระเถระกล่าวว่า ท่านทั้งหลายได้แล้ว ด้วยเหตุอันมีในก่อนแห่งตน แม้กระผมทั้งหลาย สามารถอยู่ ก็จักกระทำที่สุดแห่งวัฏฏะได้ นิมนต์ไปเถิดท่าน พระเถระเมื่อไม่อาจยังภิกษุเหล่านั้น ให้เข้าใจกันได้ ฉันบิณฑบาตในที่ที่เป็นผาสุกแล้วก็ไป ในวันที่ ๗ พระเถระอีกองค์หนึ่งบรรลุอนาคามิผล จุติจากอัตตภาพนั้นไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส.

ฝ่ายพระเถระนอกนี้ จุติจากอัตตภาพนั้น ก็เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์สิ้นพุทธันดรหนึ่ง บังเกิดในตระกูลนั้นๆ องค์หนึ่งบังเกิดในพระราชนิเวศน์ในกรุงตักกศิลาแคว้นคันธาระ องค์หนึ่งเกิดในท้องนางปริพาชิกาในปัพพไตยรัฐ องค์หนึ่งเกิดในเรือนกุฏุมพีในพาหิยรัฐ องค์หนึ่งเกิดในเรือนแห่งกุฎุมพีกรุงราชคฤห์ ส่วน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 425

พระทัพพมัลละนี้ถือปฏิสนธิในนิเวศน์ของเจ้ามัลละพระองค์หนึ่ง ในอนุปิยนคร มัลลรัฐ ในเวลาใกล้คลอด มารดาของท่านก็ทำกาละ ญาติทั้งหลายนำสรีระของคนตายไปยังป่าช้า แล้วยกขึ้นสู่เชิงตะกอนไม้ แล้วจุดไฟ. พอไฟสงบลงพื้นท้องของนางนั้นก็แยกออกเป็น ๒ ส่วน มีทารกกระเด็นขึ้นไป ตกที่เสาไม้ต้นหนึ่ง ด้วยกำลังบุญของตน คนทั้งหลายอุ้มทารกนั้น ไปให้แก่ย่าแล้ว ย่านั้นเมื่อจะตั้งชื่อทารกนั้นจึงตั้งชื่อของท่านว่า ทัพพะ เพราะท่านกระเด็นไปที่เสาไม้จึงรอดชีวิต.

เมื่อท่านมีอายุ ๗ ขวบ พระศาสดามีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จจาริกไปในมัลลรัฐ ลุถึงอนุปิยนิคมประทับอยู่ ณ อนุปิยอัมพวัน ทัพพกุมารเห็นพระศาสดา ก็เลื่อมใสในพุทธศาสนาทีเดียว ก็อยากจะบวชจึงลาย่าว่า "หลานจักบวชในสำนักพระทศพล" ย่ากล่าวว่าดีละพ่อ พาทัพพกุมารไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า ท่านเจ้าข้า ขอจงให้กุมารนี้บวชเถิด พระศาสดาทรงประทานสัญญา แก่ภิกษุรูปหนึ่งว่า ภิกษุ เธอจงให้ทารกนี้บวชเถิด พระเถระนั้น รับพระพุทธดำรัสแล้ว ก็ให้ทัพพกุมารบรรพชา บอกตจปัญจกกัมมัฎฐาน สัตว์ผู้สมบูรณ์ด้วยบุรพเหตุ ได้บำเพ็ญบารมีไว้แล้วในขณะที่ปลงผมปอยแรก ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล เมื่อปลงผมปอยที่ ๒ ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล ปอยที่ ๓ ตั้งอยู่ในอนาคามิผล ก็การปลงผมเสร็จ และการทำให้แจ้งอรหัตตผล ก็เกิดไม่ก่อนไม่หลังคือพร้อมกัน.

พระศาสดาประทับอยู่ในมัลลรัฐ ตามพระพุทธอัธยาศัยแล้ว เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ สำราญพระอิริยาบถอยู่ในพระเวฬุวัน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 426

วิหาร ในที่นั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรอยู่ในที่ลับ ตรวจดูความสำเร็จกิจของตน ประสงค์จะประกอบกาย ในการกระทำความขวนขวายแก่พระสงฆ์ คิดว่าถ้ากะไร เราจะพึงจัดแจงเสนาสนะ และจัดอาหารถวายสงฆ์ ท่านจึงเข้าเฝ้าพระศาสดากราบทูลถึงความปริวิตกของตน พระศาสดาทรงประทานสาธุการแก่ท่านแล้ว ทรงมอบหน้าที่จัดเสนาสนะและหน้าที่จัดอาหาร ครั้งนั้นพระศาสดาทรงดำริว่า พระทัพพนี้ ยังเด็กอยู่ แต่ดำรงอยู่ในตำแหน่งใหญ่ จึงทรงให้ท่านอุปสมบทแล้ว ในเวลาที่ท่านมีพรรษา ๗ เท่านั้น ตั้งแต่เวลาที่ท่านอุปสมบทแล้ว พระเถระจัดเสนาสนะและจัดอาหารถวายภิกษุทุกรูป ที่อาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ ความที่ท่านมีหน้าที่จัดเสนาสนะได้ปรากฏ ไปในทิศทั้งปวงว่า ได้ยินว่าพระทัพพมัลลบุตร ย่อมเข้าใจจัดเสนาสนะ ในที่เดียวกันสำหรับภิกษุ ผู้ถูกอัธยาศัยกัน ย่อมจัดแจงเสนาสนะ แม้ในที่ไกล พวกภิกษุที่ไม่อาจจะไปได้ ท่านนำไปด้วยฤทธิ์.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย สั่งให้ท่านจัดแจงเสนาสนะอย่างนี้ว่า อาวุโส จงจัดเสนาสนะแก่พวกเรา ในชีวกัมพวัน จงจัดเสนาสนะให้แก่พวกเรา ในมัททกุจฉิมิคทายวัน แล้วเห็นฤทธิ์ของท่าน ก็ไปในกาลบ้าง ในวิกาลบ้าง แม้พระทัพพนั้นก็บันดาลกายมโนมัย ด้วยฤทธิ์เนรมิต เป็นภิกษุให้เหมือนกับตน สำหรับพระเถระองค์ละรูปๆ ถือไฟไปข้างหน้าบอกว่า นี่เตียง นี่ตั่ง เป็นต้น จัดเสนาสนะแล้ว จึงกลับมายังที่อยู่ของตนอีก นี้เป็นความสังเขปในเรื่องนี้. แต่โดยพิสดาร เรื่องนี้ มาในพระบาลีแล้วเหมือนกัน พระศาสดาทรง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 427

กระทำเหตุนี้ นั่นแหละ ให้เป็นอัตถุปบัติเหตุเกิดเรื่อง เหมือนกับนั่งท่ามกลางหมู่พระอริยะ. ทรงสถาปนาพระเถระไว้ ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้เป็นเจ้าหน้าที่จัดเสนาสนะแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖